เขียนถึง “หนังสั้น 21” เท่าที่ได้ดู (2)

ย้ายรัง (ติณห์นวัช จันทร์คล้อย) ในแง่ "ความเป็นหนัง" แบบ "เพียวๆ" หนังสารคดีเรื่องนี้อาจไม่โดดเด่นทรงพลังมากนัก แต่ผมชอบสิ่งที่ "ย้ายรัง" พยายามนำเสนอ นั่นคือ การฉายภาพให้เห็นถึง "กระบวนการแทบทุกส่วน" ของการทำหนังสารคดี เพื่อตอบโจทย์ทางสังคมและโจทย์ขององค์กรที่มอบเงินทุนสนับสนุน หากพิจารณาลงลึกไปในแต่ละเสี้ยวส่วน "ย้ายรัง" อาจไม่ได้มีอะไรใหม่หรือเตะตาแบบสุดๆ เช่น การเผยให้เห็นตัวตน-วิธีคิดของคนทำหนัง/กิจกรรมเพื่อสังคม หรือ การให้บรรดาซับเจ็คท์ในหนังได้มีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เรื่องราว ก็มีหนังสารคดีเรื่องอื่นทำกันมาจนเกร่อแล้ว หรือเอาเข้าจริง ในตอนจบที่ฉายให้เห็นผลลัพธ์ของโครงการพัฒนาที่หนังสารคดีเรื่องนี้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ออกจะดู "แปลกๆ" และ "ผิดที่ผิดทาง"…

เขียนถึง “หนังสั้น 21” เท่าที่ได้ดู (1)

"Bangkok Dystopia" (ปฏิพล ทีฆายุวัฒน์) หนังเล่าเรื่องราวในค่ำคืน/เช้ามืดที่มีการประกาศกฎอัยการศึก ก่อนเกิดรัฐประหารปี 2557 จุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อมีผู้โดยสารสองรายถูกเชิญ (ไล่) ลงจากรถเมล์ เนื่องจากการประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้รถเมล์สายนี้ไม่สามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางที่เขาและเธอต้องการได้ทัน ผู้โดยสารคนแรกเป็นหญิงสาวผิวเข้มตาคม อายุน่าจะราวๆ 20 ต้นๆ หรือใกล้ 20 เธอมีบุคลิก การแต่งกาย และสีหน้าแววตาที่ช่ำชองและกร้านโลกพอสมควร พอลงจากรถเมล์ หญิงสาวพยายามโทรศัพท์เรียกให้แฟนขี่มอเตอร์ไซค์มารับ แต่เสียงจากปลายสายคล้ายจะปฏิเสธ ผู้โดยสารคนที่สองเป็นเด็กหนุ่มที่น่าจะเพิ่งเริ่มเรียน ม.ปลาย เขามีแววตาใสซื่อบริสุทธิ์ จนคล้ายจะมีคำถามและความสงสัยใคร่รู้ต่างๆ ผุดพรายออกมาจากดวงตาคู่นั้น เด็กหนุ่มบอกว่าเพิ่งเขาไปติววาดรูปช่วงเย็น และพอเลิกเรียนก็ยังไม่อยากกลับบ้าน…