คนมองหนัง 5 ประเด็นว่าด้วย “Reply 1988” 13 May 202015 May 2020 หนึ่ง ด้านหนึ่ง รู้สึกว่า “Reply 1988” นั้นแชร์ประเด็นทางสังคมหนักๆ ร่วมกับหนังเกาหลีร่วมสมัยบางเรื่อง (อาจจะโดยไม่ได้ตั้งใจ) เช่น การอาศัยอยู่ใน “บ้านชั้นใต้ดิน” ของหนึ่งในครอบครัวตัวละครหลัก ก็คล้ายคลึงกับชะตากรรมของตัวละครกลุ่มหนึ่งใน “Parasite” หรือจะมีตัวละครสมทบรายหนึ่ง ซึ่งตลอดทั้งเรื่อง คนดูน่าจะประเมินว่าเธอทำหน้าที่ “แม่-เมีย” ได้ไม่สมบูรณ์นัก ก่อนที่เธอจะเริ่มมีตัวตนมากขึ้นในช่วงท้ายๆ และบทพูดหนึ่งที่น่าประทับใจ ก็คือ เธออยากเป็นตัวของเธอเอง (ให้คนอื่นๆ เรียกชื่อของเธอ) มากกว่าจะถูกเพื่อนบ้านเรียกขานว่าเป็น “แม่ของ...” ประเด็นนี้ชวนให้นึกถึง “Kim Ji-young,…
ข่าวบันเทิง “ชารอน ชเว” ล่ามภาษาอังกฤษ ผู้เป็นอีกหนึ่ง “เบื้องหลัง/หน้า” ความสำเร็จของหนัง “Parasite” 23 Jan 202023 Jan 2020 https://www.youtube.com/watch?v=5iVdd39ovuc เมื่อฤดูกาลประกาศผลรางวัลทางภาพยนตร์ประจำปี 2019 ในฝั่งอเมริกา กำลังงวดเข้าสู่จุดไคลแมกซ์ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในหนังที่ถูกแสงสปอตไลท์จับ ก็คือ “Parasite” จากเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มากถึง 6 สาขา ไม่ใช่เพียงผู้กำกับอย่าง “บงจุนโฮ” และทีมงานนักแสดงของ “Parasite” จะได้รับการจับตามองจากสื่อสหรัฐเท่านั้น ทว่าอีกคนที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่แพ้กัน ก็คือ “ชารอน ชเว” ผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามภาษาอังกฤษข้างกาย “บงจุนโฮ” ชารอนเริ่มต้นทำงานเคียงคู่กับผู้กำกับหนังเรื่อง “Parasite” ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว เมื่อหนังเรื่องนี้คว้ารางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ เดิมที “ชารอน…
คนมองหนัง รีวิว Kim Ji-young: Born 1982, Dracula และ มือปืน/โลก/พระ/จัน 2 16 Jan 202016 Jan 2020 Kim Ji-young: Born 1982 หาก “บงจุนโฮ” บอกว่า “Parasite” คือส่วนต่อขยายของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลีอันยาวนาน เรื่องราวของ “Kim Ji-young: Born 1982” ก็คงเป็นส่วนต่อขยายของสื่อบันเทิงเกาหลีร่วมสมัย (โดยเฉพาะซีรีส์) ที่มีแนวโน้มจะครุ่นคิดถึงประเด็นความกดดันของลูกผู้หญิง, ขบวนการ Me Too และสายสัมพันธ์ตึงเครียดในสถาบันครอบครัว อย่างหนักแน่นจริงจัง หนังเรื่องนี้พาเราเข้าไปไตร่ตรองสะท้อนคิดถึงประสบการณ์/บาดแผลร่วมของสตรีจำนวนมาก ตลอดจนอาการป่วยไข้ของสังคมเกาหลีในภาพรวม ที่สำแดงผ่านอาการป่วยไข้ทางใจของปัจเจกบุคคล/ตัวละครนำชื่อ “คิมจียอง” เอาเข้าจริง “คิมจียอง” จึง “ถูกสิง”…
ในน้ำเน่ามีเงาจันทร์ บงจุนโฮ: “Parasite” คือส่วนต่อขยายของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลี 15 Jan 202015 Jan 2020 “Parasite” ไม่ใช่ภาพยนตร์ซึ่งไร้ที่มา วงการภาพยนตร์เกาหลีมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และ “Parasite” ก็ถือเป็นความสืบเนื่องต่อจากหนังเกาหลีเรื่องอื่นๆ ที่ถูกผลิตขึ้นมาก่อนหน้า หนังเรื่องนี้คือส่วนต่อขยายในประวัติศาสตร์ของพวกเรา นี่ไม่ใช่ครั้งแรกสุดที่วงการภาพยนตร์เกาหลีพุ่งผงาดขึ้นมาได้ในลักษณะนี้ หนังเรื่อง “The Handmaiden” ของ “ปักชานวุก” เคยได้รับรางวัลบาฟต้ามาแล้ว ขณะที่เมื่อปีก่อน “Burning” (โดย “อีชางดง”) ก็มีรายชื่อผ่านเข้าสู่รอบชอร์ตลิสต์ (หนัง 9 เรื่องที่มีโอกาสเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม -ชื่อ ณ ขณะนั้น- บนเวทีออสการ์ แต่ไม่สามารถผ่านเข้ารอบ 5 เรื่องสุดท้ายได้สำเร็จ)…
คนมองหนัง สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต” 6 Aug 201910 Aug 2019 “ชนชั้นปรสิต” และเรื่องอื่นๆ ระหว่างและหลังดู “Parasite” จะคิดถึงงานเขียนและหนัง-ซีรี่ส์จำนวนหนึ่ง เริ่มต้นด้วยการนึกถึงเรื่องสั้นแนวสยองขวัญ “เก้าอี้พิศวาส” ของ “เอโดงาวะ รัมโป” แต่นักเขียนสตรีฐานะดีในเรื่องสั้นดังกล่าวยังตระหนักรู้ถึงการแทรกซึมเข้ามาของ “ชายแปลกหน้า” (หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ได้รับรู้ความคิดจิตใจของเขา) ผิดกับคนรวย-ชนชั้นสูงในหนังเกาหลีเรื่องนี้ ที่ “ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย” ขณะเดียวกัน ก็นึกถึงบทกวีชิ้น “ใหญ่” และ “ยาว” ของ “ไม้หนึ่ง ก. กุนที” ผู้ล่วงลับ เริ่มต้นด้วยเนื้อความที่ไม้หนึ่งเขียนว่า “เสรีชนแพร่ลามเหมือนแบคทีเรีย แทะนรกสวรรค์แบ่งดีชั่ว...”…
คนมองหนัง Burning: ว่าด้วยการ “มี/ไม่มี” และ “จินตนาการ/ปฏิบัติการ” 29 Jul 201829 Jul 2018 https://www.facebook.com/DocumentaryClubTH/videos/1598340833610403/ (เปิดเผยเนื้อหา เหมาะสำหรับผู้ชมภาพยนตร์แล้ว) มี/ไม่มี: จินตนาการ/ปฏิบัติการ แน่นอน ใครที่ดูหนังมาเรียบร้อยแล้ว คงตระหนักได้ว่าประเด็นหลักอันเป็นจุดใหญ่ใจความของ “Burning” คือ ข้อถกเถียงเรื่อง “การมีอยู่” หรือ “การไม่มีอยู่” ของสิ่งของ/ผู้คนต่างๆ ขณะเดียวกัน “การมีอยู่” และ “การไม่มีอยู่” ก็มิได้ดำรงอยู่โดยแยกขาดจากกัน หากมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างซับซ้อน สิ่งที่ “ไม่มี” อยู่จริง อาจปรากฏว่า “มีขึ้น” ในจินตนาการความคิดฝันได้ หากเรา “ลืม” ว่ามัน…