บันทึกถึง “One Cut of the Dead”

https://www.youtube.com/watch?v=3i3Ny4mn-bU เบื้องต้นเลย คือ หนังงดงามและสนุกมากๆ ทีนี้มาว่ากันถึงประเด็นน่าสนใจในหนังเป็นข้อๆ ไป หนึ่ง ไม่แปลกใจถ้าจะมีการนำหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้มาวางคู่กับ “เณรกระโดดกำแพง” ในฐานะ “หนังพี่น้อง” ที่บอกกล่าวเล่าระบายถึงภาวะดิ้นรนของคนทำหนังตัวเล็กๆ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักที่หนังทั้งสองเรื่องแชร์ร่วมกัน กลับถูกถ่ายทอดออกมาด้วยมุมมองและกลวิธีที่คล้ายจะแตกต่างกัน สอง ขณะที่ “เณรกระโดดกำแพง” พูดถึงชีวิต ความฝัน ความทุกข์ของคนทำหนังอินดี้นอกระบบอุตสาหกรรม “One Cut of the Dead” กลับเล่าถึงความสุข ความปรารถนาของคนทำหนังในระบบอุตสาหกรรม ที่รับงานหลากหลายจิปาถะ และยอมเรียกร้องงบประมาณจากนายทุน/เจ้าของเงินในราคาไม่สูงนัก…

Shoplifters: ทางเลือกที่ 3 จากปัญหา “ครอบครัว” 2 แบบ และ “ดอกไม้ไฟ” ที่มองไม่เห็น

พื้นที่ตรงกลาง? ระหว่าง “สายเลือด” กับ “สายใยสังคม” ชอบท่าทีและประเด็นหลักของหนัง ซึ่งด้านหนึ่ง “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” กำลังพยายามตั้งคำถามกับเรื่องความสัมพันธ์ “ทางสายเลือด” อยู่แน่ๆ แต่ขณะเดียวกัน หนังก็ไม่ได้โรแมนติไซส์ “สายใย/สายสัมพันธ์ทางสังคม” รูปแบบอื่นๆ ที่เข้ามาก่อร่างสร้าง “ครอบครัว” ทดแทนความสัมพันธ์ชนิดแรก ดังจะเห็นได้ว่าสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของ “ครอบครัว (ที่เพิ่งสร้าง)” ในหนัง มันมีลักษณะ “สองหน้า” หรือกระตุ้นให้คนดูรู้สึกคลางแคลงใจได้บ่อยๆ (นับแต่ช่วงครึ่งหลังของเรื่องเป็นต้นไป) ว่าตัวละครเหล่านั้นกำลัง “จริงใจ” หรือ “ไก่กา”…

“ชิโนบุ ฮาชิโมโตะ” นักเขียนบทคู่ใจ “อากิระ คุโรซาวะ” เสียชีวิตในวัย 100 ปี

https://www.youtube.com/watch?v=AD-u-XPe4uQ “ชิโนบุ ฮาชิโมโตะ” ผู้เขียนบทภาพยนตร์คลาสสิกเรี่อง “Rashomon” และ “Seven Samurai” ซึ่งกำกับโดย “อากิระ คุโรซาวะ” ได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการปอดบวม ที่บ้านพักในกรุงโตเกียว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ขณะมีวัย 100 ปี ฮาชิโมโตะเป็นบุคลากรสำคัญคนหนึ่งใน “ยุคทอง” ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ญี่ปุ่นช่วงทศวรรษ 1950 โดยสไตล์การเขียนบทของเขามีความโดดเด่นจากการมุ่งสำรวจตรวจสอบธรรมชาติของมนุษย์ ผ่านประเด็นคู่ตรงข้ามอันขัดแย้งกัน อาทิ ความดีกับความเลว หรือความรักกับความเกลียดชัง ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮาชิโมโตะถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร ทว่ากลับล้มป่วยด้วยโรควัณโรคระหว่างการฝึก…

“ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” คนทำหนังญี่ปุ่นรายล่าสุด ผู้คว้า “ปาล์มทองคำ”

หมายเหตุ ปรับปรุงแก้ไขจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 25-31 พฤษภาคม 2561 ซึ่งมีจุดผิดพลาดตรงข้อมูลสถิติเรื่องแวดวงภาพยนตร์ญี่ปุ่นกับรางวัลปาล์มทองคำ “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” วัย 55 ปี เพิ่งพาหนังใหม่ของตนเองเรื่อง “Shoplifters” คว้า “ปาล์มทองคำ” อันเป็นรางวัลสูงสุดของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ครั้งที่ 71 นี่คือครั้งที่ 7 ซึ่งหนังของเขาได้รับคัดเลือกให้ร่วมฉายในเทศกาลเมืองคานส์ โดยเป็นการเข้าประกวดสายหลักเสีย 5 เรื่อง (โคเรเอดะได้เข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำหนแรกจากหนังเรื่อง “Distance” เมื่อปี 2001) ผู้กำกับฯ แนวหน้าจากญี่ปุ่น…

“โคเรเอดะ” กับโปรเจ็กท์หนัง “สงครามโลกครั้งที่ 2”

ลิซ แช็กเกิลตัน: ผลงานก่อนหน้านี้อย่าง “The Third Murder” นับเป็นแนวทางการทำงานใหม่ๆ ของคุณอย่างแท้จริง สำหรับผลงานชิ้นต่อไป คุณยังมีแผนที่จะสำรวจตรวจสอบประเด็นอื่นๆ อีกบ้างไหม หรือจะย้อนกลับมาเล่าเรื่องราวสายสัมพันธ์ในครอบครัวอีกครั้ง? ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ: ยังมีหลายประเด็นที่ผมอยากนำมาทำเป็นหนัง รวมทั้งโปรเจ็กท์เกี่ยวกับบทบาทของประเทศญี่ปุ่น ในฐานะผู้ก่อความผิดพลาดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่มันก็เป็นเรื่องยากที่จะมัดรวมโครงการต่างๆ เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน เพราะคนญี่ปุ่นต่างต้องการลบล้างความผิดบาปครั้งนั้นออกจากความทรงจำของพวกตน แต่ในฐานะคนทำหนัง ผมรู้สึกว่าตัวเองควรจะต้องกล้าชนกับประเด็นดังกล่าว เหมือนที่ยอดผู้กำกับฯ เช่น นางิสะ โอชิมะ และโชเฮ อิมามุระ เคยแผ้วถางหนทางเอาไว้ในอดีต…

Bangkok Nites เข้าฉาย 17 มี.ค.นี้ – เปิดตัวโรงหนังทางเลือกแห่งใหม่ “ซิเนม่าโอเอซิส”

"กลางคืนที่บางกอก" เวอร์ชั่น 3 ชม. ได้ฤกษ์เข้าฉายที่บางกอก สกรีนนิ่ง รูม https://www.facebook.com/HALfilm/videos/1502273489882259/   Bangkok Nites (กลางคืนที่บางกอก) หรือในชื่อใหม่ "กรุงเทพราตรี" ผลงานภาพยนตร์โดย คัตสึยะ โทมิตะ ในเวอร์ชั่นความยาว 181 นาที จะลงโรงฉายเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยระหว่างวันที่ 17 มีนาคม - 1 เมษายนนี้ ที่โรงภาพยนตร์บางกอก สกรีนนิ่ง รูม ย่านสีลม (หนังมีบทบรรยายภาษาไทยและอังกฤษ)…

บันทึกฟุ้งๆ ถึง Bangkok Nites (กลางคืนที่บางกอก)

ศัตรูที่รัก และ/หรือ สายสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทยที่ไม่จบสิ้น https://www.youtube.com/watch?v=Nol2qVLH0ao Bangkok Nites เล่าเรื่องราวสายสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย สายสัมพันธ์ในหนังถูกบอกเล่าผ่านความสัมพันธ์ของสามัญชนคนเล็กคนน้อย ตลอดจนวัฒนธรรมชายขอบต่างๆ (ทั้งด้านสว่างและด้านมืด) มันเป็นทั้งความรัก ความพลัดพราก ความสมานฉันท์ และรอยบาดแผล หรืออาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ในหนัง ถูกนำเสนอออกมาในเชิง "ศัตรูที่รัก" ด้านหนึ่ง นี่ก็เป็นหนังสารภาพบาปจากมุมมองของญี่ปุ่น หนังไม่ได้พูดถึง "บาปใหญ่" ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หากพูดถึงผลลัพธ์ต่อเนื่องหลังจากนั้น นั่นคือ "บาป" ที่ญี่ปุ่น (และไทย) ร่วมก่อในช่วงสงครามเย็น เรื่อยมาถึง…

“Bangkok Nites” หนังญี่ปุ่นน่าจับตา ฉายครั้งแรกในไทย 28 ม.ค.นี้

"Bangkok Nites" หรือ "กลางคืนที่บางกอก" ภาพยนตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวของหนุ่มชาวญี่ปุ่นที่มาพบรักกับหญิงสาวซึ่งทำงานอยู่บนถนนธนิยะ ย่านธุรกิจกลางคืนใจกลางกรุงเทพฯ ผลงานการร่วมกำกับของ คัตสึยะ โทมิตะ และ อภิชา ศรัณย์ชล กำลังจะได้ฉายในเมืองไทยเป็นครั้งแรก วันที่ 28 มกราคมนี้ Bangkok Nites ได้รับความสนใจจากเทศกาลภาพยนตร์หลายประเทศทั่วโลก และคว้ารางวัล First Prize of the Junior Jury ที่เทศกาลภาพยนตร์โลการ์โนปี 2016 รวมทั้งได้รับเลือกให้ติดอันดับ 1 ใน…

“Harmonium” : ล้างแค้น “เชิงซ้อน”

https://www.youtube.com/watch?v=y2vK3PyxqTY หนึ่ง โชคดีที่มีโอกาสได้ดูผลงานสองเรื่องล่าสุดของ "โคจิ ฟุกาดะ" คือ "Sayonara" แล้วต่อด้วย "Harmonium" ซึ่งเรื่องหลังนี้ เพิ่งอำลาโรงฉายในบ้านเราไป เลยได้มองเห็น "ข้อเปรียบเทียบ" จำนวนหนึ่ง ฟุกาดะ (เพิ่งรู้ว่าเขามีอายุพอๆ กับผมเลย - ถือว่ายังหนุ่มอยู่ 555) ทำ Sayonara อย่างทะเยอทะยาน หนังพูดประเด็นระดับชาติ, ระดับมนุษยชาติ/ชาติพันธุ์ มีนักแสดงต่างชาติ และ "แอนดรอยด์" มารับบทนำ แต่…

บันทึกยิบย่อยถึง “Creepy” (Kiyoshi Kurosawa)

(หมายเหตุ นี่เป็นการตั้งข้อสังเกตนู่นนิดนี่หน่อยแบบฟุ้งๆ ไปเรื่อยนะครับ) หนึ่ง โอเค ในภาพรวม นี่คือหนังที่พูดถึง "ภาวะแปลกแยก" จากกันของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ ที่น่าสนใจ คือ "ความแปลกแยก" ใน Creepy มันร้าวลึกไปถึงระดับหน่วยครอบครัวเลยทีเดียว เพราะ "ความแปลกแยก" ไม่ได้หมายถึงความแปลกหน้า-ไม่คบหากันของเพื่อนบ้านหรือสมาชิกในสถาบันต่างๆ ของสังคม แต่มันไปไกลถึงขั้นการตั้งคำถามว่า "ผู้ชายคนนี้กับพ่อของฉันคือคนคนเดียวกันหรือเปล่า?" โน่นเลย สอง อีกแก่นแกนหนึ่งของหนัง คือ การพูดถึงความพยายามในการแสวงหาจุด "สมดุล" ระหว่าง "ภาคทฤษฎี" กับ…