ไม่ควรพลาด! เทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 22 ที่หอภาพยนตร์ ศาลายา

แวะเวียนมาบรรจบอีกคราวกับเทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 22 ซึ่งครั้งนี้เป็นหนแรกสุด ที่งานทั้งหมดจะย้ายมาจัด ณ หอภาพยนตร์ ศาลายา ระหว่างวันที่ 8-16 กันยายน 2561 เทศกาลภาพยนตร์สั้นหนนี้ยังอัดแน่นไปด้วยโปรแกรมจัดฉายหนังสั้นทั้งของไทยและต่างประเทศจำนวนมากมายเช่นเคย ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ ขณะเดียวกัน ความแปลกใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา ก็คือ งานเสวนาที่หลากหลาย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการโพสต์โปรดักชั่นในยุคดิจิทัล, การใช้โอเพ่นซอร์สซอฟแวร์ในการสร้างแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ของตนเอง ไปจนถึง กระบวนการพัฒนาโปรเจ็คท์ภาพยนตร์ขนาดยาว นอกจากนั้น ในวันอังคารที่ 11 กันยายน ยังจะมี งานประชุมวิชาการด้านภาพยนตร์ศึกษา ครั้งที่ 8…

เขียนถึง “หนังสั้น 21” เท่าที่ได้ดู (2)

ย้ายรัง (ติณห์นวัช จันทร์คล้อย) ในแง่ "ความเป็นหนัง" แบบ "เพียวๆ" หนังสารคดีเรื่องนี้อาจไม่โดดเด่นทรงพลังมากนัก แต่ผมชอบสิ่งที่ "ย้ายรัง" พยายามนำเสนอ นั่นคือ การฉายภาพให้เห็นถึง "กระบวนการแทบทุกส่วน" ของการทำหนังสารคดี เพื่อตอบโจทย์ทางสังคมและโจทย์ขององค์กรที่มอบเงินทุนสนับสนุน หากพิจารณาลงลึกไปในแต่ละเสี้ยวส่วน "ย้ายรัง" อาจไม่ได้มีอะไรใหม่หรือเตะตาแบบสุดๆ เช่น การเผยให้เห็นตัวตน-วิธีคิดของคนทำหนัง/กิจกรรมเพื่อสังคม หรือ การให้บรรดาซับเจ็คท์ในหนังได้มีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เรื่องราว ก็มีหนังสารคดีเรื่องอื่นทำกันมาจนเกร่อแล้ว หรือเอาเข้าจริง ในตอนจบที่ฉายให้เห็นผลลัพธ์ของโครงการพัฒนาที่หนังสารคดีเรื่องนี้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ออกจะดู "แปลกๆ" และ "ผิดที่ผิดทาง"…

เขียนถึง “หนังสั้น 21” เท่าที่ได้ดู (1)

"Bangkok Dystopia" (ปฏิพล ทีฆายุวัฒน์) หนังเล่าเรื่องราวในค่ำคืน/เช้ามืดที่มีการประกาศกฎอัยการศึก ก่อนเกิดรัฐประหารปี 2557 จุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อมีผู้โดยสารสองรายถูกเชิญ (ไล่) ลงจากรถเมล์ เนื่องจากการประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้รถเมล์สายนี้ไม่สามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางที่เขาและเธอต้องการได้ทัน ผู้โดยสารคนแรกเป็นหญิงสาวผิวเข้มตาคม อายุน่าจะราวๆ 20 ต้นๆ หรือใกล้ 20 เธอมีบุคลิก การแต่งกาย และสีหน้าแววตาที่ช่ำชองและกร้านโลกพอสมควร พอลงจากรถเมล์ หญิงสาวพยายามโทรศัพท์เรียกให้แฟนขี่มอเตอร์ไซค์มารับ แต่เสียงจากปลายสายคล้ายจะปฏิเสธ ผู้โดยสารคนที่สองเป็นเด็กหนุ่มที่น่าจะเพิ่งเริ่มเรียน ม.ปลาย เขามีแววตาใสซื่อบริสุทธิ์ จนคล้ายจะมีคำถามและความสงสัยใคร่รู้ต่างๆ ผุดพรายออกมาจากดวงตาคู่นั้น เด็กหนุ่มบอกว่าเพิ่งเขาไปติววาดรูปช่วงเย็น และพอเลิกเรียนก็ยังไม่อยากกลับบ้าน…

‘จิตร โพธิ์แก้ว’ และงานหนังสั้นมาราธอน

ปีนี้ เป็นปีแรก ที่เทศกาลหนังสั้น ซึ่งจัดโดยมูลนิธิหนังไทย ตัดสินใจงดกิจกรรมฉายหนังสั้นมาราธอนในช่วงก่อนเริ่มต้นเทศกาล (คงเพราะด้วยเหตุผล-ความจำเป็น-ข้อจำกัดบางประการของทางทีมงาน) ทำให้นึกถึงบทความแปลชิ้นหนึ่งของตัวเองที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2553 ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยความพิเศษและจุดแข็งของงานหนังสั้นมาราธอนในมุมมองของ "คุณจิตร โพธิ์แก้ว" นักดูหนัง ผู้เป็นแฟนประจำของกิจกรรมฉายหนังดังกล่าว ก่อนหน้านี้ พยายามค้นหาไฟล์ของบทความชิ้นนี้อยู่นานมาก แต่ก็หาไม่พบ กระทั่งมาเจอเวอร์ชั่นกระดาษของมัน เลยลองสแกนผ่านแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์ (ได้ผลลัพธ์ที่พออ่านออก แต่อาจจะไม่เนี้ยบนัก) แล้วนำมาเผยแพร่อีกครั้งผ่านบล็อกนี้ ในรูปแบบไฟล์พีดีเอฟครับ มาร่วมรำลึกถึง "งานหนังสั้นมาราธอน" กันครับ 'จิตร โพธิ์แก้ว' และงานหนังสั้นมาราธอน (PDF)  …

หนังสั้น 20 สเปเชียล (3) : Bangkok Stories

Bangkok Stories (ยกเว้น "หมอชิต") เยาวราช (อภิญญา สกุลเจริญสุข) เรียบๆ ธรรมดาๆ ไปหน่อยนึง เหมือนหนังจะพยายามจำกัดกรอบอะไรบางอย่างให้ตัวเองมากเกินไปนิด แต่ก็เห็นด้วยกับบางเสียง ที่บอกว่าจุดน่าสนใจของมัน คือ การเป็นหนังชื่อ "เยาวราช" ที่ไม่ได้พยายามมุ่งเน้นนำเสนอภาพ-เรื่องราวเกี่ยวกับ "ความเป็นจีน" ในสังคมไทย ข้าวสาร (อโนชา สุวิชากรพงศ์) จริงๆ ตัวพื้นที่ และลักษณะการใช้สอยพื้นที่ของหนังเรื่องนี้ มัน "คลิก" กับประสบการณ์ส่วนตัวของผมพอสมควร ช่วงเรียนปริญญาตรี-โท ที่ธรรมศาสตร์…

ผลงานน่าประทับใจ จากเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 20

ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 2-8 กันยายน 2559 ปิดฉากลงไปแล้วสำหรับเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 20 จัดโดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และมูลนิธิหนังไทย ปีนี้ มีโอกาสแวะเวียนไปชมผลงานบางส่วนที่เข้าฉายในเทศกาลหนังสั้น แม้จะถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก คือ ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของผลงานทั้งหมดในเทศกาล (และเป็นเพียงส่วนเสี้ยวน้อยนิดของผลงานที่ส่งเข้าประกวด) แต่ก็มีหนังสั้นจำนวนหนึ่ง ที่เมื่อได้ดูก็รู้สึกประทับใจ และยังติดอยู่ในใจ แม้จะเดินออกจากห้องฉายแล้วก็ตาม ภารกิจสุดท้าย-Aim "ภารกิจสุดท้าย" (เชวง ไชยวรรณ) และ "Aim" (อรุณกร พิค) เป็นหนังสั้นที่มีภูมิหลังของตัวละครนำ และฉากหลังคล้ายๆ กัน…

หนังสั้น 20 สเปเชียล (2) : ภาพยนตร์สารคดีโปรแกรมดุ๊ก 2-3

โปรแกรมดุ๊ก 2 การตายของหิ่งห้อย (จิรัฐติกาล พระสนชุ่ม และ พสิษฐ์ ตันเดชานุรัตน์) เหมือนดังที่มิตรสหายท่านหนึ่งบอกเอาไว้ว่า หนังสารคดีเรื่องนี้มีความสอดคล้องกับข่าวคราวที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ ที่พระภิกษุร่างจิ๋วสูงไม่ถึง 100 ซม. ถูกบังคับให้สึกโดยคำสั่งของพระผู้ใหญ่ ซึ่งอ้างเหตุผลเรื่องพระธรรมวินัย "การตายของหิ่งห้อย" เล่าเรื่องราวคล้ายๆ กันของชาย ผู้อาจมีอาการ "ผิดแปลก" บางอย่าง จนแตกต่างจากคนปกติธรรมดาทั่วไป แต่เขากลับชอบไปขลุกตัวช่วยงานวัด และสุดท้าย ก็อยากบวชเป็นพระ สำหรับใครที่ไปทำบุญ ไปงานศพ ตามวัดวาอารามต่างๆ อยู่เสมอๆ คนประเภทเดียวกับ…

“River of Exploding Durians” : การต่อสู้, ประวัติศาสตร์ และหนุ่มสาวผู้ร้าวราน

ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์  26 สิงหาคม - 1 กันยายน 2559 ในที่สุด ก็มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์มาเลเซีย ฝีมือการกำกับของ "เอ็ดมันด์ โหย่ว" ที่งานเปิดเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 20 และพบว่านี่เป็นหนังเกี่ยวกับช่วงชีวิตเปลี่ยนผ่านของวัยรุ่น รวมถึงการต่อสู้เคลื่อนไหวทางการเมือง ที่สนุกครบรสทีเดียว "River of Exploding Durians" เริ่มต้นเรื่องราวในเมืองชายทะเล ซึ่งกำลังมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์-โรงงานถลุงแร่หายาก อย่างไรก็ตาม ครึ่งแรกของหนัง กลับเน้นหนักไปที่ประเด็นความรักของนักเรียนวัยรุ่นสองราย ได้แก่ "หมิง" และ "เหมย…

จิตร โพธิ์แก้ว : “บริบท” และ “ปัจจัยสำคัญ 3 ประการ” ของ “วงการหนังสั้นไทย” ในรอบ 15-20 ปี

คำกล่าวแนะนำหนังสั้นในโปรแกรม "ความปรารถนาของคุณจิตร" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 20 โดยจิตร โพธิ์แก้ว โปรแกรมนี้ก็เป็นเพราะคุณชลิดา (เอื้อบำรุงจิต - รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ และผู้จัดเทศกาลหนังสั้น) ขอให้เลือกหนังที่ผมอยากดูอีกรอบ ก็เลยเลือกหนังที่หายากหน่อย หนังทั้ง 7 เรื่องในโปรแกรมนี้เป็นหนังที่ผมเคยดูเมื่อประมาณ 15-20 ปีที่แล้ว แล้วก็ชอบมาก แล้วก็มันมีอะไรค้างคาใจ แล้วก็ส่วนใหญ่แล้ว ผู้กำกับหลายคนใน 7 เรื่องนี้ เป็นคนที่ผมไม่รู้จักเลย ผมก็เลยไม่สามารถขอหนังเขามาดูได้อีก แล้วมันก็เป็นหนังที่ทำก่อนยุคยูทูบด้วย คือผมก็ได้ดูครั้งเดียวเมื่อ 15-20 ปีก่อน…

หนังสั้น 20 สเปเชียล (1) : นิมิตลวง (พิมพกา โตวิระ)

นิมิตลวง (Prelude to the General) หนังสั้นของพิมพกา โตวิระ ซึ่งได้รับรางวัลจูรี่ ไพรซ์ ในสายการประกวดภาพยนตร์สั้น จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮ่องกงครั้งล่าสุด เพิ่งมีโอกาสได้ฉายที่เมืองไทย ในฐานะ "ซีเคร็ท ฟิล์ม" ของงานเปิดเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 20 หนังความยาวแค่ 11 นาที เรื่องนี้ มีเรื่องราวที่สลับซับซ้อนพอสมควร หนังเริ่มต้นด้วยการยืนเผชิญหน้ากันระหว่างผู้หญิงสองคน คนหนึ่ง อยู่ในวัยกลางคน อีกคน ยังอยู่ในวัยสาว ตัวละครผู้หญิงสาวพยายามสื่อสารกับอีกฝ่าย เพื่อเตือนให้ตระหนักถึงภัยร้ายแรงบางอย่าง ทว่า…