“มหาอำมาตย์” ชื่อ “บรูซ เวย์น”

ในหนังสือของคุณ ทำไมคุณจึงกล่าวถึงหนังเรื่องแบทแมนภาคล่าสุด? ในโลกของการ์ตูน ใครก็ตามที่มีความคิดและจินตนาการ มักจะกลายเป็นตัวอันตราย นี่คือสารขั้นพื้นฐานที่สุดของหนังตระกูลซูเปอร์ฮีโร่ ตัวละครประเภทเดียวในภาพยนตร์แนวนี้ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์จริงๆ ก็คือ พวกตัวร้าย เพราะพวกเขาคือตัวละครกลุ่มเดียวที่มีวิสัยทัศน์ แต่นั่นก็เป็นเหตุผลให้ผู้คนชื่นชอบตัวละครเหล่านี้ พวกซูเปอร์ฮีโร่คือสิ่งมีชีวิตที่ไร้ซึ่งความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด เท่าที่เคยมีมา บรูซ เวย์น สามารถจะทำอะไรก็ได้ แต่สุดท้าย เขาก็เลือกจะไล่ปราบแต่พวกแกงสเตอร์ ทั้งๆ ที่เขาสามารถสร้างเมืองได้ทั้งเมืองจากภูเขา หรือสามารถแก้ไขปัญหาความอดอยากของผู้คนทั่วโลกได้ ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้ว บรูซก็ถือเป็น "มหาอำมาตย์" (super-bureaucrat)? ถูกต้องที่สุด เพราะเขามีส่วนสนับสนุนค้ำจุนอะไรบางอย่างที่มันห่วยแตกมาก แถมยังใช้ชีวิตอยู่ได้ผ่านการบริโภค…

ความหมายของ “หุ่นล้อการเมือง” ในวัฒนธรรมการประท้วงแบบ “ตะวันตก”

เผยแพร่ครั้งแรกใน "มติชนสุดสัปดาห์" ฉบับประจำวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เพิ่มเติมภาพประกอบและจัดเรียงย่อหน้าใหม่ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2563 เพื่อรำลึกถึงการจากไปของ "เดวิด เกรเบอร์" (ค.ศ.1961-2020) "หุ่นล้อการเมือง" ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งล่าสุด เพิ่งตกเป็นประเด็นข่าวที่ถูกพูดถึงกันอย่างเกรียวกราว ในฐานะของ "เครื่องมือ" (ร่วมกับป้ายผ้าและกิจกรรมแปรอักษร) ที่คนรุ่นใหม่ใช้ท้าทายอำนาจและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหาร บทความชิ้นนี้จะไม่ได้กล่าวถึง "หุ่นล้อการเมือง" ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่จะขออนุญาตพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ "ความหมาย"…