คนมองหนัง “The English Game” : ฟุตบอลคือการประสานประโยชน์ทางชนชั้น 30 Mar 202030 Mar 2020 นี่คือซีรี่ส์เน็ตฟลิกซ์ว่าด้วยต้นกำเนิดของ “กีฬาฟุตบอลสมัยใหม่” ในสหราชอาณาจักร ที่เปลี่ยนผ่านจากการเป็น “เกมของลูกหลานผู้ดีในโรงเรียนประจำ” มาสู่การเป็น “กีฬา/ความบันเทิงของมหาชน-ชนชั้นแรงงาน” ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกบอกเล่าผ่านปฏิสัมพันธ์ฉันมิตรกึ่งศัตรู ระหว่าง “เฟอร์กัส ซูเทอร์” พ่อค้าแข้งชาวสกอตแลนด์ที่ย้ายมาเล่นฟุตบอลที่อังกฤษ ในฐานะ “นักเตะอาชีพ” รุ่นแรกๆ เพื่อเลี้ยงดูแม่และน้องๆ ซึ่งใช้ชีวิตยากลำบากที่กลาสโกว์ กับ “อาร์เธอร์ คินแนด” ทายาทตระกูลขุนนางเจ้าของธุรกิจธนาคาร ผู้เป็น “ดาวเตะ” ซึ่งแทบจะผูกขาดถ้วยเอฟเอคัพ ในยุคสมัยที่การเล่นฟุตบอลยังเป็นเพียงกีฬาสมัครเล่นของบรรดาผู้ดี แม้ “ชนชั้น” จะเป็นประเด็นหลักของซีรี่ส์เรื่องนี้ แต่โลกทัศน์ที่ “The…
คนตัดหญ้าในสนามบอล… “Three Lions” เส้นทางกลับบ้านอันยาวไกลและซับซ้อนของทีมชาติอังกฤษ 18 Jul 201820 Jul 2018 หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=RJqimlFcJsM การทะลุเข้าถึงรอบสี่ทีมสุดท้ายในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2018 ของทีมชาติอังกฤษ ส่งผลให้เพลงเชียร์อมตะนิรันดร์กาลอย่าง "Three Lions" ถูกนำมาขับขานโดยกว้างขวางอีกคำรบ แฟนบอลอังกฤษยุคร่วมสมัยหลายรายอาจทึกทักว่านี่คือเพลงที่มีชื่อว่า "Football’s coming home" ตามท่อนฮุกอันลือลั่น บางคนอาจนึกว่านี่เป็นเพลงเชียร์สามัญประจำบ้านของทีมชาติอังกฤษ ยามลงแข่งขันทัวร์นาเมนต์ใหญ่ มานานแสนนาน ทว่าในข้อเท็จจริง เพลงที่สะท้อนถึงอารมณ์ปลื้มปีติและความหวังครั้งใหม่ (ซึ่งเพิ่งแหลกสลายลง) ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 22 ปีก่อน สอง https://www.youtube.com/watch?v=oyoy2_7FegI ปี 1996 อังกฤษรับบทบาทเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป โดยทีมสิงโตคำรามสามารถผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ ก่อนจะแพ้เยอรมนีในการดวลจุดโทษ…
คนอ่านเพลง สถานีวิทยุบีบีซีเชฟฟิลด์ฉลอง 50 ปี ด้วย MV เพลง “Common People” เวอร์ชั่นท้องถิ่น 15 Dec 201715 Dec 2017 https://www.youtube.com/watch?v=diuFUjQyG-c สถานีวิทยุบีบีซีเชฟฟิลด์ได้เฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีแห่งการก่อตั้ง ด้วยการจัดทำมิวสิควิดีโอเวอร์ชั่นท้องถิ่นให้แก่เพลง "Common People" ผลงานฮิตตลอดกาลของคณะ Pulp ซึ่งถูกยกย่องเปรียบเปรยให้เป็นเพลงชาติของแคว้นเซาธ์ยอร์คเชียร์ โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มนักร้องประสานเสียงท้องถิ่น รวมถึงผู้คนในแถบนั้นอีกร่วม 300 ชีวิต แคทรินา บังเกอร์ บรรณาธิการบริหารของสถานีวิทยุบีบีซีเชฟฟิลด์บอกว่าเอ็มวีชิ้นนี้คือความพยายามที่จะประสานความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้คน และนำเสนอความรู้สึกภาคภูมิใจในท้องถิ่นออกมา "Pulp เป็นวงดนตรีจากเชฟฟิลด์ ส่วนเพลง Common People คือหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนย่านนี้มีความรู้สึกยึดโยงด้วย และข้อเท็จจริงที่ว่ามีคนหลายร้อยชีวิตได้ร่วมกันสร้างสรรค์มิวสิควิดีโอชิ้นนี้ขึ้นมา ก็แสดงให้เห็นถึงความคิดมวลรวมอันตกตะกอนจากจินตนาการร่วมของพวกเขาเหล่านั้นอย่างแท้จริง" บังเกอร์ แสดงความเห็น ด้านจาร์วิส ค็อคเกอร์…
คนตัดหญ้าในสนามบอล รู้จัก “ผู้ชายชายขอบ” ที่อยู่เบื้องหลัง “ความสำเร็จชายขอบ” ของทีมฟุตบอลหญิงอังกฤษ 16 Jul 2015 (ปรับปรุงจากต้นฉบับในมติชนสุดสัปดาห์ 10-16 กรกฎาคม 2558) นอกเหนือจากการโชว์ฟอร์มได้เกินความคาดหมายของแข้งสาวทีมชาติไทย, มาตรฐานคงเส้นคงวาระดับโลกของทีมญี่ปุ่น และผลงานอันยอดเยี่ยมของสหรัฐอเมริกา การแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก ค.ศ.2015 ที่แคนาดา ยังมีเรื่องราวน่าจดจำอีกหนึ่งเรื่อง นั่นคือ การคว้าอันดับสามของทีมชาติอังกฤษ ถือเป็นผลงานยอดเยี่ยมที่สุดของทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ หลังจากที่ทีมฟุตบอลชายเคยได้แชมป์โลกในปี ค.ศ.1966 และได้อันดับสี่ในฟุตบอลโลกปี ค.ศ.1990 ที่อิตาลี การแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก อาจถือเป็นทัวร์นาเมนต์เมเจอร์ระดับ "ชายขอบ" ในจักรวาลของเกมกีฬาลูกหนัง ที่เต็มไปด้วยซูเปอร์สตาร์ดัง ซึ่งเป็นนักเตะชาย อย่างไรก็ตาม ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในระดับ "ชายขอบ" ของทีมชาติฟุตบอลหญิงอังกฤษ กลับกลายเป็นชายหนุ่มวัยต้นสามสิบ…
คนอ่านเพลง Common People : หนึ่งในเพลงว่าด้วยความขัดแย้งทาง “ชนชั้น” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล 25 Jan 201526 Apr 2020 ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ 18-24 เมษายน 2557 หมายเหตุ ในบทความ ผมจะใช้คำว่าสหราชอาณาจักรและอังกฤษสลับกันไปนะครับ โดยที่ "อังกฤษ" ในบทความชิ้นนี้ไม่ได้หมายถึงประเทศหนึ่งในสหราชอาณาจักร แต่หมายถึง "สังคมบริเตน" โดยรวมมากกว่า (ที่ผมเลือกใช้คำว่า "อังกฤษ" อย่างผิดที่ผิดทางเล็กน้อย เพราะเห็นว่า จากการสำรวจงานเขียนทั่วๆ ไป ในไทย ยังไม่ค่อยมีคนใช้พวกคำว่า "บริติช" หรือ "บริเตน" กันแพร่หลายมากนัก) ----- "NME" นิตยสารดนตรีเล่มสำคัญของสหราชอาณาจักร ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา…