ดูใหม่ “October Sonata”

เพิ่งได้ดู “October Sonata รักที่รอคอย” รอบล่าสุด ผ่านทางเน็ตฟลิกซ์ นี่น่าจะเป็นการดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกในทศวรรษ 2560 ของผม หลังจากที่ผมวนเวียนดูมันอยู่รอบแล้วรอบเล่าเมื่อหนังเข้าฉายตอนปี 2552 และอีกหลายปีถัดมา พอมานั่งชมผลงานชิ้นเอกของ “สมเกียรติ วิทุรานิช” อีกครั้งในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระลอกใหม่ของการเมืองไทยพอดี ผมก็เกิดข้อสังเกต-คำถามใหม่ๆ ขึ้นมาราว 2-3 ประเด็น หนึ่ง คงเป็นเพราะได้มาดูหนังในวัยที่เพิ่มมากขึ้น (และอาจผนวกด้วยเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่แน่ชัดนัก) ผมเพิ่งรู้สึกชัดเจนว่า “October Sonata” นั้นมีความเป็น…

5 ประเด็นว่าด้วย “Reply 1988”

หนึ่ง ด้านหนึ่ง รู้สึกว่า “Reply 1988” นั้นแชร์ประเด็นทางสังคมหนักๆ ร่วมกับหนังเกาหลีร่วมสมัยบางเรื่อง (อาจจะโดยไม่ได้ตั้งใจ) เช่น การอาศัยอยู่ใน “บ้านชั้นใต้ดิน” ของหนึ่งในครอบครัวตัวละครหลัก ก็คล้ายคลึงกับชะตากรรมของตัวละครกลุ่มหนึ่งใน “Parasite” หรือจะมีตัวละครสมทบรายหนึ่ง ซึ่งตลอดทั้งเรื่อง คนดูน่าจะประเมินว่าเธอทำหน้าที่ “แม่-เมีย” ได้ไม่สมบูรณ์นัก ก่อนที่เธอจะเริ่มมีตัวตนมากขึ้นในช่วงท้ายๆ และบทพูดหนึ่งที่น่าประทับใจ ก็คือ เธออยากเป็นตัวของเธอเอง (ให้คนอื่นๆ เรียกชื่อของเธอ) มากกว่าจะถูกเพื่อนบ้านเรียกขานว่าเป็น “แม่ของ...” ประเด็นนี้ชวนให้นึกถึง “Kim Ji-young,…

Itaewon Class : “ลูกพี่” “เถ้าแก่” และการหายไปของ “พ่อ”

(เปิดเผยเนื้อหา) https://www.youtube.com/watch?v=BoU8OOWOb5s หลังดูซีรี่ส์เกาหลีอันโด่งดังอย่าง “Itaewon Class” จบลง ก็มีเรื่องวนเวียนอยู่ในหัวผมประมาณ 4-5 ประเด็น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วัฒนธรรม “ลูกพี่” ตั้งแต่ต้นจนจบ ค่านิยมหลักประการหนึ่งที่ซีรี่ส์เรื่องนี้นำเสนอก็คือ “วัฒนธรรมลูกพี่” (ในแบบเอเชียตะวันออก?) จนสามารถกล่าวได้ว่าการแข่งขันกันทางธุรกิจในระบบทุนนิยมผ่านกลไกตลาดหุ้นก็ดี การแสดงอำนาจบารมีแบบ “นักเลง” หรือ “พี่” (อาเฮีย) ก็ดี การใช้อิทธิพลนอก-ในระบบกฎหมายก็ดี ล้วนถูกห่อคลุมไว้ด้วย “วัฒนธรรมลูกพี่” ทั้งหมด เพียงแต่อำนาจบารมีของ “ลูกพี่” คนหนึ่งนั้นเสื่อมถอยลง…

“The English Game” : ฟุตบอลคือการประสานประโยชน์ทางชนชั้น

นี่คือซีรี่ส์เน็ตฟลิกซ์ว่าด้วยต้นกำเนิดของ “กีฬาฟุตบอลสมัยใหม่” ในสหราชอาณาจักร ที่เปลี่ยนผ่านจากการเป็น “เกมของลูกหลานผู้ดีในโรงเรียนประจำ” มาสู่การเป็น “กีฬา/ความบันเทิงของมหาชน-ชนชั้นแรงงาน” ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกบอกเล่าผ่านปฏิสัมพันธ์ฉันมิตรกึ่งศัตรู ระหว่าง “เฟอร์กัส ซูเทอร์” พ่อค้าแข้งชาวสกอตแลนด์ที่ย้ายมาเล่นฟุตบอลที่อังกฤษ ในฐานะ “นักเตะอาชีพ” รุ่นแรกๆ เพื่อเลี้ยงดูแม่และน้องๆ ซึ่งใช้ชีวิตยากลำบากที่กลาสโกว์ กับ “อาร์เธอร์ คินแนด” ทายาทตระกูลขุนนางเจ้าของธุรกิจธนาคาร ผู้เป็น “ดาวเตะ” ซึ่งแทบจะผูกขาดถ้วยเอฟเอคัพ ในยุคสมัยที่การเล่นฟุตบอลยังเป็นเพียงกีฬาสมัครเล่นของบรรดาผู้ดี แม้ “ชนชั้น” จะเป็นประเด็นหลักของซีรี่ส์เรื่องนี้ แต่โลกทัศน์ที่ “The…

รีวิว Kim Ji-young: Born 1982, Dracula และ มือปืน/โลก/พระ/จัน 2

Kim Ji-young: Born 1982 หาก “บงจุนโฮ” บอกว่า “Parasite” คือส่วนต่อขยายของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลีอันยาวนาน เรื่องราวของ “Kim Ji-young: Born 1982” ก็คงเป็นส่วนต่อขยายของสื่อบันเทิงเกาหลีร่วมสมัย (โดยเฉพาะซีรีส์) ที่มีแนวโน้มจะครุ่นคิดถึงประเด็นความกดดันของลูกผู้หญิง, ขบวนการ Me Too และสายสัมพันธ์ตึงเครียดในสถาบันครอบครัว อย่างหนักแน่นจริงจัง หนังเรื่องนี้พาเราเข้าไปไตร่ตรองสะท้อนคิดถึงประสบการณ์/บาดแผลร่วมของสตรีจำนวนมาก ตลอดจนอาการป่วยไข้ของสังคมเกาหลีในภาพรวม ที่สำแดงผ่านอาการป่วยไข้ทางใจของปัจเจกบุคคล/ตัวละครนำชื่อ “คิมจียอง” เอาเข้าจริง “คิมจียอง” จึง “ถูกสิง”…

สิ้นสุดการรอคอย! เน็ตฟลิกซ์ซื้อสิทธิ์พัฒนา “หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว” เป็นซีรี่ส์

เน็ตฟลิกซ์เพิ่งประกาศข่าวสำคัญว่าทางบริษัทได้รับสิทธิ์ในการพัฒนานวนิยายเรื่อง “One Hundred Years of Solitude” หรือ “หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว” ของ “กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ” ให้เป็นผลงานภาพเคลื่อนไหว นี่นับเป็นครั้งแรกสุด ที่ผลงานการประพันธ์ชิ้นสำคัญ ซึ่งถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1967 หรือ 52 ปีก่อน จะได้รับการดัดแปลงเป็น “ภาพยนตร์” โรดริโก การ์เซีย บุตรของนักประพันธ์รางวัลโนเบลผู้ล่วงลับ ซึ่งจะรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้าง “หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว” ฉบับภาพยนตร์ซีรี่ส์ของเน็ตฟลิกซ์ ร่วมกับกอนซาโล การ์เซีย…

บันทึกถึง Roma

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=6BS27ngZtxg ขอพูดเรื่องเทคนิคแบบคนมีความรู้ชนิดงูๆ ปลาๆ ก่อนเป็นลำดับแรก กลายเป็นว่าองค์ประกอบหนึ่งที่ผมชอบมากใน Roma คือเรื่องเสียง ซึ่ง “อัลฟองโซ กัวรอง” พยายามเล่นกับคนดู ด้วยการทำให้เราได้ยินเสียงนู่นนี่ ทางโน้นทางนี้ ที่อยู่นอกเหนือไปจากสถานการณ์ที่ถูกโฟกัสในจอภาพยนตร์ ก่อนหน้านี้ ผมได้อ่านหลายความเห็นที่ตั้งข้อสงสัยว่า Roma นั้นเหมาะสมกับการเผยแพร่ผ่านช่องทางเน็ตฟลิกซ์มากน้อยแค่ไหน เพราะงานด้านภาพที่ดีของหนังอาจเหมาะสมสำหรับการนั่งชมผ่านจอใหญ่ๆ ในโรงภาพยนตร์มากกว่า อย่างไรก็ดี ผมกลับรู้สึกว่า ลูกเล่นด้านเสียงที่กัวรองเลือกใช้ กลับสะท้อนถึงวัฒนธรรมการเสพสื่อบันเทิงในจอคอมพิวเตอร์/แท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนได้ดี เพราะบ่อยครั้ง เวลาเราเปิดดูวิดีโอในคอมพิวเตอร์ เรามักเผลอ/ตั้งใจเปิดคลิปต่างๆ ในหลายๆ หน้าพร้อมกัน…

เดวิด โครเนนเบิร์ก: ซีรีส์เน็ตฟลิกซ์ = นวนิยาย, หนังฉายโรง = เรื่องสั้น

"ผมเริ่มที่จะคิดว่า บางที สื่อภาพยนตร์ที่เทียบเท่าได้กับงานเขียน 'นวนิยาย' คือ 'ซีรีส์เน็ตฟลิกซ์' ซึ่งอาจจะดำเนินเรื่องติดต่อกันยาวนาน 5 ปี หรือ 7 ปี "จริงๆ แล้ว ซีรีส์เหล่านี้คือศิลปะชนิดใหม่ ที่ไม่เหมือนกับซีรีส์โทรทัศน์ยุคเก่า ผมได้ดูซีรีส์เน็ตฟลิกซ์บางเรื่อง ซึ่งผมคิดว่ามันมีคุณภาพยอดเยี่ยมทีเดียว อย่างเช่น Babylon Berlin ของทอม ทีคแวร์ งานประเภทนี้มีทั้งความมหัศจรรย์และความคล้ายคลึงกับนวนิยาย "ผมคิดว่าบางที 'ภาพยนตร์ฉายโรง' อย่างที่พวกเรารู้จักกัน น่าจะเปรียบได้กับการเขียน 'เรื่องสั้น' แต่ถ้าคุณต้องการเขียนนวนิยาย…