Itaewon Class : “ลูกพี่” “เถ้าแก่” และการหายไปของ “พ่อ”

(เปิดเผยเนื้อหา) https://www.youtube.com/watch?v=BoU8OOWOb5s หลังดูซีรี่ส์เกาหลีอันโด่งดังอย่าง “Itaewon Class” จบลง ก็มีเรื่องวนเวียนอยู่ในหัวผมประมาณ 4-5 ประเด็น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วัฒนธรรม “ลูกพี่” ตั้งแต่ต้นจนจบ ค่านิยมหลักประการหนึ่งที่ซีรี่ส์เรื่องนี้นำเสนอก็คือ “วัฒนธรรมลูกพี่” (ในแบบเอเชียตะวันออก?) จนสามารถกล่าวได้ว่าการแข่งขันกันทางธุรกิจในระบบทุนนิยมผ่านกลไกตลาดหุ้นก็ดี การแสดงอำนาจบารมีแบบ “นักเลง” หรือ “พี่” (อาเฮีย) ก็ดี การใช้อิทธิพลนอก-ในระบบกฎหมายก็ดี ล้วนถูกห่อคลุมไว้ด้วย “วัฒนธรรมลูกพี่” ทั้งหมด เพียงแต่อำนาจบารมีของ “ลูกพี่” คนหนึ่งนั้นเสื่อมถอยลง…

Shoplifters: ทางเลือกที่ 3 จากปัญหา “ครอบครัว” 2 แบบ และ “ดอกไม้ไฟ” ที่มองไม่เห็น

พื้นที่ตรงกลาง? ระหว่าง “สายเลือด” กับ “สายใยสังคม” ชอบท่าทีและประเด็นหลักของหนัง ซึ่งด้านหนึ่ง “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” กำลังพยายามตั้งคำถามกับเรื่องความสัมพันธ์ “ทางสายเลือด” อยู่แน่ๆ แต่ขณะเดียวกัน หนังก็ไม่ได้โรแมนติไซส์ “สายใย/สายสัมพันธ์ทางสังคม” รูปแบบอื่นๆ ที่เข้ามาก่อร่างสร้าง “ครอบครัว” ทดแทนความสัมพันธ์ชนิดแรก ดังจะเห็นได้ว่าสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของ “ครอบครัว (ที่เพิ่งสร้าง)” ในหนัง มันมีลักษณะ “สองหน้า” หรือกระตุ้นให้คนดูรู้สึกคลางแคลงใจได้บ่อยๆ (นับแต่ช่วงครึ่งหลังของเรื่องเป็นต้นไป) ว่าตัวละครเหล่านั้นกำลัง “จริงใจ” หรือ “ไก่กา”…

“ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” คนทำหนังญี่ปุ่นรายล่าสุด ผู้คว้า “ปาล์มทองคำ”

หมายเหตุ ปรับปรุงแก้ไขจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 25-31 พฤษภาคม 2561 ซึ่งมีจุดผิดพลาดตรงข้อมูลสถิติเรื่องแวดวงภาพยนตร์ญี่ปุ่นกับรางวัลปาล์มทองคำ “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” วัย 55 ปี เพิ่งพาหนังใหม่ของตนเองเรื่อง “Shoplifters” คว้า “ปาล์มทองคำ” อันเป็นรางวัลสูงสุดของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ครั้งที่ 71 นี่คือครั้งที่ 7 ซึ่งหนังของเขาได้รับคัดเลือกให้ร่วมฉายในเทศกาลเมืองคานส์ โดยเป็นการเข้าประกวดสายหลักเสีย 5 เรื่อง (โคเรเอดะได้เข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำหนแรกจากหนังเรื่อง “Distance” เมื่อปี 2001) ผู้กำกับฯ แนวหน้าจากญี่ปุ่น…