ย้อนรำลึกอภิมหาโปรเจ็กต์ภาพยนตร์ “เพชรพระอุมา” ของ “ท่านมุ้ย”

ท่ามกลางบรรยากาศไว้อาลัยต่อการจากไปของ “พนมเทียน” นักประพันธ์ผู้สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมชุด “เพชรพระอุมา” บล็อกคนมองหนังขออนุญาตรำลึกถึง “เพชรพระอุมา” ในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งมีความข้องเกี่ยวกับวงการภาพยนตร์ไทย ก่อนหน้านี้ นิยายเรื่อง “เพชรพระอุมา” เคยได้รับการดัดแปลงเป็นหนังไทยอยู่หนึ่งครั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 โดยมี “ส.อาสนจินดา” เป็นผู้กำกับ อย่างไรก็ตาม เมื่อสิบกว่าปีก่อน “ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล” หรือ “ท่านมุ้ย” ได้ริเริ่มโปรเจ็กต์ภาพยนตร์เรื่อง “เพชรพระอุมา” ขึ้นมา (ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการถ่ายทำ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”) ระหว่างนั้น “ท่านมุ้ย”…

หนัง-เพลงที่ชอบ ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ทึ่ง ในปี 2019

หนังต่างประเทศที่ชอบ Parasite นี่คือหนังที่ครบรสดี มีทั้งรสชาติความเป็นละครหลังข่าว มีสารหลักคือประเด็นเรื่องความแตกต่าง-ขัดแย้งทางชนชั้น ซึ่งถูกนำเสนอผ่านมิติทางด้านสัญลักษณ์, พื้นที่ และสถาปัตยกรรม อย่างเข้มข้น แพรวพราว และสนุก คลิกอ่าน สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต” Midsommar นี่คือหนังที่มีฉากหน้าเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ แต่พอตัวละครนำของเรื่องเป็นนักเรียนมานุษยวิทยา ซึ่งเข้าไปท่องเที่ยว/ศึกษาเทศกาล/พิธีกรรมของชุมชนแห่งหนึ่งในสแกนดิเนเวีย สถานภาพอีกด้านของหนังเรื่องนี้จึงเป็น “ภาพยนตร์ทางมานุษยวิทยา” (ซึ่งชวนถกเถียงในประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดเทศกาล-พิธีกรรม-ตำนานปรัมปรา) อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ น่าแปลกใจว่าทำไมนักมานุษยวิทยา/นักเรียนมานุษยวิทยาที่เมืองไทยถึงไม่ค่อยพูดถึงหนังเรื่องนี้กัน? คลิกอ่าน Midsommar: “เทศกาล” ในอุดมคติ? ของนัก (เรียน)…

4 หนังที่นึกถึง ก่อนเลือกตั้ง 24 มีนา

หลายวันก่อน เห็น The Matter ทำสกู๊ป “ก่อนเลือกตั้งดูอะไร หนังเรื่องไหนที่คนในแวดวงหนังไทยชวนดู” เลยลองมานั่งทำลิสต์เล่นๆ ดูบ้างว่า ถ้าให้คิดอย่างไวๆ มีหนังเรื่องไหนที่ตัวเองนึกถึงก่อนหน้าการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ October Sonata รักที่รอคอย เหตุผลที่นึกถึงหนังไทยอันยอดเยี่ยมเรื่องนี้ ก็เพราะผลงานของ “สมเกียรติ์ วิทุรานิช” ได้เน้นย้ำให้เราตระหนักว่าการต่อสู้ทางอุดมการณ์การเมืองนั้นเป็นการต่อสู้ในทางยาว ไม่จบสิ้นลงง่ายๆ และเราอาจไม่ได้มองเห็นหรือลิ้มรสความสำเร็จของมันในชั่วชีวิตของตนเอง แม้จะน่าท้อถอยเหนื่อยหน่าย แต่ในทางกลับกัน การท่องไปบนเส้นทางการต่อสู้อันยาวไกลดังกล่าวก็ต้องอาศัยความอดทน (ที่จะรอคอย)…

เดวิด โครเนนเบิร์ก: ซีรีส์เน็ตฟลิกซ์ = นวนิยาย, หนังฉายโรง = เรื่องสั้น

"ผมเริ่มที่จะคิดว่า บางที สื่อภาพยนตร์ที่เทียบเท่าได้กับงานเขียน 'นวนิยาย' คือ 'ซีรีส์เน็ตฟลิกซ์' ซึ่งอาจจะดำเนินเรื่องติดต่อกันยาวนาน 5 ปี หรือ 7 ปี "จริงๆ แล้ว ซีรีส์เหล่านี้คือศิลปะชนิดใหม่ ที่ไม่เหมือนกับซีรีส์โทรทัศน์ยุคเก่า ผมได้ดูซีรีส์เน็ตฟลิกซ์บางเรื่อง ซึ่งผมคิดว่ามันมีคุณภาพยอดเยี่ยมทีเดียว อย่างเช่น Babylon Berlin ของทอม ทีคแวร์ งานประเภทนี้มีทั้งความมหัศจรรย์และความคล้ายคลึงกับนวนิยาย "ผมคิดว่าบางที 'ภาพยนตร์ฉายโรง' อย่างที่พวกเรารู้จักกัน น่าจะเปรียบได้กับการเขียน 'เรื่องสั้น' แต่ถ้าคุณต้องการเขียนนวนิยาย…

“จุดเปลี่ยน” ของภาพยนตร์ในมุมมอง “อภิชาติพงศ์”

“แน่นอน ผมสร้างหนังเพื่อออกฉายในพื้นที่ดังกล่าว (โรงภาพยนตร์) “หลายครั้ง ผมมักรู้สึกว่าดีวีดีหรืออะไรก็ตามที่คล้ายคลึงกัน นั้นไม่ใช่หนังสำหรับผม ผมเป็นคนรุ่นเก่า พวกเรายังคงผูกผันกับการดูหนัง ในฐานะที่มันเป็นประสบการณ์รวมหมู่ “และไม่ใช่แค่ในแง่มุมของผู้ชม เพราะเมื่อเรามาเป็นคนทำหนัง เราก็มักเพิ่มเกรนหรือแก้สีเพื่อให้งานภาพของตัวเองมีลักษณะเหมือนถูกถ่ายด้วยฟิล์ม “แต่คนรุ่นใหม่จำนวนมากเขาไม่ได้สนใจเรื่องพวกนี้อีกแล้ว นี่คือจุดเปลี่ยนของภาพยนตร์ เราทำได้แค่ยอมรับมัน และครุ่นคิดจินตนาการถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมา” อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยสนทนากับ เจสสิก้า เกียง ที่มาเนื้อหา The Thai director who shows the future of…

SLEEPCINEMAHOTEL “โรงแรมแห่งภาพยนตร์” ของอภิชาติพงศ์ ที่ “รอตเตอร์ดัม”

"อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล" ผู้กำกับรางวัลปาล์มทองคำชาวไทย กำลังมีโปรเจ็คท์ใหม่ชื่อ "SLEEPCINEMAHOTEL" ในเทศกาลภาพยนตร์รอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยจะเป็นการนำเอาจอภาพยนตร์มาติดตั้งรายล้อมผู้ชม ณ สถานที่ซึ่งถูกจัดสร้างขึ้นเป็นโรงแรมชั่วคราว (ดัดแปลงจากศูนย์การประชุมแห่งหนึ่ง) โปรเจ็คท์โรงแรมชั่วคราวดังกล่าวจะเปิดทำการระหว่างวันที่ 25-30 มกราคมนี้ โดยมีเตียงเดี่ยวและเตียงสองชั้นให้ผู้เข้าพักใช้บริการ พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ห้องอาบน้ำและอาหารเช้า ขณะที่ภาพเคลื่อนไหวในจอรูปทรงวงกลม ซึ่งจะช่วยขับกล่อมแขกๆ ก่อนเข้านอน ก็จะถูกติดตั้งอยู่ ณ พื้นที่แห่งเดียวกัน  และมีการแพร่ภาพตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับภาพเคลื่อนไหวที่จะนำมาจัดแสดงนั้น อภิชาติพงศ์ได้รับความร่วมมือจากพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ "อาย"…

รู้จัก Cultural Anthropologist (นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม?) ในกองถ่าย Call Me by Your Name

สำหรับบางคนที่ได้ดูหนังเรื่อง Call Me by Your Name แล้ว คงพอสังเกตเห็นว่าในตอนจบนั้น มีการขึ้นเครดิตว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ มี Cultural Anthropologist ประจำกองถ่ายด้วย อย่างไรก็ดี "Cultural Anthropologist" ประจำกองถ่ายหนังเรื่อง Call Me By Your Name อาจมิได้หมายถึงนักวิชาการทางด้าน "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" แบบตรงตัวซะทีเดียว เพราะผู้ที่มาทำหน้าที่ดังกล่าว ก็คือ "คาร์โล อันโตเนลลี่" เท่าที่ลองเสิร์ชหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต…

วิธีเสพ “ภาพยนตร์สังคมเก่า” ของสมาชิกกองทัพประชาชนในเขตป่าเทือกเขาบรรทัด

ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ แต่กระนั้น คุณกมลเป็นคนที่พิเศษคนหนึ่งในหมู่พวกเราทีเดียว เพราะเราเพิ่งทราบว่า การมีคุณกมลทำให้เรามีภาพยนตร์สังคมเก่าฉายบนกองทัพได้ โดยเฉพาะภาพยนตร์ฝรั่งไม่ว่าเรื่องอะไร พยัคฆ์ร้าย 007, สปาตาร์คัส, พิภพวานร, ขุมทองแมคเคนน่า, เจ็ดคู่ชู้ชื่น, บุษบาริมทาง เป็นต้น คุณกมลเล่าเรื่องได้หมด พร้อมทั้งอธิบายผู้แสดงและภูมิหลังของเรื่องได้เสร็จ เราจึงเรียกกันเล่นว่าๆ 'กมลเธียเตอร์' ดังนั้น เมื่อเวลาสหายเหงาก็สามารถใช้ "บริการกมลเธียเตอร์" ได้ โดยเฉพาะคุณแก้ว คุณกาย คุณอรุณ ได้ใช้บริการอยู่เสมอ แต่จุดอ่อนของ 'กมลเธียเตอร์' อยู่ที่หนังจีนกำลังภายใน…

คนมองหนัง: ว่าด้วย “หนัง” และ “เพลง” ที่ชอบในปี 2559/2016

หนังไทยที่ชอบ 1. ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์) คลิกอ่านบทความเกี่ยวข้องได้ที่นี่ ข้อสังเกตสั้นๆ หลังได้ชมหนังเรื่อง “ดาวคะนอง” รวมสกู๊ป-งานเขียนเกี่ยวกับ “ดาวคะนอง” จากมติชนสุดสัปดาห์ สองฉบับล่าสุด ข้อสังเกตเพิ่มเติมถึง “ดาวคะนอง” (หลังดูรอบสอง): เห็ด รา และ “ประวัติศาสตร์” แบบใหม่ๆ 2. มหาสมุทรและสุสาน (พิมพกา โตวิระ) คลิกอ่านบทความเกี่ยวข้องได้ที่นี่ (จริงๆ ชอบ “ดาวคะนอง” และ…

Gebo and the Shadow : โศกนาฏกรรมของชีวิต

มติชนสุดสัปดาห์ 31 ก.ค.-6 ส.ค. 2558 "Gebo and the Shadow" เป็นผลงานหนังยาวเรื่องสุดท้ายของ "มาโนเอล เดอ โอลิเวียร่า" ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวโปรตุเกส ที่เพิ่งลาโลกไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในวัย 106 ปี "เกโบฯ" เป็นผลงานที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2012 ขณะคุณปู่ เดอ โอลิเวียร่า มีอายุ 103 ปี หนังเล่าเรื่องราวที่มีฉากหลังเป็นสังคมโปรตุเกสยุคปลายศตวรรษที่ 19 ของ…