“Memoria” หนังเรื่องล่าสุดของ “อภิชาติพงศ์” ปิดกล้องแล้ว

“Memoria” ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกสุดที่ไปถ่ายทำนอกประเทศไทยของ “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” ได้ปิดกล้องลงเรียบร้อยแล้ว https://twitter.com/kickthemachine/status/1183488155837710342 ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม บัญชีทวิตเตอร์ @kickthemachine ของอภิชาติพงศ์ ได้โพสต์ภาพถ่ายเบื้องหลังการถ่ายทำ พร้อมข้อความภาษาอังกฤษที่แปลเป็นไทยได้ว่า “ขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมในหนังเรื่อง Memoria มากๆ (การถ่ายทำหนังเรื่องนี้) เต็มไปด้วยความทรงจำงดงาม อันเกิดจากผู้คน, สถาปัตยกรรม, ภูมิทัศน์ ... ที่ยอดเยี่ยม” https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10157793525045891&set=a.10152041773510891&type=3&theater ก่อนหน้านั้น วันที่ 13 ตุลาคม “สมพจน์…

เคล็ดลับการคัดเลือก “นักแสดงสมัครเล่น” ในหนังอภิชาติพงศ์

"คริส ชีลด์ส" จาก Film Comment ชวนคนในวงการภาพยนตร์นานาชาติหลายๆ ราย มาพูดคุยเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกนักแสดงให้แก่หนังที่ไม่ใช้ "นักแสดงมืออาชีพ" มาสวมบทบาทเป็นตัวละคร แต่กลับสรรหาคนธรรมดาทั่วไปมารับบทเหล่านั้นแทน หนึ่งในบุคลากรที่ชีลด์สพูดคุยด้วย ก็คือ "สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์" ผู้ช่วยผู้กำกับในหนังหลายเรื่องของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ซึ่งเพิ่งมีผลงานภาพยนตร์สารคดีขนาดยาวเรื่อง "หมอนรถไฟ" ของตนเองไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา) สมพจน์บอกว่าเขาทำหน้าที่เป็นผู้คัดเลือกนักแสดงให้แก่หนังหลายเรื่องของอภิชาติพงศ์ สำหรับในหนังยาวเรื่องล่าสุด "รักที่ขอนแก่น" นั้น นอกจากนักแสดงนำสองคนแล้ว ตัวละครที่เหลือล้วนสวมบทบาทโดยนักแสดงสมัครเล่นที่ใช้ชีวิตจริงอยู่ในจังหวัดขอนแก่น บ้านเกิดของผู้กำกับ อันเป็นสถานที่ถ่ายทำหนังทั้งเรื่อง เพราะทีมงานต้องการนักแสดงที่มีบุคลิกลักษณะเหมือนผู้คนธรรมดาทั่วไป ซึ่งพวกเราสามารถพบเห็นได้ในวิถีชีวิตประจำวัน…

โน้ตสั้นๆ ถึง METAPHORS

โน้ตสั้นๆ ถึง METAPHORS: AN EVENING OF SOUND AND MOVING IMAGE WITH KICK THE MACHINE 1. หนังสั้น/วิดีโอที่ใช้เปิดหัวประเดิมงาน คือ "Bangkok in the Evening" (กรุงเทพฯ ตอนเย็นๆ) ของ "สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์" ทรงพลังมาก แม้จะเป็นผลงานเมื่อ 12 ปีก่อน สมพจน์พาคนดูไปสัมผัสกับบรรยากาศ…

หนังสารคดีไทยน่าสนใจจาก Salaya Doc 7

เวียนกลับมาอีกครั้ง สำหรับเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติศาลายาครั้งที่ 7 โดยงานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-26 มีนาคม 2560 ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน สำหรับเทศกาลปีนี้ จะมีหนังสารคดีไทยน่าสนใจเข้าฉายหลายเรื่อง เริ่มต้นจาก "ดอกฟ้าในมือมาร" หนังยาวเรื่องแรกของ "อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล" ซึ่งผสมผสาน "เรื่องแต่ง" เข้ากับ "เรื่องจริง" เพื่อถ่ายทอด "เรื่องเล่ากระจัดกระจาย" เกี่ยวกับ "ชุมชนชาติไทย" ได้อย่างชวนพิศวง (โดยเฉพาะสำหรับวงการภาพยนตร์ในยุค…

คิดนู่นคิดนี่ไปเรื่อย เกี่ยวกับหนังสารคดี “หมอนรถไฟ” (สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์)

"โครงสร้าง" ของหนังสารคดี การที่หนังสารคดีเรื่องหนึ่งใช้เวลาคิด-ทำถึง "แปดปี" มันย่อมมีโอกาสสูงมาก ที่หนังจะเลอะ หรือไม่เป็นระบบระเบียบ แต่ "หมอนรถไฟ" สามารถจัดระบบฟุตเทจกว่าร้อยชั่วโมงออกมาเป็นหนังสารคดียาวไม่ถึงสองชั่วโมง ที่มี "โครงสร้าง" ของเรื่องราวแข็งแรงเป็นอย่างยิ่ง หากดูจากการที่หนังค่อยๆ ไล่เรียงการสำรวจขบวนรถไฟไทยจากชั้น 3 ชั้น 2 ตู้เสบียง ชั้น 1 หรือวิธีการเปิด-ปิดหนังด้วย "องค์ความรู้" บางอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รถไฟไทย ซึ่งใช้ห่อหุ้มอารมณ์ความรู้สึก ความฝัน ความผุพังของรถไฟและผู้โดยสารรถไฟในสังคมไทยร่วมสมัย ที่คนดูต้องเผชิญหน้ากับมันด้วยฐานะ "ผู้ไม่รู้" "จ้องมอง"…

ข่าวดีหนังไทยต้นปี 60 “หมอนรถไฟ” ได้ไปเบอร์ลิน

"หมอนรถไฟ" (Railway Sleepers) ภาพยนตร์สารคดีโดย "สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์" ที่ก่อนหน้านี้ได้เข้าฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ถูกคัดเลือกไปฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน 2017 ในสาย "ฟอรัม" ซึ่งมีธีมว่าด้วย "ภาวะสมจริงและเหนือจริง" โดย "หมอนรถไฟ" จะเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ 43 เรื่อง ที่ได้เข้าฉายในสายดังกล่าว โดยทั้งหมดคือหนัง "สารคดี" จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ยุโรป, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ที่มีจุดประสงค์หลากหลายตั้งแต่การฉายภาพสถาบันทางสังคม ไปจนถึงการมุ่งจับจ้องศึกษาปรากฏการณ์บางอย่างในระยะเวลาอันยาวนาน…