พาไปสัมผัส “พระราหู” เวอร์ชั่นอ่อนแอ ใน “สามฤดู” ฉบับวัดเกาะ

"พระราหู" เวอร์ชั่นอ่อนแอเพราะรักเธอมากกว่า "จะกล่าวถึงราหูภูวนราถ เมื่อไสยาศน์ลืมองค์หลงหลับใหล ครั้งรุ่งแจ้งสร่างแสงอะโณไทย เธอค่อยได้กลับจิตร์ฟื้นนิทรา ผวาสอดกอดเจ้าเยาวเรศ ผิดสังเกตไม่ยลยอดเสน่หา พัดระฆังข้างที่ศรีไสยา ก็เปล่าตาไม่เห็นให้เย็นทรวง โอ้ตัวเราคราวนี้ก็มีทุกข์ บังเกิดยุคยากไร้เปนใหญ่หลวง เสียเจ้ายอดกัลยาสุดาดวง ดังใครล้วงเอาชีวาตมาฟาดฟัน พัดชีวากับระฆังดังชีวิต ก็มาปลิดจากอุราเพียงอาสัญ โอ้ครั้งนี้น่าที่ถึงชีวัน เสียสำคัญของรักภักคินี ให้แค้นจิตร์เกิดเปนชายเสียดายชาติ์ มาพลั้งพลาดสาระพัดจะบัดสี ต้องเสียชื่อฦาทั่วธรณี มาเสียทีเสียน้องในห้องนอน เสียของรักรักษาไว้หาได้ อยู่ไปใยอายชนให้คนข้อน พระทุ่มทอดกายาลงอาวรณ์ ฤไทยถอนซ้อนซบสลบไป" https://www.instagram.com/p/BY-wUDKHAoO/?taken-by=samsearn ตัดตอนคำกลอนส่วนนี้มาจากวรรณกรรมวัดเกาะ "สามฤดู" เล่มที่…

ไขที่มาชื่อ “สามศรี” – ตัวละครรายนี้ใน “นิทานวัดเกาะ” แตกต่างกับใน “ละครทีวี” อย่างไร?

กำเนิด "สามศรี" ในวรรณกรรมวัดเกาะ สำหรับคนที่ดูละครจักรๆ วงศ์ๆ "เทพสามฤดู" อย่างน้อยก็ในเวอร์ชั่น 2546 และ 2560 หนึ่งในคำถามสำคัญที่หลายคนอาจนึกคิดอยู่ในใจ ก็คือ ทำไม "สามศรี/สามสี" ต้องมีชื่อว่า "สามศรี/สามสี"? คำถามข้อนี้เหมือนจะไม่ถูกอธิบายเอาไว้ในละคร แต่เมื่อย้อนไปอ่าน "สามฤดู" ฉบับวรรณกรรมวัดเกาะ ก็จะพบสาเหตุเบื้องหลังอันกระจ่างชัดของนามดังกล่าว ในนิทานวัดเกาะ "สามศรี" เป็นบุตรของนางสุทัศน์ (ในละครเปลี่ยนชื่อเป็น "ทัศนีย์") หนึ่งในมเหสีของท้าวตรีภพ ที่ใส่ร้าย "ตัวละครสามฤดู" และแม่จนต้องถูกขับออกจากเมือง…

“กระหัง”: จากข่าวแปลกที่ “บุรีรัมย์” ย้อนไปยัง “ไอ้งั่ง เทพสามฤดู” และ “นิทานวัดเกาะ”

(ที่มา “ผีกระหัง” : จากข่าวแปลกที่ “บุรีรัมย์” ย้อนไปยัง “ไอ้งั่ง” ใน “เทพสามฤดู” และ “นิทานวัดเกาะ” มติชนสุดสัปดาห์ 21-27 กรกฎาคม 2560) เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน หลายสำนักข่าว ทั้งสิ่งพิมพ์ ทีวี และออนไลน์ ต่างเล่นข่าวชาวบ้านหนองเสม็ด อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ พบคน/สิ่งของปริศนาบินผ่านยอดไม้ยามค่ำคืน โดยชาวบ้านจำนวนมากเชื่อกันว่าคน/สิ่งของดังกล่าวคือ "ผีกระหัง" พ้นไปจากการรายงานข่าวเชิงปรากฏการณ์ "แปลกๆ" เกี่ยวกับความเชื่อว่ามี "ผีกระหัง"…