คนมองหนัง อ่าน ‘ทวิภพ’ ฉบับ ‘สุรพงษ์ พินิจค้า’ ผ่าน ‘อัสดงคตคดีศึกษา’ (บทความอำลาไบโอสโคป) 30 Jan 202030 Jan 2020 บทความชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารไบโอสโคปช่วงปี 2554 ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ซ้ำอีกครั้งที่บล็อกคนมองหนัง เนื่องในโอกาสที่ “ไบโอสโคป” เพิ่งเดินทางไปถึงจุดสิ้นสุด ซึ่งย่อมมิได้หมายถึง “จุดอวสาน” แต่อย่างใด อ่าน ‘ทวิภพ’ ผ่าน ‘อัสดงคตคดีศึกษา’ ฉบับนี้ อยากเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับบทความชื่อ An Ambiguous Intimacy: Farang as Siamese Occidentalism (ความใกล้ชิดอันกำกวม: ฝรั่งในฐานะอัสดงคตคดีศึกษาของสยาม) ซึ่งเขียนโดย อ.พัฒนา กิติอาษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำโครงการอุษาคเนย์ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ…
ข่าวบันเทิง “Destination Nowhere – วงษ์กลม” นิทรรศการวิดีโอและงานศิลปะของ “ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์” 16 Jan 201916 Jan 2019 “ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์” ศิลปินชาวไทยกำลังจัดแสดงนิทรรศการ “Destination Nowhere – วงษ์กลม” ที่ Gallery VER Project Room ระหว่างวันที่ 12 มกราคม – 16 กุมภาพันธ์นี้ นิทรรศการดังกล่าวจะประกอบด้วยวีดีโอศิลปะเรื่อง “Destination Nowhere” และชิ้นงานศิลปะอื่นๆ “Destination Nowhere” ถ่ายทอดเรื่องราวของบุคคลคนหนึ่งที่เกิดในญี่ปุ่น แม่ของเขาเป็นแรงงานชาวไทยซึ่งอาศัยอยู่ที่ประเทศดังกล่าวมานานหลายปีอย่างผิดกฎหมาย ไม่นานมานี้ เธอได้มอบตัวและถูกส่งกลับไทย ศาลตัดสินเบื้องต้นว่าให้ส่งลูกของเธอกลับประเทศไทยด้วย แต่เขากำลังต่อสู้เพื่อสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นต่อไป…
คนมองหนัง บันทึกฟุ้งๆ ถึง Bangkok Nites (กลางคืนที่บางกอก) 10 Feb 201811 Feb 2018 ศัตรูที่รัก และ/หรือ สายสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทยที่ไม่จบสิ้น https://www.youtube.com/watch?v=Nol2qVLH0ao Bangkok Nites เล่าเรื่องราวสายสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย สายสัมพันธ์ในหนังถูกบอกเล่าผ่านความสัมพันธ์ของสามัญชนคนเล็กคนน้อย ตลอดจนวัฒนธรรมชายขอบต่างๆ (ทั้งด้านสว่างและด้านมืด) มันเป็นทั้งความรัก ความพลัดพราก ความสมานฉันท์ และรอยบาดแผล หรืออาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ในหนัง ถูกนำเสนอออกมาในเชิง "ศัตรูที่รัก" ด้านหนึ่ง นี่ก็เป็นหนังสารภาพบาปจากมุมมองของญี่ปุ่น หนังไม่ได้พูดถึง "บาปใหญ่" ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หากพูดถึงผลลัพธ์ต่อเนื่องหลังจากนั้น นั่นคือ "บาป" ที่ญี่ปุ่น (และไทย) ร่วมก่อในช่วงสงครามเย็น เรื่อยมาถึง…
คนมองหนัง Operation Mekong : ความใฝ่ฝันของ “พญามังกร” และ “ปริศนาลี้ลับ” ที่ถูกทิ้งค้างไว้ 23 Jan 201723 Jan 2017 (ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 20-26 มกราคม 2560) "Operation Mekong" เป็นภาพยนตร์แอ๊กชั่นผลงานการกำกับฯ ของ "ดังเต้ แลม" คนทำหนังชาวฮ่องกง ที่สร้างผลงานมาอย่างต่อเนื่องแทบจะปีชนปี นับแต่ ค.ศ.1997 จนถึงปัจจุบัน พิจารณาจากแง่ของ "รูปแบบ" ภาพยนตร์เรื่องนี้ย่อมถูกจัดอยู่ในประเภท "บู๊/แอ๊กชั่น" ซึ่งหนังก็ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เป็นอย่างดีและครบเครื่อง หนังมีฉากแอ๊กชั่นเด็ดๆ ตามเหลี่ยมมุมของอาคาร "อินดอร์" บนรถไฟ ในรถยนต์บนท้องถนน บนเรือลัดเลาะแม่น้ำโขง บนเฮลิคอปเตอร์ เรื่อยไปจนถึงในพื้นที่ป่า เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ…
คนมองหนัง ความพร่าเลือนของรัฐ-ชาติ และความทับซ้อนของศาสนา ใน ‘สาบเสือที่ลำน้ำกษัตริย์’ 4 Oct 20164 Oct 2016 หมายเหตุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ถือเป็นวาระครบรอบ 7 ปี แห่งการเสียชีวิตของ "บัณฑิต ฤทธิ์ถกล" หนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญของไทย บล็อกคนมองหนังขอรำลึกถึงบัณฑิต ผ่านบทความว่าด้วย "สาบเสือที่ลำน้ำกษัตริย์" ภาพยนตร์ใน "ยุคปลาย" ของเขา ซึ่งถูกกล่าวถึงไว้ไม่มากนัก บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารไบโอสโคป ภายหลังบัณฑิตเสียชีวิตได้ไม่นาน ไอ้กล่อมเป็นชายหนุ่มชาวโยเดีย/อยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปยังเมาะตะมะโดยกองทัพอังวะ เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ครั้นเมื่ออังวะกรีฑาทัพมารบกับกรุงเทพฯ ในสงครามเก้าทัพสมัยรัชกาลที่ 1 กล่อมก็ถูกกองทัพพม่าเกณฑ์ให้ไปร่วมรบด้วย หลังทัพอังวะพ่ายแพ้ที่สมรภูมิสามสบและท่าดินแดง…
ข่าวบันเทิง อ่านเรื่องย่อ Bangkok Nites หนังญี่ปุ่นที่พูดถึงบาดแผลจากยุคอาณานิคมบนพรมแดนไทย-ลาว 27 Jul 201627 Jul 2016 นอกจาก "ดาวคะนอง" ของ "อโนชา สุวิชากรพงศ์" แล้ว ในสายการประกวดหนังนานาชาติ ของเทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โน 2016 ยังมีผลงานของนักทำหนังชาวญี่ปุ่น "คัตสึยะ โทมิตะ" เรื่อง "Bangkok Nites" ซึ่งนักแสดงส่วนใหญ่เป็นคนไทย แถมยังถ่ายทำในเมืองไทยอีกด้วย ก่อนหน้านี้ มีเสียงเล่าลือว่า องค์ประกอบของหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้นั้นแสนจะพิลึกพิลั่น เพราะมีทั้งย่านธนิยะ, ผีจิตร ภูมิศักดิ์, พญานาค และซากประวัติศาสตร์สงครามลับในลาว ล่าสุด เว็บไซต์ของทางเทศกาลได้เผยแพร่ภาพนิ่งบางส่วนและเรื่องย่อของ Bangkok Nites…
คนมองหนัง บทสัมภาษณ์อภิชาติพงศ์ใน Film Comment: ปีโนเชต์, อเมริกา, อดีตผู้นำ และหุ่นเชิด 17 Mar 201617 Mar 2016 เมื่อ "อภิชาติพงศ์" ขึ้นปก Film Comment บทสัมภาษณ์ว่าด้วยการโหวตคว่ำปีโนเชต์ บทบาทสหรัฐยุคสงครามเย็น และอนุสาวรีย์ "อดีตผู้นำ" ที่ขอนแก่น (มติชนสุดสัปดาห์ 11-17 มีนาคม 2559) นิตยสารภาพยนตร์ชื่อดังระดับนานาชาติอย่าง "Film Comment" ฉบับเดือนมีนาคม-เมษายน 2016 ได้นำภาพผู้กำกับหนังชาวไทย "อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล" มาขึ้นหน้าปก โดยในเล่ม "วิโอเล็ต ลุคคา" บรรณาธิการดิจิทัลของนิตยสารเล่มนี้ ได้เขียนรายงานขนาดยาวเกี่ยวกับภาพยนตร์ "รักที่ขอนแก่น" ของอภิชาติพงศ์…