ปราบมารโดย “ไม่ฆ่า”: ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในตอนจบ “เทพสามฤดู” ฉบับล่าสุด

ขอเขียนถึง "เทพสามฤดู" เวอร์ชั่นล่าสุดเป็นการส่งท้าย โดยเน้นน้ำหนักไปที่ตอนอวสานเมื่อวันเสาร์ที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา ชะตากรรมอันน่าผิดหวังของ "มาตุลีเทพบุตร" ดังที่ผมเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ว่าใน "เทพสามฤดู 2546" บทบาทของตัวละครสมทบรายสำคัญอย่าง "มาตุลีเทพบุตร" ที่แสดงโดย "ท้าวดักแด้" นั้นค่อยๆ เฝดหายไป (อย่างไร้เหตุผล) ในช่วงท้าย ก่อนจะโผล่มานิดหน่อยตรงช่วงปลายของตอนอวสาน โดย "มาตุลีเทพบุตร" ได้ร่วมฉากตลกๆ เป็นกิมมิกเล็กๆ กับเจ้างั่ง กระหังป่า ("มาตุลี" บอกว่าตนเองมัวแต่หลงป่าอยู่ เลยหายตัวไปนาน…

ประเด็นน่าจับตาเกี่ยวกับ “เทพสามฤดู” หลังปี 2561

ก่อนอื่นก็ต้องขอสวัสดีปีใหม่ 2561 ด้วยภาพสวยๆ จากอินสตาแกรมสามเศียรกันก่อน เป็นลำดับแรกสุด https://www.instagram.com/p/BdWdE4BHtAm/?taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BdWdZlOHiQD/?taken-by=samsearn https://www.instagram.com/p/BdWdlgTHfqd/?taken-by=samsearn ทีนี้ มาพูดถึงประเด็นที่ต้องจับตาเกี่ยวกับละครจักรๆ วงศ์ๆ "เทพสามฤดู" หลังปี 2561 กันบ้าง ความนิยมล่าสุด เริ่มจากประเด็นแรก คือ เรตติ้ง น่าสนใจว่าระยะหลังๆ การเสาะหาสถิติเรตติ้งทางโทรทัศน์ของ "เทพสามฤดู" นั้นทำได้ยากมาก จากที่เมื่อก่อน มีผู้นำตัวเลขมาเผยแพร่ในเว็บไซต์พันทิป แต่ปัจจุบัน ข้อมูลส่วนดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกนำเสนอออกมา ส่วนเว็บไซต์เอจีบีนีลเซ่นก็เพิ่งอัพเดตข้อมูลเรตติ้งทีวีถึงช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2560 อย่างไรก็ดี…

2 ความเท่ห์ใน “เทพสามฤดู 60”: “อำมาตย์อาจอง” กักตัวฝึกพระเวทย์-“สามศรี” มี “สามร่าง”

"เทพสามฤดู 2560" ตอนที่ 41 ประจำวันเสาร์ที่ 18 พ.ย. 2560 นั้นมีเนื้อหาหรือรายละเอียดหลายจุดน่าสนใจมากๆ ครับ จุดแรก https://youtu.be/XLA50ZPV1wk?t=5m10s ดังที่เคยพูดถึงไว้แล้วว่า ดูเหมือนทางสามเศียรจะพยายามหาทางคลี่คลายปัญหาที่เกิดจากอาการเจ็บป่วยของนักแสดงอาวุโส "กิตติ ดัสกร" อย่างละเอียดลออพอสมควร เริ่มจากการเกลี่ยบทของ "อำมาตย์อาจอง" (ซึ่งแสดงโดยกิตติ) ไปให้ "หมื่นมิตร" ตัวละครที่เป็นลูกน้องคนสนิทของท่านอำมาตย์ อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ทางผู้กำกับ-ผู้เขียนบท ได้มีวิธีจัดการกับการหายตัวไปของ "อำมาตย์อาจอง"…

ไขที่มาชื่อ “สามศรี” – ตัวละครรายนี้ใน “นิทานวัดเกาะ” แตกต่างกับใน “ละครทีวี” อย่างไร?

กำเนิด "สามศรี" ในวรรณกรรมวัดเกาะ สำหรับคนที่ดูละครจักรๆ วงศ์ๆ "เทพสามฤดู" อย่างน้อยก็ในเวอร์ชั่น 2546 และ 2560 หนึ่งในคำถามสำคัญที่หลายคนอาจนึกคิดอยู่ในใจ ก็คือ ทำไม "สามศรี/สามสี" ต้องมีชื่อว่า "สามศรี/สามสี"? คำถามข้อนี้เหมือนจะไม่ถูกอธิบายเอาไว้ในละคร แต่เมื่อย้อนไปอ่าน "สามฤดู" ฉบับวรรณกรรมวัดเกาะ ก็จะพบสาเหตุเบื้องหลังอันกระจ่างชัดของนามดังกล่าว ในนิทานวัดเกาะ "สามศรี" เป็นบุตรของนางสุทัศน์ (ในละครเปลี่ยนชื่อเป็น "ทัศนีย์") หนึ่งในมเหสีของท้าวตรีภพ ที่ใส่ร้าย "ตัวละครสามฤดู" และแม่จนต้องถูกขับออกจากเมือง…

เรตติ้ง “เทพสามฤดู” แรงทะลุ 6 และอิทธิพลซีรีส์มหากาพย์อินเดียต่อจักรๆ วงศ์ๆ ไทย

เรตติ้ง "เทพสามฤดู" ทะลุ 6 แล้วจ้า!!! ตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา อินสตาแกรมของบริษัทสามเศียรได้รายงานผลการวัดเรตติ้งจำนวนผู้ชมละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่อง "เทพสามฤดู" ระหว่างวันที่ 15-16 กรกฎาคม ผลปรากฏว่าในวันเสาร์ที่ 15 ละครเรื่องนี้คว้าเรตติ้งไป 6.3 ขณะที่วันอาทิตย์ที่ 16 เรตติ้งลดลงมาเล็กน้อยเป็น 6.2 นี่ถือเป็นสัปดาห์ดีๆ ที่ "เทพสามฤดู 2560" มีเรตติ้งทะลุหลัก 6 เป็นครั้งแรก และเป็นสัปดาห์ที่ละครจักรๆ วงศ์ๆ…

ย้อนอ่าน A Day หน้าปกละครจักรๆ วงศ์ๆ สมัย “เทพสามฤดู 2546” กำลังพีค!

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 นิตยสาร A Day ฉบับที่ 42 เคยนำเสนอภาพหน้าปกในธีมละครจักรๆ วงศ์ๆ พร้อมคำโปรย "กาลครั้งนี้...สวรรค์มีเรื่องราว" อันสอดรับกับภาวะ "ดังระเบิด" ของละคร "เทพสามฤดู" เวอร์ชั่นปี 2546-47 ในนิตยสารดังกล่าว มีสกู๊ปหลัก พ่วงด้วยบทสัมภาษณ์สองชิ้นใหญ่ๆ ว่าด้วยละครจักรๆ วงศ์ๆ บล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำเสี้ยวเนื้อหาบางส่วนจากงานเหล่านั้นมานำเสนอเรียกน้ำย่อย ส่วนใครอยากอ่านฉบับเต็มๆ คงต้องไปตามหาแถวห้องสมุดหรือร้านหนังสือเก่ากันครับ ส่วนแรกที่ขอคัดลอกมาให้อ่านกัน คือบทสัมภาษณ์ "คำอาจารย์บอกเล่า" ซึ่ง "ทรงกลด…