ข่าวบันเทิง เก็บความบทวิจารณ์แรก ที่เขียนถึง “มา ณ ที่นี้” ของ “ปราบดา” หลังเปิดตัว ณ เทศกาลโตเกียว 3 Nov 20173 Nov 2017 จบลงไปแล้ว สำหรับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2017 โดย "มา ณ ที่นี้" (Someone from Nowhere) ผลงานหนังยาวลำดับที่สองของ "ปราบดา หยุ่น" ซึ่งเป็นหนังไทยเรื่องเดียวที่ถูกคัดเลือกเข้าฉายในสายประกวดประจำปีนี้ ไม่ได้รับรางวัลใดๆ จากสาย "เอเชี่ยนฟิวเจอร์" อย่างไรก็ตาม เริ่มมีบทวิจารณ์ที่เขียนถึง "มา ณ ที่นี้" ออกมา และน้ำเสียงตอบรับนับว่าดีเลยทีเดียว ริชาร์ด ไคเปอร์ส แห่ง variety.com เขียนถึงภาพยนตร์ไทยเรื่องนี้เอาไว้ว่า หนังจัดวางตัวละครสองคน…
ข่าวบันเทิง คำอวยพร “เจ้ย” ต่อเทศกาลหนังโตเกียว: ว่าด้วยการแชร์ประสบการณ์และทำลายขีดจำกัด 12 Oct 201712 Oct 2017 เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียวได้เผยแพร่คลิปคำกล่าวอวยพรของ "อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล" นักทำหนังชาวไทย ที่มีต่อทางเทศกาล ซึ่งจะมีอายุครบรอบ 30 ปี ในปีนี้ https://www.youtube.com/watch?v=FZZP2V8jq3U&feature=youtu.be โดยคำกล่าวของอภิชาติพงศ์มีเนื้อหาว่า (ภาษาไทย) สวัสดีครับ ผมขอแสดงความยินดีกับวันเกิดปีที่ 30 ของโตเกียว อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิล์ม เฟสติวัล ครับ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับการเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 30 ปีของทางเทศกาล ผมอยากจะกระตุ้นผู้คน ทั้งในฝั่งคนดูหนังและฝั่งคนทำหนัง ให้ตั้งคำถามและพยายามที่จะทำลายเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ รวมถึงขอบเขตข้อจำกัดของการแสดงความคิดเห็น อย่างต่อเนื่อง เพราะสำหรับผม…
ข่าวบันเทิง หนังไทย-หนังอาเซียนน่าสนใจ ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2017 27 Sep 201727 Sep 2017 เวียนมาบรรจบอีกครั้งสำหรับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2017 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม-3 พฤศจิกายน 2560 ในปีนี้ มีหนังไทยถูกคัดเลือกไปฉายในเทศกาล 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ "มา ณ ที่นี้" หรือ "Someone from Nowhere" นี่คือหนังยาวลำดับที่สองของ "ปราบดา หยุ่น" ซึ่งจะได้เข้าประกวดในสาย "เอเชี่ยน ฟิวเจอร์" (ช่วงหลัง หนังที่ชนะเลิศการประกวดสายนี้ มักไปได้ดีในระดับนานาชาติทั้งสิ้น ตั้งแต่ "มหาสมุทรและสุสาน"…
คนมองหนัง ดู “หนังญี่ปุ่นร่วมสมัย” ในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว 2016 26 Dec 201631 Dec 2016 มติชนสุดสัปดาห์ 23-29 ธันวาคม 2559 บทความนี้จะเป็นชิ้นส่งท้ายของชุดงานเขียน ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วย "เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2016" โดยในชิ้นสุดท้ายจะขอกล่าวถึงภาพยนตร์ญี่ปุ่นร่วมสมัยสามเรื่อง ที่ผมมีโอกาสได้ชมในเทศกาลประจำปีนี้ ขอเริ่มต้นจากหนังที่ประทับใจน้อยที่สุดกันก่อน นั่นคือ "Snow Woman" ผลงานของนักแสดง-ผู้กำกับฯ หญิง "กิกิ ซูกิโนะ" หนังเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตำนาน "เจ้าหญิงหิมะ" ของญี่ปุ่น ผ่านเนื้อหา-โครงเรื่องที่ดูได้เพลินๆ แต่ก็ค่อนข้างราบเรียบและไม่มีอะไรแปลกใหม่ (ทั้งในแง่การตีความ รวมถึงงานด้านโปรดักชั่น) กล่าวอย่างง่ายๆ คือ หนังเรียบร้อยเกินไป และไม่กล้าแหวกจารีตเดิมๆ มากนัก…
คนมองหนัง ดู “หนังโลก” ในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว 6 Dec 20166 Dec 2016 (มติชนสุดสัปดาห์ 2-8 ธันวาคม 2559) สัปดาห์นี้ ขอย้อนกลับไปยังเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ครั้งที่ 29 อีกหนึ่งรอบ โดยจะเขียนเล่าถึง "ภาพยนตร์นานาชาติ" น่าสนใจ ที่ได้ดูจากเทศกาลในครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วยผลงานของคนทำหนังยุโรป 2 เรื่อง และผลงานของคนทำหนังชาวอิหร่านผู้ล่วงลับอีก 1 เรื่อง ขอเริ่มด้วยหนังตุรกีเรื่อง "Big Big World" ผลงานการกำกับฯ ของ "เรฮา เออร์เด็ม" หนังเล่าเรื่องราวของพี่ชายและน้องสาวฐานะยากจน ที่ต้องพลัดพรากจากกันหลังเป็นกำพร้า ฝั่งน้องสาวถูกรับไปเลี้ยงดูโดยครอบครัวคนชั้นกลาง…
ข่าวบันเทิง… โปรแกรมไดเร็คเตอร์เทศกาลโตเกียว อธิบาย ทำไมเลือกฉายหนังแปดชั่วโมงของลาฟ ดิแอซ 27 Oct 201627 Oct 2016 ไปฟังเหตุผลของ “โยชิฮิโกะ ยาตาเบะ” หรือ คุณโยชิ โปรแกรมไดเร็คเตอร์ที่ทำหน้าที่คัดเลือกภาพยนตร์ในสายการประกวดหลัก ประจำเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว และมีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือกหนังนานาชาติเข้ามาฉายในสาย World Focus ของเทศกาลด้วย ว่าทำไม เขาจึงเลือกหนังเรื่อง “A Lullaby to the Sorrowful Mystery” ของลาฟ ดิแอซ มาฉายในสาย World Focus ของเทศกาลประจำปีนี้ หมายเหตุ ก่อนหน้าบทสนทนาในคลิปไม่นาน คุณโยชิตอบคำถามสื่อมวลชนต่างชาติรายหนึ่งว่า ในฐานะโปรแกรมไดเร็คเตอร์ แกไม่สามารถเลือกหนังอาร์ตเฮาส์เข้ามาฉายในสายการประกวดหลักทั้ง…
ข่าวบันเทิง “หนังอาเซียน” ในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว 2016 2 Oct 20162 Oct 2016 "หนังอาเซียน" ในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว 2016 (มติชนสุดสัปดาห์ 23-29 กันยายน 2559) กลับมาอีกครั้ง สำหรับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียวครั้งที่ 29 ประจำปี 2016 โดยเมื่อปีที่แล้ว มีหนังไทยเดินทางไปร่วมประกวดในเทศกาลนี้ถึงสองเรื่อง ได้แก่ "สแน็ป แค่...ได้คิดถึง" ของ คงเดช จาตุรันต์รัศมี ที่เข้าฉายในสายการประกวดหลัก และ "มหาสมุทรและสุสาน" ของ พิมพกา โตวิระ ที่เข้าฉายในสายเอเชี่ยน ฟิวเจอร์ และได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำสายการประกวดดังกล่าวมาครอง คงต้องจับตาดูกันว่า…
คนมองหนัง เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2015 : พื้นที่ทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย 2 Jan 20162 Jan 2016 (มติชนสุดสัปดาห์ 27 พ.ย.-3 ธ.ค. 2558) ก่อนหน้าจะเดินทางไปร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว 2015 ผมตั้งคำถามเอาไว้ในใจเหมือนกัน ว่าเทศกาลภาพยนตร์แห่งนี้จะมีความแตกต่างจากเทศกาลภาพยนตร์อื่นๆ อย่างไร? จากประสบการณ์อันจำกัดจำเขี่ย ข้อดีเด่นชัดของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติส่วนใหญ่ ตามความเห็นของผม ก็ได้แก่ การเป็นแหล่งรวบรวมจัดฉายหนังแปลกใหม่จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งหาดูได้ไม่ง่ายนักในโรงภาพยนตร์เชิงพาณิชย์ทั่วไป เมื่อไปถึงเทศกาลภาพยนตร์โตเกียวจริงๆ ผมก็ได้พบถึง "ความแตกต่าง" บางอย่าง ซึ่งไม่เคยพบมาก่อนในเทศกาลหนัง 2-3 แห่ง ที่ตนเองเคยเข้าร่วมในฐานะคนดูธรรมดา ในการพบปะพูดคุยระหว่างประธานคัดเลือกหนังสายประกวดของเทศกาลภาพยนตร์โตเกียวกับสื่อมวลชนนานาชาติ มีนักข่าวคนหนึ่งเอ่ยถามขึ้นว่าอะไรคือความแตกต่างระหว่างเทศกาลหนังโตเกียวกับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซานของเกาหลีใต้ ที่ว่ากันว่าเป็น "เบอร์หนึ่งของเอเชีย" ยุคปัจจุบัน…
คนมองหนัง หนังญี่ปุ่น ในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว ไดอารี่ขาวดำ, แอนดรอยด์มีชีวิต, ประวัติจิตรกรเอก และผีแหกขนบ 9 Dec 2015 (มติชนสุดสัปดาห์ 13-19 พฤศจิกายน 2558) ระหว่างการร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ประจำปี 2015 ทางผู้จัดงานพยายามเชิญชวนให้สื่อมวลชนต่างชาติที่ได้รับเชิญมาร่วมงาน หาโอกาสเข้าชมภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่ถูกจัดฉายในเทศกาล โดยเฉพาะหนังญี่ปุ่นสามเรื่อง ซึ่งถูกคัดเลือกเข้าฉายในสายการประกวดหลัก ผมมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ทั้งสามเรื่องนั้น บวกกับหนังอีกหนึ่งเรื่องที่อยู่ในสายการประกวดสำหรับภาพยนตร์ญี่ปุ่นโดยเฉพาะ จึงอยากนำเกร็ดน่าสนใจ มาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ หนังเรื่องแรกที่ได้ชม คือ "7 Days" ผลงานการกำกับของ "ฮิโรบูมิ วาตานาเบะ" ซึ่งจัดเป็นหนังที่โดดเด่นมากเรื่องหนึ่ง ในบรรดาภาพยนตร์ราวสิบเรื่อง ที่ผมมีโอกาสได้ดูในเทศกาล แม้จะมิได้อยู่ในสายการประกวดหลักก็ตาม 7 Days เป็นภาพเคลื่อนไหวขาว-ดำ…