อ่าน ‘ทวิภพ’ ฉบับ ‘สุรพงษ์ พินิจค้า’ ผ่าน ‘อัสดงคตคดีศึกษา’ (บทความอำลาไบโอสโคป)

บทความชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารไบโอสโคปช่วงปี 2554 ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ซ้ำอีกครั้งที่บล็อกคนมองหนัง เนื่องในโอกาสที่ “ไบโอสโคป” เพิ่งเดินทางไปถึงจุดสิ้นสุด ซึ่งย่อมมิได้หมายถึง “จุดอวสาน” แต่อย่างใด อ่าน ‘ทวิภพ’ ผ่าน ‘อัสดงคตคดีศึกษา’ ฉบับนี้ อยากเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับบทความชื่อ An Ambiguous Intimacy: Farang as Siamese Occidentalism (ความใกล้ชิดอันกำกวม: ฝรั่งในฐานะอัสดงคตคดีศึกษาของสยาม) ซึ่งเขียนโดย อ.พัฒนา กิติอาษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำโครงการอุษาคเนย์ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ…

รู้ไหม? “ผู้ออกแบบงานสร้างบุพเพสันนิวาส” เคยร่วม “ออกแบบงานสร้าง” ให้หนัง “ทวิภพ” มาก่อน!

เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา สำนักข่าวออนไลน์ "เดอะ สแตนดาร์ด" เป็นผู้จุดกระแสรำลึกวาระครบรอบ 14 ปี ของภาพยนตร์ไทยเรื่อง "ทวิภพ" ฉบับ "สุรพงษ์ พินิจค้า" ในบริบทที่ละครโทรทัศน์เรื่อง "บุพเพสันนิวาส" ของช่อง 3 กำลังฮิตระเบิดทั่วบ้านทั่วเมือง หลายคนเห็นว่าภาพยนตร์และละคร (นิยาย) คู่นี้ มีความสอดคล้องคล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ เป็นเรื่องราวของหญิงสาวจากยุคปัจจุบันที่พลัดหลงเข้าไปในอดีต อันเป็นยุคที่อยุธยา/กรุงเทพฯ ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญา-การเมืองระหว่างประเทศ และต้องพยายามปรับประสานต่อรองกับ "ตะวันตก" เหมือนกัน นอกจากนี้ มณีจันทร์และเกศสุรางค์…

ความรู้สึกหลังดู “ทวิภพ” ฉบับ “สุรพงษ์ พินิจค้า” เวอร์ชั่น “Director’s Cut” รอบสอง

1. เป็นการดูรอบสองที่โรงหนังศรีศาลายา หลังจากเคยดูเมื่อครั้งที่หนังเวอร์ชั่นนี้เข้าฉาย ณ House RCA เมื่อหลายปีก่อนโน้น การฉายที่ศรีศาลายาเหมือนจะมีปัญหาเรื่องระบบเสียงหน่อยนึง เวลาตัวละครที่รับบทโดย "นิรุตติ์ ศิริจรรยา" พูด (ประโยครูปแปลกๆ ด้วยเสียงที่อยู่ในลำคอ) จึงค่อนข้างฟังลำบากอยู่พอสมควร 2. แต่เหนือสิ่งอื่นใด ถ้าตัดปัญหาเรื่องเสียงออกไป ผู้ชมยังสัมผัสได้ถึง "พลังเต็มเปี่ยม" ของหนังเรื่องนี้ ต้องยอมรับว่า "ทวิภพฉบับสุรพงษ์" นั้น เป็นหนังไทยที่ "ทะเยอทะยาน" จริงๆ ทั้งในแง่การกล้าลงทุนสร้างหนังแบบนี้ (แต่ผลตอบรับกลับสวนทางกับทุนสร้างแบบสุดๆ) ซึ่งถ้ามองจากยุคปัจจุบัน…

ระลึกถึง “ท่านครู” และ “ทิพย์” (ฉบับสมบูรณ์)

ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ 20-26 พฤษภาคม 2559 (ปรับปรุงจากบทความที่เผยแพร่ในบล็อกก่อนหน้านี้) "คุณอดุลย์ ดุลยรัตน์" และ "คุณประจวบ ฤกษ์ยามดี" สองนักแสดงอาวุโส เพิ่งล่วงลับลงในเวลาใกล้เคียงกัน ข้อเขียนชิ้นนี้พยายามจะรำลึกถึงทั้งสองท่าน ผ่านมุมมอง การตีความ และประสบการณ์อันจำกัดจำเขี่ยของคนดูหนังรายหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ติดตามผลงานของทั้งคู่มามากมายและละเอียดลออนัก ท่านครู ผมคงเป็นเช่นเดียวกับแฟนหนังรุ่นหลังอีกหลายคน ที่จดจำคุณอดุลย์ได้จากบทบาท "ท่านครู" ในภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง" (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, 2547) ตามความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า ตัวละคร "ท่านครู"…