ว่าด้วย The Square

โดยส่วนตัว รู้สึกว่าท่ามกลางภาวะชุลมุนวุ่นวาย แวะโน่นแวะนี่ไปเรื่อยๆ หนังมันนำเสนอ "ข้อขัดแย้ง" หรือ "การเทียบเคียง" ในหลากหลายประเด็นดี ในจำนวนนั้น "ประเด็นขัดแย้ง/การเทียบเคียง" เท่าที่ตัวเองรู้สึกว่าน่าสนใจ น่าสนุก และค่อนข้างอิน ก็คือ หนึ่ง ข้อขัดแย้งระหว่างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น/ความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่างความหลากหลาย (ไม่ว่าจะดิบเถื่อนถึงขีดสุดขนาดไหน) กับ ข้อห้ามเรื่องการเหยียด หรือเรื่องการล่วงละเมิดกลุ่มคนต่างๆ ในสังคม ตั้งแต่ที่จำแนกด้วยอายุ เพศสภาพ ชาติพันธุ์ หรือสถานะทางเศรษฐกิจ (พูดง่ายๆ คือ เรื่องความถูกต้องทางการเมือง) ประเด็นนี้ หนังฉายภาพให้เห็นถึงการพยายามจะขยับขยายขอบเขตของงานศิลปะ…

เขียนถึง “Die Tomorrow” (แบบไม่ค่อยเกี่ยวกับหนัง)

ว่าด้วยงานศพ Die Tomorrow ไม่มีฉากงานศพ แต่จำได้รางๆ ว่า ในช่วง 1-2 วันแรกที่หนังเข้าฉาย เหมือนจะมีใครเคยเปรียบเทียบเอาไว้ทำนองว่าหนังเรื่องนี้มีลักษะที่คล้าย "หนังสืองานศพ" หลังดู Die Tomorrow จบ ผมก็คิดถึง "งานศพ" เหมือนกัน แต่เมื่อหนังไม่มีภาพงานศพใดๆ ปรากฏอยู่ สิ่งที่จะเขียนในหัวข้อนี้จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวหนังโดยตรงเสียทีเดียว ปกติ ผมเป็นคนที่หลีกเลี่ยงการไปร่วมงานศพ, งานแต่งงาน แล้วก็การไปเยี่ยมคนป่วย พูดถึงเฉพาะกรณีงานศพ งานศพที่ผมไปจริงๆ จึงมักเป็นงานของญาติสนิท, เพื่อนร่วมงาน, พ่อแม่เพื่อนร่วมงาน,…

“ศิวนาฏราช” กลางห้างชานเมือง อีกหนึ่งกลยุทธ์ความสำเร็จของ “เทพสามฤดู 2560”?

การพุ่งไปคว้าเรตติ้งเกิน 7 ได้เป็นครั้งแรกของ "เทพสามฤดู 2560" เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อาจมีเหตุปัจจัยเบื้องหลังอยู่หลายประการ อย่างไรก็ตาม บล็อกคนมองหนังอยากตั้งข้อสังเกตสั้นๆ ถึงสองปรากฏการณ์ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนุนเสริมความโด่งดังของละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องนี้ ข้อแรก การหันมาเล่นกับสื่อใหม่ของค่ายสามเศียร ต้องยอมรับว่าในช่วงหลังๆ ทีมงานสามเศียรเล่นกับโซเชียลมีเดียได้เก่งขึ้นมาก วัดจากกรณีของ "เทพสามฤดู 2560" ซึ่งภาพและคลิปโปรโมทละครเรื่องนี้จะถูกอัพลงอินสตาแกรมอย่างต่อเนื่องพอสมควร ที่สำคัญ ทางสามเศียรยังเจนจัดในการทำงานร่วมกับยูทูบมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบัน "เทพสามฤดู" จึงถูกแพร่ภาพผ่าน 3 ช่องทาง "ที่เป็นทางการ" คือ…