สามทศวรรษเพลง “ประวัติศาสตร์” และภารกิจค้นหา “มวล พร้อมพงศ์”

วันที่ 21 ธันวาคม 2533 คือวันแรกที่เทปและซีดีอัลบั้มชุด “นินจา” ของ “คริสติน่า อากีล่าร์” ออกวางจำหน่าย ดังนั้น วันที่ 21 ธันวาคม 2563 จึงถือเป็นวาระครบรอบ 30 ปี ของอัลบั้มชุดดังกล่าว แน่นอนว่านี่ย่อมต้องเป็นวาระครบรอบ 3 ทศวรรษของบทเพลงเด่นๆ จากผลงานชุดเปิดตัวของ “ติ๊นา” ไปพร้อมกันด้วย “ประวัติศาสตร์” คือหนึ่งในบทเพลงโดดเด่นเหล่านั้น ทั้งยังอาจจะเป็นเพลงที่ยืนยงข้ามกาลเวลามากที่สุดของ “คริสติน่า” บล็อกคนมองหนังจึงขออนุญาตนำงานเขียนชื่อ…

(ไม่ดราม่าประเด็น MV “ทศกัณฐ์”) ท็อปไฟว์เพลงป๊อปไทย ที่ร้อง-เล่าเรื่องราวแบบ “ยักษ์ๆ”

เห็นเขากำลังดราม่าประเด็น "ทศกัณฐ์" ศิลปะ "โขน" และเอ็มวี "เที่ยวไทยมีเฮ" กัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กำลังจะเสนอต่อไปนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีข้างต้น แต่ทางบล็อกของเราต้องการนำเสนอถึงบทเพลงป๊อปในยุคใกล้-ไกล ที่หยิบยกเอา "ยักษ์" มาเป็นสัญลักษณ์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวหรือตั้งประเด็นคำถามได้อย่างน่าสนใจมากกว่า แค่ฟังเพลงเหล่านี้ คุณก็จะได้รับรู้แล้วว่าวิธีการตีความหรือครุ่นคิดถึง "ยักษ์" ในสังคมไทยนั้น ก้าวไปไกลกว่าดราม่าที่เกิดขึ้นช่วงวันสองวันนี้มากมายนัก เฮ่อ! เป็นไปไม่ได้ เพลงอมตะของ "ดิ อิมพอสซิเบิล" ซึ่งเขียนคำร้อง-แต่งทำนองโดยศิลปินแห่งชาติ "ครูพยงค์ มุกดา" ครูพยงค์อุปมาให้ "ทศกัณฐ์" เป็นมาตรฐานสูงสุดบางประการ ซึ่งชายอาภัพรักผู้หนึ่งไม่สามารถจะไขว่คว้าหรือพุ่งทะยานไปยังจุดดังกล่าวได้…

“อัศจรรย์…รัก” โดย ดึกดำบรรพ์ บอย แบนด์

(ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์  8-14 กรกฎาคม 2559) หลังมีคอนเสิร์ตส่วนตัวชื่อ "รักนิรันดร์" เมื่อเดือนตุลาคม 2558 "พนเทพ สุวรรณะบุณย์" โปรดิวเซอร์-นักแต่งเพลงฝีมือดี ที่สร้างผลงานฮิตๆ ไว้มากมายช่วงยุค 2520-2540 ก็คล้ายจะเริ่มจับทางได้ถูกว่ากิจกรรมการเล่นดนตรีในวัยหลังเกษียณของเขาและ (ผองเพื่อน) ควรจะคลี่คลายไปสู่ทิศทางใด โมเมนต์หนึ่งในคอนเสิร์ต "รักนิรันดร์" ที่ประทับใจคนดูเป็นพิเศษ ก็คือช่วงที่ "สามเกลอเก่า" อย่างพนเทพ "ชรัส เฟื่องอารมย์" และ "ปั่น-ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว" มาล้อมวงร้องเพลง-เล่นดนตรีด้วยกัน เมื่อเสร็จสิ้นคอนเสิร์ตครั้งนั้น…