โน้ตสั้น ๆ ถึง “อวสานซาวด์แมน”

หมายเหตุ เดี๋ยวจะเขียนถึงหนังสั้นทุกเรื่องในโปรแกรม Sorayos Is NOT a model filmmaker แบบละเอียด ๆ ลงในมติชนสุดสัปดาห์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งโน้ตชิ้นนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของบทความชิ้นนั้น

สรยศแนวขวาง

เท่าที่ตามข่าวมาตั้งแต่ช่วงที่ “อวสานซาวด์แมน” เริ่มออกเดินทางไปต่างประเทศ เรื่อยจนถึงไม่กี่วินาทีก่อนหน้าที่หนังสั้นของสรยศ ประภาพันธ์ ในโปรแกรม Sorayos Is NOT a model filmmaker จะถูกฉายขึ้นจอ ณ สมาคมฝรั่งเศส ผมยังเชื่อว่าหนังสั้นเรื่องล่าสุดของสรยศน่าจะเป็นอะไรที่ตลกขบขันเฮฮาเอามาก ๆ (ไม่รู้อะไรทำให้เชื่อเช่นนั้น 555)

ปรากฏว่าพอดูหนังทั้งโปรแกรม โดยมี “อวสานซาวด์แมน” เป็นไฮไลท์ปิดท้าย ผมกลับพบว่า

(1)

ถ้าให้เปรียบเทียบกัน ผมรู้สึกว่า “อวสานซาวด์แมน” มีอารมณ์ขันแนวหัวเราะเฮฮาน้อยกว่าหนังสั้นเรื่องอื่น ๆ ในโปรแกรม

(2)

แต่หมายความว่า “อวสานซาวด์แมน” มีคุณภาพอ่อนด้อยหรือแย่กว่าหนังสั้นเรื่องอื่น ๆ ในโปรแกรมมั้ย? คำตอบ คือ ตรงกันข้าม หนังเรื่องล่าสุดของสรยศน่าจะแสดงให้เห็นถึงลำดับขั้นฝีมือ ศักยภาพ ความช่ำชอง ในการเล่าเรื่องผ่านสื่อภาพยนตร์ ที่พุ่งไปถึงจุดสูงสุด ณ ห้วงเวลาปัจจุบัน ของตัวเขาเอง (และเผลอ ๆ พัฒนาการขั้นถัดไป น่าจะปรากฏผ่านหนังยาวเรื่องแรกของเจ้าตัว)

Death-of-the-Sound-Man_1-580x314

(3)

แต่ด้วยความเป็นเลิศข้างต้นนี่แหละ ที่ทำให้ “อวสานซาวด์แมน” มีทั้งส่วนที่เป็น “อารมณ์ขัน” และส่วนที่ “จริงจัง” เอามาก ๆ ซึ่งคนดูหลายรายอาจรู้สึก/ตีความว่าองค์ประกอบส่วนแรกมีน้ำหนักมากกว่า แต่สำหรับผม ผมกลับรู้สึกว่าองค์ประกอบส่วนหลังดันมีพลังมากกว่า

(4)

อย่างไรก็ตาม กระทั่งส่วนที่น่าจะเป็นอารมณ์ขันในหนัง คือ เนื้อหาว่าด้วยการทำงานเบื้องหลังของตัวละครคนบันทึกเสียงสองราย ผู้ถูกมองข้ามหลงลืม ผมก็ยังเห็นว่ามันมีความก้ำกึ่งระหว่างการพยายามเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชม กับการเพ่งพินิจพิจารณาถึงงานบันทึกเสียงอย่างเข้มข้นจริงจังของผู้กำกับฯ (นักบันทึกเสียง) และการนำเอาความรู้ชุดดังกล่าวมาส่องสะท้อน/เรียบเรียงให้เห็นถึงชะตากรรมของประเทศ/ชาติ โดยฉากที่สรุปความในประเด็นนี้ได้ดีมาก ๆ ก็คือ ซีนโบกธงชาติตอนท้ายเรื่อง

Death-of-a-Sound-Man-2-1540x866

(5)

สำหรับคนที่ได้ดูหนังแล้ว หรือกำลังจะได้ดูในอนาคต ฉากสำคัญสุด ๆ ใน “อวสานซาวด์แมน” น่าจะมีอยู่ประมาณสามซีน (แถมไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับเส้นเรื่องหลักอีกต่างหาก) น่าสนใจว่าฉากสำคัญเหล่านั้นแทบไม่ได้นำเสนอภาวะตลกออกมาเลย (กระทั่ง “อารมณ์ตลกร้าย” ก็ไม่ปรากฏ) ขณะเดียวกัน เสียงประกอบในซีนเหล่านั้นก็ไม่ได้มีลักษณะแพรวพราวโดดเด่น ทว่า เป็นเสียงที่ดังสอดแทรกออกมาเพียงวูบเดียวสั้น ๆ หรือเป็นเสียงที่แทบไม่มีนัยยะใด ๆ เชื่อมโยงถึง “ภาพกว้างใหญ่” ที่ปรากฏบนจอ

ราวกับสรยศกำลังอยากจะสื่อถึงสภาวะ “พูดไม่ออกบอกไม่ถูก” บางประการ ผ่านหนังสั้นว่าด้วยคนบันทึกเสียงเรื่องนี้

(6)

โดยสรุป ผมเห็นว่า “อวสานซาวด์แมน” อาจไม่ใช่ “หนังตลก” แต่มันเป็นหนังสั้นที่จริงจังและดีมาก ๆ เรื่องหนึ่ง ซึ่งสมควรดูอย่างยิ่ง (หากมีโอกาส)

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.