ธงชัย วินิจจะกูล, ดาวคะนอง และ 6 ตุลา ที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคน

(หมายเหตุ แปลจากเนื้อหา 5 ย่อหน้าสุดท้าย ของหนังสือ Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok โดย ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล) สิ่งที่หลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือวิถีชีวิตปกติทั่วไปของคนไทย ซึ่งข้อเท็จจริง, เรื่องแต่ง, ความเพ้อฝัน, ความจริง, การสวมบทบาท และชีวิตจริง ได้หลอมรวมกันอยู่ในนั้น…

ข้อสังเกตเพิ่มเติมถึง “ดาวคะนอง” (หลังดูรอบสอง): เห็ด รา และ “ประวัติศาสตร์” แบบใหม่ๆ

หมายเหตุ เป็นข้อสังเกตเพิ่มเติม ที่ช่วยขยับขยายความเข้าใจ "ส่วนตัว/เฉพาะตัว" ของผู้เขียนเอง และไม่ได้เป็นข้อสังเกต "ใหม่" เสียทีเดียว ว่าด้วยเห็ด, รา และวรรคทองของหนัง ตอนดูรอบแรก ผมไม่เข้าใจเลยว่า "เห็ด-รา" มีความหมายและหน้าที่อย่างไรในหนังเรื่องนี้ ระหว่างดูรอบสอง จึงเริ่มเห็นนัยยะของ "สิ่งมีชีวิต" เหล่านี้มากขึ้น หลังหนังจบ มีคนถามคุณใหม่ อโนชา ผู้กำกับ ในประเด็นนี้พอดี ซึ่งคุณใหม่ตอบราวๆ ว่า "เห็ด-รา" สื่อให้เห็นถึงสิ่งมีชีวิตที่เติบโตขึ้นมาจากความย่อยสลาย ผุพัง รวมทั้งยังแสดงให้เห็นถึง…

รวมสกู๊ป-งานเขียนเกี่ยวกับ “ดาวคะนอง” จากมติชนสุดสัปดาห์ สองฉบับล่าสุด

รู้จัก "ผู้กำกับฯ ดาวคะนอง" อีกหนึ่งหนังประวัติศาสตร์ "6 ตุลาฯ" (มติชนสุดสัปดาห์ 7-13 ตุลาคม 2559) คอลัมน์นี้เคยกล่าวถึงข่าวคราวของ "ดาวคะนอง" ภาพยนตร์โดย "อโนชา สุวิชากรพงศ์" ไปบ้างแล้ว แต่หากจะให้ทบทวนอีกครั้ง ก็คงสามารถบอกคร่าวๆ ได้ว่า "ดาวคะนอง" คือ "หนังการเมือง" ที่มีฉากหลังเป็นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทว่า อโนชาได้เลือกที่จะพร่าเลือนองค์ประกอบทางการเมืองในหนัง ผ่านการสร้างกรอบโครงที่มุ่งครุ่นคิดถึงประเด็นว่าด้วยพลังอันอธิบายได้ยากของ "เวลา"…

ข้อสังเกตสั้นๆ หลังได้ชมหนังเรื่อง “ดาวคะนอง”

ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์) ถูกชวนให้ไปดูหนังเรื่องนี้ในรอบพิเศษ เพื่อรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาฯ ต้องขอขอบคุณทีมงานผู้สร้างมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ เมื่อได้ดูหนังแล้ว ก็พบว่าเป็นงาน "ยาก" มากๆ ที่จะเรียบเรียง-ประมวลความคิดออกมา เพื่อเขียนถึงหนังเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ เลยคิดว่า คงยังไม่เขียนบทความถึง "ดาวคะนอง" อย่างเป็นทางการ จนกว่าจะได้ดูซ้ำอีกอย่างน้อยสักหนึ่งรอบในช่วงปลายปี ที่หนังจะเข้าฉายในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ที่จะเขียนต่อไปนี้ จึงเป็นเพียงข้อสังเกต-ความรู้สึกสั้นๆ ที่กระจัดกระจาย และไม่เป็นระบบระเบียบเท่าไหร่ครับ…

รวมรายชื่อหนังที่พูดถึงเหตุการณ์ “6 ตุลา” (แบบคร่าวๆ) และลำดับเวลาออกฉาย

(อัพเดตเนื้อหา ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2561) 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยภาระหน้าที่การงานบางอย่าง ทำให้มีโอกาสได้นั่งทบทวนรายชื่อหนังไทย ที่พูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ผมจึงเพิ่งตระหนักว่าหนังกลุ่มนี้มีจำนวนไม่น้อยเลย อีกทั้งยังได้พบข้อมูลที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน นั่นคือ ปี 2552 ถือเป็นปีที่มีการสร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากที่สุด ลองมาอ่านรายละเอียดกันครับ รายชื่อหนังยาว-สั้นของไทยที่มีเนื้อหาหรือฉากหลังเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยเรียงลำดับตามปีที่ออกฉาย 2529…

ปฏิกิริยาต่อ “ดาวคะนอง” จากนักวิจารณ์หนังต่างชาติ

ปฏิกิริยาต่อ "ดาวคะนอง" จากนักวิจารณ์หนังต่างชาติ (มติชนสุดสัปดาห์ 19-25 สิงหาคม 2559) ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับเทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โน 2016 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเทศกาลประจำปีนี้ มีภาพยนตร์ไทยเรื่อง "ดาวคะนอง" โดย "อโนชา สุวิชากรพงศ์" ถูกคัดเลือกเข้าฉายในสายการประกวดนานาชาติด้วย แม้ไม่ได้รางวัลอะไรติดไม้ติดมือกลับมา แต่หลายเสียงก็ชื่นชมในความแปลกแหวกแนวและรูปแบบการเล่าเรื่องที่หลุดพ้นออกจาก "ขนบมาตรฐาน" ของหนังเรื่องนี้ "ออเรลี โกเดต์" เขียนวิจารณ์ "ดาวคะนอง" ในเว็บไซต์ทางการของเทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โนว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้รับมรดกตกทอดมาจาก "เจ้านกกระจอก" หนังยาวเรื่องแรกของอโนชา ที่ไม่ได้เล่าเรื่องราวอันข้องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความทรงจำออกมาในรูปของการเรียงลำดับเหตุการณ์…

“ลิฟท์แดง” : หนังว่าด้วยเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ที่ไปไกลกว่าเรื่องความรุนแรง

(ที่มา นิตยสารไบโอสโคป เมื่อหลายปีก่อน) “ลิฟท์แดง” หนังสั้นตอนหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง “มหา’ลัยสยองขวัญ” ส่งผลให้ผู้กำกับคู่อย่าง บรรจง สินธนมงคลกุล และ สุทธิพร ทับทิม ได้รับรางวัลหน้าใหม่น่าจับตาประจำปี 2552 จากนิตยสารไบโอสโคปไปครอบครอง หนังสั้นตอนนี้ไม่ได้มีความน่าสนใจอยู่ตรงการได้รับรางวัลดังกล่าวเพียงเท่านั้น แต่ประเด็นที่หนังนำเสนอก็มีความโดดเด่น จนอาจกล่าวได้ว่านี่เป็นหนังไทยว่าด้วยเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งมีประเด็นผิดแผกแต่น่าสนใจเป็นที่สุด ในช่วงไม่กี่ปีให้หลังมานี้ มีหนังไทยที่มีเนื้อหาหรือท้องเรื่องอ้างอิงอยู่กับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ถูกผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ‘โคลิค เด็กเห็นผี’…