2 ความเท่ห์ใน “เทพสามฤดู 60”: “อำมาตย์อาจอง” กักตัวฝึกพระเวทย์-“สามศรี” มี “สามร่าง”

"เทพสามฤดู 2560" ตอนที่ 41 ประจำวันเสาร์ที่ 18 พ.ย. 2560 นั้นมีเนื้อหาหรือรายละเอียดหลายจุดน่าสนใจมากๆ ครับ จุดแรก https://youtu.be/XLA50ZPV1wk?t=5m10s ดังที่เคยพูดถึงไว้แล้วว่า ดูเหมือนทางสามเศียรจะพยายามหาทางคลี่คลายปัญหาที่เกิดจากอาการเจ็บป่วยของนักแสดงอาวุโส "กิตติ ดัสกร" อย่างละเอียดลออพอสมควร เริ่มจากการเกลี่ยบทของ "อำมาตย์อาจอง" (ซึ่งแสดงโดยกิตติ) ไปให้ "หมื่นมิตร" ตัวละครที่เป็นลูกน้องคนสนิทของท่านอำมาตย์ อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ทางผู้กำกับ-ผู้เขียนบท ได้มีวิธีจัดการกับการหายตัวไปของ "อำมาตย์อาจอง"…

แผนการของ “สามศรี” – “ทางเลือกที่สาม” นอกเหนือจาก “องค์อิศรา vs ขันธมาร”

ชอบบทสนทนาช่วงหนึ่งจาก "เทพสามฤดู" ที่ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 30 กันยายนครับ เรื่องของเรื่องคือขันธมาร (ตัวร้ายระดับบิ๊กบอส) มาเร่งรัดสามศรี (ตัวร้ายรุ่นใหม่ ซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกชายของลูกน้องขันธมารอีกที) ให้ไปรีบจัดการพระอิศวรและมาตุลีเทพบุตร ที่ลงมาใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ธรรมดาปราศจากฤทธิ์เดชใดๆ บนโลก แต่เมื่อสามศรีตกปากรับคำกับขันธมารเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าตัวกลับมาปรับแผนการเสียใหม่ ดังนี้ สามศรี: ภูตดำ เรามีแผนใหม่แล้ว พระอิศวรหรืออิศราอาจจะมีประโยชน์กับเราในภายหลังก็ได้ ภูตดำ: นี่พระโอรสจะขัดคำสั่งองค์ขันธมารหรือพระเจ้าค่ะ? สามศรี: เราจะเก็บองค์อิศราไว้ต่อรองกับขันธมาร เสด็จพ่อคงพอพระทัยด้วย ภูตดำ: แต่ข้าพระพุทธเจ้าเกรงว่า... สามศรี: ริจะเป็นใหญ่ ต้องไม่เกรงกลัวสิ่งใด…

ไขที่มาชื่อ “สามศรี” – ตัวละครรายนี้ใน “นิทานวัดเกาะ” แตกต่างกับใน “ละครทีวี” อย่างไร?

กำเนิด "สามศรี" ในวรรณกรรมวัดเกาะ สำหรับคนที่ดูละครจักรๆ วงศ์ๆ "เทพสามฤดู" อย่างน้อยก็ในเวอร์ชั่น 2546 และ 2560 หนึ่งในคำถามสำคัญที่หลายคนอาจนึกคิดอยู่ในใจ ก็คือ ทำไม "สามศรี/สามสี" ต้องมีชื่อว่า "สามศรี/สามสี"? คำถามข้อนี้เหมือนจะไม่ถูกอธิบายเอาไว้ในละคร แต่เมื่อย้อนไปอ่าน "สามฤดู" ฉบับวรรณกรรมวัดเกาะ ก็จะพบสาเหตุเบื้องหลังอันกระจ่างชัดของนามดังกล่าว ในนิทานวัดเกาะ "สามศรี" เป็นบุตรของนางสุทัศน์ (ในละครเปลี่ยนชื่อเป็น "ทัศนีย์") หนึ่งในมเหสีของท้าวตรีภพ ที่ใส่ร้าย "ตัวละครสามฤดู" และแม่จนต้องถูกขับออกจากเมือง…