“พลอย” และ “ใจจำลอง” สองหนังไทยในเทศกาลเบอร์ลิน 2021

มีภาพยนตร์ไทยสองเรื่องได้รับคัดเลือกเข้าฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน 2021 เริ่มจาก “พลอย” ผลงานการกำกับ-เขียนเรื่อง-ถ่ายภาพโดย “ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์” และโปรดิวซ์โดย “ไกรวุฒิ จุลพงศธร” ที่ได้เข้าฉายในสาย Forum Expanded ภาพยนตร์สารคดีทดลองความยาว 51 นาทีเรื่องนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ “คนไกลบ้าน” ซึ่งมี “พัฒนา กิติอาษา” (นักมานุษยวิทยาไทยผู้ล่วงลับ) เป็นบรรณาธิการ “พลอย” ได้ตามรอยไดอารีของแรงงานต่างด้าวในสิงคโปร์ โดยร้อยเรียงปมประเด็นทางสังคมและศิลปะมากมายเข้าไว้ด้วยกัน https://www.youtube.com/watch?v=213qVaGfVPg ทั้งชีวิตของผู้ค้าบริการทางเพศชื่อ “พลอย” ซึ่งเคยทำงานใน…

ธงชัย วินิจจะกูล, ดาวคะนอง และ 6 ตุลา ที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคน

(หมายเหตุ แปลจากเนื้อหา 5 ย่อหน้าสุดท้าย ของหนังสือ Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok โดย ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล) สิ่งที่หลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือวิถีชีวิตปกติทั่วไปของคนไทย ซึ่งข้อเท็จจริง, เรื่องแต่ง, ความเพ้อฝัน, ความจริง, การสวมบทบาท และชีวิตจริง ได้หลอมรวมกันอยู่ในนั้น…

“อโนชา” เป็นตัวแทนคนทำหนังจากไทยในโปรเจ็คท์ “Mekong 2030”

เทศกาลภาพยนตร์หลวงพระบางประกาศจัดสร้างภาพยนตร์ “omnibus film” (หนังยาวที่ประกอบด้วยหนังสั้นหลายเรื่องในธีมเดียวกัน) ภายใต้ชื่อโปรเจ็คท์ว่า “Mekong 2030” ผลงานรวมหนังสั้นข้ามพรมแดนเรื่องนี้ จะมีเนื้อหาว่าด้วยการครุ่นคำนึงถึงอนาคตของแม่น้ำโขงและสภาพชุมชนริมฝั่งน้ำใน ค.ศ.2030 หรืออีกหนึ่งทศวรรษข้างหน้า นี่เป็นการใช้สื่อภาพยนตร์ส่องสะท้อนชะตากรรมของแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านประเทศจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับปัญหามลพิษและผลลัพธ์จากการก่อสร้างเขื่อนหลายแห่ง อันก่อให้เกิดวิวาทะข้อถกเถียงตามมา “Mekong 2030” จะประกอบด้วยหนังสั้นจำนวนห้าเรื่องจากลาว, กัมพูชา, เมียนมา, ไทย และเวียดนาม ในส่วนหนังสั้นไทยที่ชื่อ “The Line” นั้น…

“อโนชา สุวิชากรพงศ์” คนทำหนังไทยรายที่ 2 ผู้คว้ารางวัล Prince Claus จากรบ.เนเธอร์แลนด์

“อโนชา สุวิชากรพงศ์” นักทำหนังชาวไทย คือ หนึ่งในผู้ได้รับรางวัล Prince Claus Awards ประจำปี 2019 โดย Prince Claus Fund องค์กรที่จัดให้มีการมอบรางวัลดังกล่าว ได้บรรยายถึงผู้กำกับหญิงเก่งรายนี้ว่า "อโนชาเป็นนักทำหนังทดลองผู้ผลักเคลื่อนอาณาเขตทางสุนทรียศาสตร์, ระบบสัญลักษณ์ และรูปแบบของภาพยนตร์ เพื่อจะส่องสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และภาวะร่วมสมัยของสังคมไทย "ผลงานของอโนชานั้นมีตั้งแต่การเพ่งพินิจพิจารณาระบอบปิตาธิปไตยและการแสดงออกทางศิลปะใน 'เจ้านกกระจอก' (2009) มาจนถึงการสำรวจตรวจสอบความทรงจำและประวัติศาสตร์ใน 'ดาวคะนอง' (2016) "นอกจากนี้ ในปี 2017 เธอยังเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากงานประกาศรางวัลของสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติในประเทศไทย…

โครงการหนังยาวเรื่องใหม่ของ “อโนชา-เบน ริเวอร์ส” เปิดระดมทุนแบบ crowdfunding

“อโนชา สุวิชากรพงศ์” ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย เจ้าของผลงานอย่าง “เจ้านกกระจอก” และ “ดาวคะนอง” ประกาศรายละเอียดของโครงการหนังยาวเรื่องใหม่ ซึ่งเธอจะกำกับร่วมกับ “เบน ริเวอร์ส” ศิลปินและนักทำหนังชาวอังกฤษ โดยโปรเจ็คท์ดังกล่าวมีชื่อว่า “In the Holocene” ซึ่งจะเป็นหนังกึ่งสารคดีกึ่งเล่าเรื่อง ที่มุ่งสำรวจตรวจสอบภูมิทัศน์, สภาพการทำงาน และเรื่องราวของชุมชนในจังหวัดกระบี่ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้วางแผนจะถ่ายทำกันในปี 2019 https://vimeo.com/306863635 “In the Holocene” จะนำเสนอภาวะการปะทะกันอย่างน่าอึดอัดคับข้องระหว่างยุคก่อนประวัติศาสตร์, อดีตที่เพิ่งผ่านพ้น และโลกทุนนิยมร่วมสมัย ซึ่งปรากฏขึ้นในจังหวัดกระบี่…

คนทำหนังสตรีมีลุ้นออสการ์จากไทย-ลาว-สิงคโปร์ กับประเด็น “ผู้หญิง-ภาพยนตร์-มนุษย์”

ปีนี้ มีหนังนานาชาติถูกส่งเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม มากถึง 92 เรื่อง ที่สำคัญ หนังเหล่านั้นเป็นผลงานของผู้กำกับภาพยนตร์หญิงมากถึง 27 ราย เว็บไซต์วาไรตี้จึงได้ไปสนทนากับบรรดาคนทำหนังสตรีจากทวีปเอเชีย ซึ่งกำลังมีลุ้นในรางวัลสาขานี้ ผ่านคำถามสำคัญๆ จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้น คือ คำถามว่า "คุณอยากให้โลกรับรู้อะไรเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของคนทำหนังสตรี และอะไรคือสารที่คุณอยากจะสื่อออกไป?" บล็อกคนมองหนังคัดเลือกคำตอบของผู้กำกับภาพยนตร์หญิงสามราย ที่ผลงานลุ้นรางวัลออสการ์ของพวกเธอเคยเข้าฉายเชิงพาณิชย์ในบ้านเรา มาฝากกัน แม็ตตี้ โด (น้องฮัก - ตัวแทนจากประเทศลาว) "ถ้ามีอะไรที่ฉันอยากบอกให้โลกรับรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้กำกับหญิงจากลาว สิ่งนั้นก็คือความยากลำเค็ญสุดๆ จากหลากหลายเหตุผล…

ส่ง “ดาวคะนอง” เป็นตัวแทนไทยชิงรางวัลออสการ์ – ชมหนังปะหัวเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 21

สมาพันธ์ภาพยนตร์ฯ ส่ง "ดาวคะนอง" ชิงออสการ์ ครั้งที่ 90 สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 7 คน โดยมี นายนคร วีระประวัติ เป็นประธาน ในการพิจารณาหนังไทยเพื่อไปชิงรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 90 ในสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best Foreign Language Film Award) ผลการพิจารณาเป็นมติเอกฉันท์เลือก "ดาวคะนอง" เป็นตัวแทนหนังไทย "ในที่ประชุมมีรูปแบบการพิจารณาโดยให้กรรมการเสนอหนังไทยเพื่อพิจารณาและออกความเห็นเป็นรายคนจนครบทุกคน มีภาพยนตร์ที่เข้ารอบสุดท้าย 4 เรื่องได้แก่…

วงจรชีวิต 1 ปี ที่น่าทึ่งของ “ดาวคะนอง” 45 เทศกาล 31 ประเทศ หลายรางวัลระดับนานาชาติ

ผ่านมาหนึ่งปีแล้ว นับตั้งแต่หนังไทยเรื่อง "ดาวคะนอง" ของอโนชา สุวิชากรพงศ์ ได้ฉายรอบปฐมทัศน์โลก ที่เทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ล่าสุด เพจ ดาวคะนอง By the Time It Gets Dark ได้รวบรวมรายชื่อเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติทั้งหมด ที่ "ดาวคะนอง" ได้เข้าร่วมในช่วงหนึ่งปีดังกล่าว ซึ่งนับรวมได้ทั้งสิ้น 45 เทศกาล ใน 31 ประเทศ จะเป็นที่ไหนบ้าง? ไปดูกัน…

“ดาวคะนอง” ได้รางวัลที่จีน มี “เบลา ทาร์” เป็นประธานกรรมการตัดสิน

หลังกวาดรางวัลในเมืองไทยไปอย่างเป็นกอบเป็นกำ "ดาวคะนอง" ผลงานภาพยนตร์ของอโนชา สุวิชากรพงศ์ ยังได้โอกาสเดินสายตระเวนฉายและรับรางวัลจากเทศกาลหนังต่างประเทศโดยต่อเนื่อง ล่าสุด หนังไทยเรื่องนี้เพิ่งได้รับรางวัลเดอะ แกรนด์ จูรี่ ไพรซ์ จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเฟิร์สท์ ที่เมืองซีหนิง ประเทศจีน แม้อโนชา ผู้กำกับ จะไม่ได้เดินทางไปร่วมเทศกาลนี้ด้วยตนเอง แต่ก็มีหนึ่งในทีมงาน คือ หมิง ไค เหลียง ผู้กำกับภาพของหนังขึ้นไปรับรางวัลแทน ที่สำคัญ ผู้มอบรางวัลนี้ให้แก่หมิง ก็คือ เบลา ทาร์ คนทำหนังชาวฮังกาเรียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการตัดสินภาพยนตร์สายประกวดของเทศกาลดังกล่าวประจำปีนี้ ขอบคุณภาพและข่าวจากเพจ ดาวคะนอง…

จับตา “หนัง (จาก/เกี่ยวกับ) อาเซียน” ในเทศกาลคานส์ 2017

นอกจากในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ 2017 จะมีหนังเกี่ยวกับคุกไทยเรื่อง "A Prayer Before Dawn" ของผู้กำกับชาวฝรั่งเศส "Jean-Stéphane Sauvaire" เข้าฉายนอกสายการประกวดหลัก ในโปรแกรม "Midnight Screening" แล้ว (คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่) ยังมีหนังจาก (หรือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่น่าสนใจอีกจำนวนหนึ่งในเทศกาลคานส์ปีนี้ เริ่มต้นด้วย "The Venerable W." ผลงานภาพยนตร์สารคดีโดย "Barbet Schroeder" นักทำหนังอาวุโสเชื้อสายอิหร่านชาวสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจะได้ฉายนอกสายการประกวดในโปรแกรม "Special Screenings"…