“วิคกี้ ครีปส์” ว่าด้วย “The Young Karl Marx” และ “Phantom Thread”

หมายเหตุ – เมื่อสัปดาห์ก่อนไปชมภาพยนตร์เรื่อง “The Young Karl Marx” กลายเป็นว่าค่อนข้างประทับใจกับผลงานการแสดงของ “วิคกี้ ครีปส์” นักแสดงหญิงชาวลักเซมเบิร์ก ซึ่งในฐานะ “เจนนี่ มาร์กซ์” เธอมีบทบาทไม่เยอะนัก แต่กลับแฝงเร้นพลังบางอย่างเอาไว้มหาศาล สถานภาพดังกล่าวดูจะสอดคล้องลงรอยกับอีกหนึ่งบทบาทที่สร้างชื่อให้แก่ครีปส์ในวงกว้าง นั่นก็คือ บท “อัลม่า” ใน “Phantom Thread” เมื่อลองค้นข้อมูลดูจึงพบว่าเคยมีสื่อต่างประเทศบางสำนักชวนครีปส์คุยในประเด็นข้างต้นจริงๆ ด้วย ขณะเดียวกัน ก็ยังมีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับปู่ของนักแสดงหญิงรายนี้ ซึ่งเคยถูกลงโทษโดยระบอบนาซี ด้วยข้อหาครอบครองหนังสือที่เขียนโดย “คาร์ล…

“โลกเฉพาะ?” ใน The Favorite

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=LwF0x0jBefA ชอบรูปแบบการคลี่คลายตัวของความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างตัวละครสตรีสามรายในหนังเรื่องนี้ เริ่มจาก “เลดี้ซาร่าห์” ที่เหมือนจะมีบทบาทครอบงำ “ควีนแอนน์” แล้ว “เลดี้อบิเกล” ก็ผงาดขึ้นมากำจัดโค่นล้ม “เลดี้ซาร่าห์” แต่ท้ายสุด หนังก็ชวนตั้งคำถามว่า “เลดี้อบิเกล” เข้ามาแทนที่ “เลดี้ซาร่าห์” ในฐานะอะไรกันแน่? คู่รัก/คนโปรด? ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองเบื้องหลังราชินี? หรือ “สัตว์เลี้ยงตัวน้อยๆ” ที่เป็นลูกจำลอง/ของเล่น/เบี้ยล่าง ซึ่งอาจมีชะตากรรมแปรผันไปตามอารมณ์อันผันผวนของ “ควีนแอนน์”? เพราะหลังจากมีบทบาทในเชิง “ตั้งรับ/ถูกชักจูง” เป็นส่วนใหญ่ มาตลอดทั้งเรื่อง ตัวละคร “ควีนแอนน์” กลับแสดงบทบาทในฐานะ…

คนทำหนัง “อนธการ-ดาวคะนอง” ถูกจับตาจากสื่อต่างชาติ ในฐานะ “ผู้กำกับหญิง” ที่โดดเด่น

เว็บไซต์ feminisminindia.com ได้ตีพิมพ์บทความหัวข้อ "10 ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงที่น่าสนใจมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้ยุคปัจจุบัน" โดยนอกจากบทความชิ้นนี้จะกล่าวถึง "คนทำหนังสตรี" จากอินเดีย บังกลาเทศ และปากีสถานแล้ว ผู้เขียนคือ " Sil Smit" ยังได้นับรวมคนทำหนังจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เข้าไปอยู่ในลิสต์ของ "ผู้กำกับหญิงเอเชียใต้" ด้วย สำหรับ "คนทำหนังหญิง" หนึ่งเดียวจากไทย ซึ่งติดอยู่ใน 10 อันดับผู้กำกับภาพยนตร์หญิงที่น่าสนใจมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้ ก็คือ "อนุชา บุญยวรรธนะ" บทความชิ้นนี้ระบุว่า "อนธการ" หนังยาวเรื่องแรกของอนุชา คือ…

จาก “พรหมจารี” ถึง “มัลลิกานารี” ชะตากรรมอาภัพ (รัก) ของสตรีเพศในละครจักรๆ วงศ์ๆ

"น้องน้ำผึ้ง" หรือ "ธนภัทร ดิษฐไชยวงศ์" ถือเป็นนักแสดงละครจักรๆ วงศ์ๆ รุ่นปัจจุบัน ที่โดดเด่นคนหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเธอมารับบทบาท "มัลลิกานารี" ใน "สี่ยอดกุมาร" ฉบับล่าสุด ซึ่งในช่วงแรกๆ ของละคร ดูเหมือนจะมีสิ่งใหม่ๆ ที่แหวกจารีตดั้งเดิมเกิดขึ้น เพราะ "มัลลิกานารี" มีบทกุ๊กกิ๊กหวานแหววกับ "เพชรราชกุมาร" ซึ่งเป็นหญิงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม พอละครดำเนินไปเรื่อยๆ เส้นเรื่อง "หญิงรักหญิง" ระหว่างมัลลิกานารีและเพชรราชกุมารก็ค่อยๆ ถูกกร่อนเซาะทำลายลง และแปรเปลี่ยนเป็นซับพล็อตว่าด้วยการที่หญิงสองคนหลงรักผู้ชายรายเดียวกัน เมื่อตัวละครใหม่อย่าง…

โลกของจันทคาธและสุริยคาธ (จบ)

ชุบชีวิตขึ้นมาเพื่อฆ่าซ้ำ เมื่อบทบาทของ "วิโยคพสุธา" ถูกเพิ่มเข้ามาในช่วงท้ายของ "จันทร์ สุริยคาธ" โครงเรื่องทั้งหมดของละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องนี้ ก็หันเหกลับไปสู่จารีตของเรื่องเล่าแบบ "นารายณ์สิบปาง" ที่คนไทยคุ้นชิน รวมทั้งจารีตของเรื่องเล่าแบบ "จักรๆ วงศ์ๆ" ตามมาตรฐานปกติ นั่นก็คือ เรื่องเล่าว่าด้วยวีรกรรมของเทวดาหรือราชาผู้พิฆาต "ความเป็นอื่น" ในรูปของ "ยักษ์" "ภาคที่สอง" ของ "จันทร์ สุริยคาธ" เริ่มต้นจากพฤติการณ์การบุกขึ้นไปขโมยแก้วทิพยเนตรของวิโยคพสุธา จากนั้น อดีตทวารบาลสวรรค์ก็นำเอาดวงแก้ววิเศษไปฝังไว้ในลูกนัยน์ตา กระทั่งตนเองกลายเป็นยักษ์ผู้มีอิทธิฤทธิ์แก่กล้ามากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะสามารถมองเห็นความเป็นไปใน…

รู้จักผู้กำกับหญิงจากปากีสถานที่คว้าออสการ์ได้ถึงสองครั้ง และผลงานของเธอ

“ชาร์มีน โอเบด ชินอย” ผู้กำกับหญิงวัย 37 ปี สร้างประวัติศาสตร์เป็นชาวปากีสถานเพียงคนเดียว ที่สามารถคว้ารางวัลออสการ์ได้ถึง 2 ครั้ง โดยในงานมอบรางวัลหนล่าสุด เธอได้รับรางวัลภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นยอดเยี่ยม จากหนังเรื่อง “A Girl in the River: The Price of Forgiveness” ซึ่งเล่าเรื่องราว “การสังหารเพื่อเกียรติยศ” ในปากีสถาน ชาร์มีนติดตามชีวิตของเด็กสาววัย 18 ปีรายหนึ่ง ซึ่งถูกยิงโดยญาติๆ ด้วยข้ออ้างที่ว่า…