ดูใหม่ “October Sonata”

เพิ่งได้ดู “October Sonata รักที่รอคอย” รอบล่าสุด ผ่านทางเน็ตฟลิกซ์ นี่น่าจะเป็นการดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกในทศวรรษ 2560 ของผม หลังจากที่ผมวนเวียนดูมันอยู่รอบแล้วรอบเล่าเมื่อหนังเข้าฉายตอนปี 2552 และอีกหลายปีถัดมา พอมานั่งชมผลงานชิ้นเอกของ “สมเกียรติ วิทุรานิช” อีกครั้งในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระลอกใหม่ของการเมืองไทยพอดี ผมก็เกิดข้อสังเกต-คำถามใหม่ๆ ขึ้นมาราว 2-3 ประเด็น หนึ่ง คงเป็นเพราะได้มาดูหนังในวัยที่เพิ่มมากขึ้น (และอาจผนวกด้วยเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่แน่ชัดนัก) ผมเพิ่งรู้สึกชัดเจนว่า “October Sonata” นั้นมีความเป็น…

“A Dog’s Tale” เมื่อผู้กำกับ “October Sonata” ไปทำหนัง “สุนัข” ที่ประเทศจีน

ในที่สุด “สมเกียรติ วิทุรานิช” ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ที่ผลิตผลงานน้อยชิ้น แต่ล้วนน่าจดจำและมีความโดดเด่นทุกชิ้น ก็มีผลงานหนังยาวเรื่องใหม่ ถัดจาก “October Sonata รักที่รอคอย” เมื่อปี 2552 คราวนี้ สมเกียรติกลับมาทำหนังที่มีสุนัขเป็นตัวแสดงนำอีกหน หลังจากเขาเคยกำกับ “มะหมา 4 ขาครับ” ร่วมกับ “พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์” แต่ด้วยเงื่อนไข-บริบทที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง https://www.youtube.com/watch?v=jmjyG8URezY&feature=share เพราะภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องใหม่ของสมเกียรติเป็น “หนังจีน” ชื่อ “A Dog’s Tale”…

4 หนังที่นึกถึง ก่อนเลือกตั้ง 24 มีนา

หลายวันก่อน เห็น The Matter ทำสกู๊ป “ก่อนเลือกตั้งดูอะไร หนังเรื่องไหนที่คนในแวดวงหนังไทยชวนดู” เลยลองมานั่งทำลิสต์เล่นๆ ดูบ้างว่า ถ้าให้คิดอย่างไวๆ มีหนังเรื่องไหนที่ตัวเองนึกถึงก่อนหน้าการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ October Sonata รักที่รอคอย เหตุผลที่นึกถึงหนังไทยอันยอดเยี่ยมเรื่องนี้ ก็เพราะผลงานของ “สมเกียรติ์ วิทุรานิช” ได้เน้นย้ำให้เราตระหนักว่าการต่อสู้ทางอุดมการณ์การเมืองนั้นเป็นการต่อสู้ในทางยาว ไม่จบสิ้นลงง่ายๆ และเราอาจไม่ได้มองเห็นหรือลิ้มรสความสำเร็จของมันในชั่วชีวิตของตนเอง แม้จะน่าท้อถอยเหนื่อยหน่าย แต่ในทางกลับกัน การท่องไปบนเส้นทางการต่อสู้อันยาวไกลดังกล่าวก็ต้องอาศัยความอดทน (ที่จะรอคอย)…

ความเห็น/ความรู้สึก 11 ข้อ กับหนัง “ปั๊มน้ำมัน”

https://www.youtube.com/watch?v=LsgrlonZjw0 1. สำหรับผม นี่จัดเป็นหนังยาว "ระดับครีม" ของคุณธัญญ์วารินเลยนะ โดยอยู่ในระดับใกล้เคียงกันกับ "It Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก" 2. ผมชอบจักรวาลที่ "แปลกแยก" ออกจากโลกปกติธรรมดา (ทั้งในแง่สถานที่, พื้นที่, การแต่งกายหลุดโลกของตัวแสดง) ทว่าขณะเดียวกัน กลับเต็มไปด้วยความซ้ำซาก จำเจ ย้ำคิดย้ำทำของตัวละครหลักภายในหนัง ผมรู้สึกว่า ช่วงหลังๆ ตัวเองได้ดูหนังไทยดีๆ หลายเรื่อง ที่พยายามสร้าง/นำเสนอภาพแทนของ "ยูโทเปีย" "พื้นที่ทางเลือก" "พื้นที่ยกเว้น"…

ความรู้สึกต่อ From Bangkok to Mandalay

ความรู้สึกต่อ From Bangkok to Mandalay (ชาติชาย เกษนัส) เบื้องต้น : ชอบ ผมโอเคกับสิ่งที่หนังเสนอ และสิ่งที่หนัง (ต้องการและพยายามจะ) เป็น โดยไม่ได้รู้สึกตะขิดตะขวงใจอะไรมากนัก ระหว่างดู ก็ทั้งรู้สึกสนุกและซาบซึ้งไปตามเนื้อเรื่อง นอกจากนี้ ผมยังรู้สึกชอบทั้งพาร์ทอดีตและพาร์ทปัจจุบันพอๆ กัน ไม่ได้รู้สึกว่าพาร์ทอดีตดีหรือแข็งแรงกว่าพาร์ทปัจจุบัน (แต่โอเค ชอบน้องนางเอกพม่าของพาร์ทแรกมากกว่าน้องนางเอกไทยของพาร์ทหลัง 555) From Bangkok to Mandalay กับหนังไทยเรื่องอื่นๆ ถ้าให้เปรียบเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ…

รวมรายชื่อหนังที่พูดถึงเหตุการณ์ “6 ตุลา” (แบบคร่าวๆ) และลำดับเวลาออกฉาย

(อัพเดตเนื้อหา ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2561) 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยภาระหน้าที่การงานบางอย่าง ทำให้มีโอกาสได้นั่งทบทวนรายชื่อหนังไทย ที่พูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ผมจึงเพิ่งตระหนักว่าหนังกลุ่มนี้มีจำนวนไม่น้อยเลย อีกทั้งยังได้พบข้อมูลที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน นั่นคือ ปี 2552 ถือเป็นปีที่มีการสร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากที่สุด ลองมาอ่านรายละเอียดกันครับ รายชื่อหนังยาว-สั้นของไทยที่มีเนื้อหาหรือฉากหลังเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยเรียงลำดับตามปีที่ออกฉาย 2529…

October Sonata รักที่รอคอย: การเมืองของลูกกำพร้าและปัจเจกบุคคล

(ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารไบโอสโคป เมื่อช่วงปี 2552) การเมืองของลูกกำพร้า “เมื่อสายใยในชาติขาดสะบั้น / สิ้นสายครรภ์มาตุคามไร้ความหมาย / ก่อนกำหนดกฎกำเนิดเกิดเพื่อตาย / เพียงลิ่มเลือดเละร้ายคล้ายเศษคน / ร่างทารกอัปลักษณ์ทะลักหลุด / ซากมนุษย์ที่ชีวิตถูกปลิดปล้น / ประจานเหตุประเทศนี้เกิดวิกล /เกลื่อนถนนก่นสังหาร...ลูกหลานใคร?” ... “หากทารกหกตุลายังเหลือรอด / เด็กที่คลอดกลางลานประหารหมู่ / กระสุนกราดสาดสั่งเสียงพรั่งพรู / สอนให้รู้หลังตระหนกหกตุลา / เป็นวันเกิดที่มากับการดับสิ้น / ต้องขาดวิ่นสูญวัยไร้เดียงสา…