คนอ่านเพลง รำลึกถึง “ป๋อม บอยไทย” (2509-2562) 22 May 201922 May 2019 หนึ่ง ในฐานะของคนที่เริ่มฟังเพลงอย่างจริงจัง ณ ช่วงปลายทศวรรษ 2530 ถึงต้นทศวรรษ 2540 ผมมักเห็นแย้งเสมอเวลาใครพยายามผูกโยงว่า “วงการเพลงอินดี้ไทย” ยุค 90 นั้น “เท่ากับ” ดนตรีแนว “อัลเทอร์เนทีฟร็อก” แน่นอน วงการเพลงอินดี้ยุคนั้นก่อตัวขึ้นจากกระแสอัลเตอร์ฯ และศิลปินอินดี้จำนวนมากก็เป็นที่รู้จักจากการผลิตผลงานแนว “อัลเทอร์เนทีฟร็อก” แต่ก็ยังมีศิลปินแนวอื่นๆ ที่เข้ามาบุกเบิกแผ้วถางที่ทางเฉพาะของตน และสร้างสีสันอันแตกต่างให้แก่วงการเพลงอินดี้หรืออุตสาหกรรมดนตรีไทยยุค 90 “บอยไทย ยุคแรก” ที่นำโดย “ชัยยุทธ โตสง่า” หรือ “ป๋อม…
คนมองหนัง ระลึกถึง “ท่านครู” และ “ทิพย์” (ฉบับสมบูรณ์) 26 May 201626 May 2016 ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ 20-26 พฤษภาคม 2559 (ปรับปรุงจากบทความที่เผยแพร่ในบล็อกก่อนหน้านี้) "คุณอดุลย์ ดุลยรัตน์" และ "คุณประจวบ ฤกษ์ยามดี" สองนักแสดงอาวุโส เพิ่งล่วงลับลงในเวลาใกล้เคียงกัน ข้อเขียนชิ้นนี้พยายามจะรำลึกถึงทั้งสองท่าน ผ่านมุมมอง การตีความ และประสบการณ์อันจำกัดจำเขี่ยของคนดูหนังรายหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ติดตามผลงานของทั้งคู่มามากมายและละเอียดลออนัก ท่านครู ผมคงเป็นเช่นเดียวกับแฟนหนังรุ่นหลังอีกหลายคน ที่จดจำคุณอดุลย์ได้จากบทบาท "ท่านครู" ในภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง" (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, 2547) ตามความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า ตัวละคร "ท่านครู"…
ข่าวบันเทิง… รำลึกถึง “ท่านครู” และ “ทิพย์” 16 May 201616 May 2016 ขออนุญาตรำลึกถึง "คุณอดุลย์ ดุลยรัตน์" และ "คุณประจวบ ฤกษ์ยามดี" สองดาราอาวุโสที่เพิ่งล่วงลับ ผ่านมุมมองของคนดูหนังคนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ติดตามผลงานของทั้งสองท่านมามากนัก ผมคงเช่นเดียวกับแฟนหนังรุ่นหลังหลายๆ คน ที่จดจำคุณอดุลย์ได้จากบทบาท "ท่านครู" ใน "โหมโรง" ตามความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า ตัวละคร "ท่านครู" ในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว มี "นัยยะความหมายทางสังคม-วัฒนธรรม" อันสำคัญยิ่ง จนสำคัญยิ่งกว่าเรื่องราวในจอภาพยนตร์ ทว่า เป็นความสำคัญที่หลุดลอยออกมาสู่บริบทการต่อสู้ในทางสังคม-การเมือง นับแต่ก่อนเดือนกันยายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ท่านครูในโหมโรง…