“วิคกี้ ครีปส์” ว่าด้วย “The Young Karl Marx” และ “Phantom Thread”

หมายเหตุ – เมื่อสัปดาห์ก่อนไปชมภาพยนตร์เรื่อง “The Young Karl Marx” กลายเป็นว่าค่อนข้างประทับใจกับผลงานการแสดงของ “วิคกี้ ครีปส์” นักแสดงหญิงชาวลักเซมเบิร์ก ซึ่งในฐานะ “เจนนี่ มาร์กซ์” เธอมีบทบาทไม่เยอะนัก แต่กลับแฝงเร้นพลังบางอย่างเอาไว้มหาศาล สถานภาพดังกล่าวดูจะสอดคล้องลงรอยกับอีกหนึ่งบทบาทที่สร้างชื่อให้แก่ครีปส์ในวงกว้าง นั่นก็คือ บท “อัลม่า” ใน “Phantom Thread” เมื่อลองค้นข้อมูลดูจึงพบว่าเคยมีสื่อต่างประเทศบางสำนักชวนครีปส์คุยในประเด็นข้างต้นจริงๆ ด้วย ขณะเดียวกัน ก็ยังมีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับปู่ของนักแสดงหญิงรายนี้ ซึ่งเคยถูกลงโทษโดยระบอบนาซี ด้วยข้อหาครอบครองหนังสือที่เขียนโดย “คาร์ล…

“โลกเฉพาะ?” ใน The Favorite

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=LwF0x0jBefA ชอบรูปแบบการคลี่คลายตัวของความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างตัวละครสตรีสามรายในหนังเรื่องนี้ เริ่มจาก “เลดี้ซาร่าห์” ที่เหมือนจะมีบทบาทครอบงำ “ควีนแอนน์” แล้ว “เลดี้อบิเกล” ก็ผงาดขึ้นมากำจัดโค่นล้ม “เลดี้ซาร่าห์” แต่ท้ายสุด หนังก็ชวนตั้งคำถามว่า “เลดี้อบิเกล” เข้ามาแทนที่ “เลดี้ซาร่าห์” ในฐานะอะไรกันแน่? คู่รัก/คนโปรด? ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเบื้องหลังราชินี? หรือ “สัตว์เลี้ยงตัวน้อยๆ” ที่เป็นลูกจำลอง/ของเล่น/เบี้ยล่าง ซึ่งอาจมีชะตากรรมแปรผันไปตามอารมณ์อันผันผวนของ “ควีนแอนน์”? เพราะหลังจากมีบทบาทในเชิง “ตั้งรับ/ถูกชักจูง” เป็นส่วนใหญ่ มาตลอดทั้งเรื่อง ตัวละคร “ควีนแอนน์” กลับแสดงบทบาทในฐานะ…

อ่าน 2 บทวิจารณ์ 1 บทสัมภาษณ์ ก่อน/หลังไปชมหนัง 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ”

15-17 กุมภาพันธ์นี้ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ FILMVIRUS จะจัดฉายภาพยนตร์ขนาดยาว 3 เรื่องของ “ลาฟ ดิแอซ” ยอดผู้กำกับชาวฟิลิปปินส์ พร้อมด้วยกิจกรรมเสวนาน่าสนใจ ในโปรแกรม Sine ni Lav Diaz สามารถตรวจสอบรายละเอียดโปรแกรมได้ ที่นี่ (แม้การจองตั๋วผ่านระบบออนไลน์น่าจะเต็มแล้ว แต่ผู้ที่เดินทางไปยังหอภาพยนตร์อาจจะมีลุ้นได้รับตั๋วหน้างานอยู่บ้าง) เนื่องในโอกาสอันดีนี้ บล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำบทความ-บทสัมภาษณ์เก่าที่เคยเขียน/พูดคุยถึงหนัง 2 ใน 3 เรื่องของโปรแกรมดังกล่าว มาเผยแพร่ให้อ่านกัน (ก่อนหรือหลังชมภาพยนตร์) อีกครั้งหนึ่ง…

คนทำหนังสตรีมีลุ้นออสการ์จากไทย-ลาว-สิงคโปร์ กับประเด็น “ผู้หญิง-ภาพยนตร์-มนุษย์”

ปีนี้ มีหนังนานาชาติถูกส่งเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม มากถึง 92 เรื่อง ที่สำคัญ หนังเหล่านั้นเป็นผลงานของผู้กำกับภาพยนตร์หญิงมากถึง 27 ราย เว็บไซต์วาไรตี้จึงได้ไปสนทนากับบรรดาคนทำหนังสตรีจากทวีปเอเชีย ซึ่งกำลังมีลุ้นในรางวัลสาขานี้ ผ่านคำถามสำคัญๆ จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้น คือ คำถามว่า "คุณอยากให้โลกรับรู้อะไรเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของคนทำหนังสตรี และอะไรคือสารที่คุณอยากจะสื่อออกไป?" บล็อกคนมองหนังคัดเลือกคำตอบของผู้กำกับภาพยนตร์หญิงสามราย ที่ผลงานลุ้นรางวัลออสการ์ของพวกเธอเคยเข้าฉายเชิงพาณิชย์ในบ้านเรา มาฝากกัน แม็ตตี้ โด (น้องฮัก - ตัวแทนจากประเทศลาว) "ถ้ามีอะไรที่ฉันอยากบอกให้โลกรับรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้กำกับหญิงจากลาว สิ่งนั้นก็คือความยากลำเค็ญสุดๆ จากหลากหลายเหตุผล…

Mother!: แรงกาย-หัวใจของผู้หญิง, โลกภายในบ้าน และการผลิตซ้ำ

(เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์) หนึ่ง อยากลองตีความหนังสนุกเรื่องนี้เล่นๆ โดยมีโจทย์/ข้อจำกัดใหญ่ๆ สองข้อ คือ (1) จะพยายามไม่มองมันผ่านกรอบเรื่องคริสต์ศาสนา เพราะเห็นหลายคนทำกันไปแล้ว และ (2) ด้วยความที่เป็นคนดูหนังมาไม่เยอะนัก ผมเลยไม่มีความสามารถมากพอจะเชื่อมโยงหนังเรื่องนี้เข้ากับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ที่มีมาก่อนหน้า ในฐานะ "สัมพันธบท" ระหว่างกัน นอกจากนี้ ผมยังได้รับแรงบันดาลใจเล็กๆ อีกหนึ่งประการ หลังจากดู "Mother!" จบลงที่โรงภาพยนตร์แถวปิ่นเกล้า กล่าวคือ ตรงที่นั่งด้านหลังผมมีคู่รักชาย-หญิง ซึ่งตีตั๋วมาดูหนังเรื่องนี้ด้วยกัน ระหว่างเอ็นด์เครดิตขึ้นจอ ทั้งสองคนพยายามขบคิดตีความว่าสัญลักษณ์ต่างๆ ในหนังนั้นหมายถึงอะไรบ้าง? แล้วฝ่ายชายก็เริ่มพูดถึงพระเจ้า…

ไปดูหนังมหากาพย์อินเดีย เรื่อง “บาฮูบาลี”

อ่านบทวิจารณ์หนังภาคสอง คลิกที่นี่ จ้า ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 9-15 กันยายน 2559 เพิ่งมีโอกาสได้ชมหนังมหากาพย์จากอินเดียเรื่อง "บาฮูบาลี" ภาคแรก (Bahubali : The Beginning) ที่โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ในเทศกาล Indian Film Festival of Thailand 2016 หลังจากได้ยินชื่อเสียงของหนังเรื่องนี้มานาน ทั้งในแง่การเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ทุนสร้างมากที่สุดของประวัติศาสตร์บอลลีวู้ด (1,755 ล้านบาท) แถมหนังยังทำรายได้ทั่วโลกไปมากถึง 2,900…