“A Dog’s Tale” เมื่อผู้กำกับ “October Sonata” ไปทำหนัง “สุนัข” ที่ประเทศจีน

ในที่สุด “สมเกียรติ วิทุรานิช” ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ที่ผลิตผลงานน้อยชิ้น แต่ล้วนน่าจดจำและมีความโดดเด่นทุกชิ้น ก็มีผลงานหนังยาวเรื่องใหม่ ถัดจาก “October Sonata รักที่รอคอย” เมื่อปี 2552 คราวนี้ สมเกียรติกลับมาทำหนังที่มีสุนัขเป็นตัวแสดงนำอีกหน หลังจากเขาเคยกำกับ “มะหมา 4 ขาครับ” ร่วมกับ “พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์” แต่ด้วยเงื่อนไข-บริบทที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง https://www.youtube.com/watch?v=jmjyG8URezY&feature=share เพราะภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องใหม่ของสมเกียรติเป็น “หนังจีน” ชื่อ “A Dog’s Tale”…

ท่องเทศกาลหนังสิงคโปร์ 2018

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีโอกาสไปท่องเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์เป็นหนที่สอง เลยถือโอกาสนำบันทึกซึ่งเขียนถึงหนังเรื่องต่างๆ ที่ได้ดู มาเผยแพร่ในบล็อกนี้ครับ (ยกเว้น “กระเบนราหู” ที่จะเขียนแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง ช่วงหลังปีใหม่ 2562) Season of the Devil (ลาฟ ดิแอซ) หนึ่ง งานของลาฟที่ได้ดูก่อนหน้านี้ คือ A Lullaby to the Sorrowful Mystery ซึ่งหนังเรื่องนั้นกับเรื่องนี้ดูจะเชื่อมโยงถึงกันพอสมควร อย่างน้อย ก็ได้แก่เรื่องบทบาทของ “เพลง/กวี” ในการต่อสู้ทางการเมือง…

บันทึกถึงหนังจีนเรื่อง “Youth”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=seYQDzEDb4o รวมๆ แล้ว เมื่อดูเสร็จจะนึกถึง October Sonata คือนี่เป็นหนังที่ถ่ายทอดชะตากรรมของผู้คน ที่ดำเนินคู่ขนานไปกับชะตากรรมทางการเมืองของประเทศ ผ่านแง่มุมความรักโรแมนติกภายในกรอบเวลายาวนานหลายทศวรรษ (1976-1995, พร้อมกล่าวถึงเหตุการณ์ในปี 2005 และ 2016 โดยไม่มีภาพ) ซึ่งอบอุ่น กรุ่นๆ กำลังดี โดยส่วนตัว รู้สึกว่าหนังมันมีอาการ “จบไม่ลง” ในช่วงท้ายๆ จากจังหวะที่สามารถทำให้เราร้องไห้โฮได้ เลยเหลือแค่มีน้ำตารื้นๆ ออกมา สอง สิ่งแรกที่เซอร์ไพรส์ คือ หนังไม่ได้ฉายภาพชีวิตหนุ่มสาวที่ร้าวรานแตกสลายใน/สืบเนื่องจาก…

ประเด็นเล็กๆ จากหนัง 4 เรื่อง ที่ได้ดูช่วงปลาย เม.ย. 60

หมายเหตุ นี่ไม่ใช่การรีวิวหรือบทความที่วิเคราะห์-วิจารณ์หนังอย่างรอบด้านจริงจังนะครับ เพียงแต่ระหว่างวันที่ 22-29 เมษายน มีโอกาสได้ดูหนังอยู่สี่เรื่อง และพบว่าแต่ละเรื่องมี "จุดเล็กๆ" บางอย่าง ที่ตัวเองสนใจและติดใจเป็นพิเศษ ทว่า ยังไม่สามารถขยาย "จุดเล็กๆ" เหล่านั้น ให้กลายเป็นบทความที่เขียนถึงหนังแต่ละเรื่องโดยมีเนื้อหาขนาดยาวๆ ได้เหมือนงานชิ้นก่อนๆ เลยตัดสินใจ มาเขียนถึงหนังทั้งสี่เรื่องรวมกัน ณ ที่นี้ Apprentice (บูจุนเฟิง) ข้อนึงที่รู้สึกว่าน่าสนใจดี คือ มันเป็นหนังที่ไม่วอกแวกเลย เหมือนจะเล่าประเด็นหลักอะไรก็มุ่งหน้าไปสู่ประเด็นนั้น ไม่แวะข้างทางให้วุ่นวายออกนอกเรื่อง (เราเลยไม่เห็นชีวิตด้านอื่นๆ ของตัวละคร เช่น…

“มังกรหยก 2017” : มังกรหยก เวอร์ชั่นที่เต็มไปด้วย “ผู้หญิงสวย”

คอหนังจีนหลายท่าน คงมีโอกาสได้รับชมซีรีส์ "มังกรหยก 2017" ผ่านช่องทางออนไลน์กันบ้างแล้ว ขอละไม่กล่าวถึงเนื้อเรื่องว่าสนุกสนานเข้มข้นเพียงใด หรือตีความผิดเพี้ยนจากฉบับนิยายมากน้อยแค่ไหน (จริงๆ ฉบับนิยายเอง ก็ถูกรีไรต์ใหม่โดยกิมย้งเช่นกัน) แต่อยากจะหยิบ "จุดเด่น" ข้อหนึ่งของ "มังกรหยก 2017" มานำเสนอ ซึ่งหลายคนที่ได้ดูคงจะสังเกตเห็นเหมือนกันว่า "เฮ้ย! พวกนักแสดงหญิงที่มีบทบาทเดินเรื่อง (ไม่ใช่ตัวประกอบผ่านไปผ่านมา พูดจาแค่ไม่กี่ประโยค) ในซีรีส์เรื่องนี้ นี่สวยเกือบทั้งหมดเลยว่ะ" ในเวอร์ชั่นก่อนๆ ความสวย-น่ารักอาจวนเวียนอยู่แถวๆ "อึ้งย้ง" หรือ "มกเนี่ยมชื้อ" ทว่า ในเวอร์ชั่น…

จะเป็นเลิศเรื่องมายากลหรือวรยุทธ ก็จงเลือกเอาสักอย่างหนึ่ง!!!

"เมื่อนานมาแล้ว ข้าเคยบอกกับเจ้าว่า ถ้าเจ้าอยากเป็นเลิศในเชิงมายากล ก็จงมุ่งมั่นเล่นกลไป แต่หากเจ้าต้องการจะเป็นยอดในด้านวรยุทธ เจ้าก็ควรมุ่งหน้าฝึกวิทยายุทธ ทว่า เจ้ามักจะนำสองสิ่งดังกล่าวมาผสมปนเปกันอยู่เสมอ มันจึงน่าแปลกใจเป็นยิ่งนัก ที่เจ้าสามารถอยู่รอดมาได้จนถึงบัดนี้" https://www.youtube.com/watch?v=_r5l4XEGhLw "หัวหน้ากลุ่มศิลาดำ" พูดกับ "พ่อมด"   ภาพยนตร์เรื่อง "Reign of Assassins"   (นาทีที่ 2.04-2.17 ของคลิป)  

Operation Mekong : ความใฝ่ฝันของ “พญามังกร” และ “ปริศนาลี้ลับ” ที่ถูกทิ้งค้างไว้

(ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 20-26 มกราคม 2560) "Operation Mekong" เป็นภาพยนตร์แอ๊กชั่นผลงานการกำกับฯ ของ "ดังเต้ แลม" คนทำหนังชาวฮ่องกง ที่สร้างผลงานมาอย่างต่อเนื่องแทบจะปีชนปี นับแต่ ค.ศ.1997 จนถึงปัจจุบัน พิจารณาจากแง่ของ "รูปแบบ" ภาพยนตร์เรื่องนี้ย่อมถูกจัดอยู่ในประเภท "บู๊/แอ๊กชั่น" ซึ่งหนังก็ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เป็นอย่างดีและครบเครื่อง หนังมีฉากแอ๊กชั่นเด็ดๆ ตามเหลี่ยมมุมของอาคาร "อินดอร์" บนรถไฟ ในรถยนต์บนท้องถนน บนเรือลัดเลาะแม่น้ำโขง บนเฮลิคอปเตอร์ เรื่อยไปจนถึงในพื้นที่ป่า เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ…

The Assassin: เย้ยยุทธจักร

มติชนสุดสัปดาห์ 18-24 กันยายน 2558 หนึ่งในเรื่องราวจากยุทธจักรนิยายกำลังภายในที่ "เสถียร จันทิมาธร" ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ผ่านหนังสือ "ชุมนุมมังกรซ่อนพยัคฆ์ (ฉบับคืนยุทธจักร)" ก็คือ กระบวนการฝึกวิทยายุทธของ "ปึงป้อเง็ก" จากนิยาย "นักสู้ผู้พิชิต" ปึงป้อเง็กเรียนรู้วิทยายุทธจากวิถีธรรมชาติ เขาพิจารณาความต่อเนื่องไม่ขาดตอนของสายน้ำ ว่าเปรียบเสมือนวิชาฝีมืออันสมบูรณ์ ไร้จุดโหว่ เป็นจิวฮึงที่ชี้แนะปึงป้อเง็กว่า สายน้ำก็ดี เสียงพิณก็ดี วิถีกระบี่ก็ดี ต่อให้มีลักษณาการคล้ายจะสมบูรณ์ ครบถ้วน ขนาดไหน ทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่มีรอยโหว่ จุดพร่อง ด้วยกันทั้งสิ้น…