คนมองหนัง “มาร-ดา”: “กระบวนการ/วิธีวิทยา” ที่ปริแตก 3 Apr 20193 Apr 2019 รอยปริแตกของ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” https://www.youtube.com/watch?v=WN6-gCQHKxo หากพิจารณาผลงานของ “ชาติชาย เกษนัส” ตั้งแต่ “ถึงคน.. ไม่คิดถึง” สารคดีโทรทัศน์ชุด “โยเดีย ที่คิด (ไม่) ถึง” ไล่มาถึง “มาร-ดา” “จุดร่วมหนึ่ง” ที่ตั้งมั่นดำรงอยู่ในภาพยนตร์ทุกเรื่องของเขา ก็คือ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” อันหมายถึง การออกเดินทางไปพบปะผู้คน ณ ต่างสถานที่ ต่างบริบท ต่างช่วงเวลา หรือต่างมิติ เพื่อปะติดปะต่อข้อมูลที่ฉีกขาดกระจัดกระจาย แล้วเรียบเรียงลำดับความทรงจำเสียใหม่ให้เป็นระบบระเบียบยิ่งขึ้น ก่อนจะค้นพบคำตอบบางอย่างในเบื้องท้าย…
คนมองหนัง ท่องเทศกาลหนังสิงคโปร์ 2018 31 Dec 201831 Dec 2018 เดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีโอกาสไปท่องเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์เป็นหนที่สอง เลยถือโอกาสนำบันทึกซึ่งเขียนถึงหนังเรื่องต่างๆ ที่ได้ดู มาเผยแพร่ในบล็อกนี้ครับ (ยกเว้น “กระเบนราหู” ที่จะเขียนแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง ช่วงหลังปีใหม่ 2562) Season of the Devil (ลาฟ ดิแอซ) หนึ่ง งานของลาฟที่ได้ดูก่อนหน้านี้ คือ A Lullaby to the Sorrowful Mystery ซึ่งหนังเรื่องนั้นกับเรื่องนี้ดูจะเชื่อมโยงถึงกันพอสมควร อย่างน้อย ก็ได้แก่เรื่องบทบาทของ “เพลง/กวี” ในการต่อสู้ทางการเมือง…
ในน้ำเน่ามีเงาจันทร์ ธงชัย วินิจจะกูล ว่าด้วย “ประวัติศาสตร์-ความต่อเนื่อง-การแทนที่-ฟิล์มภาพยนตร์” 20 Nov 201620 Nov 2016 ต้นเรื่อง "...อาจารย์สายชล (สัตยานุรักษ์ - บล็อกคนมองหนัง) เข้าใจว่าการแทนที่หมายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สิ่งใหม่เข้าแทนที่สิ่งเก่าอย่างรวดเร็วฉับพลัน ส่วนความต่อเนื่องหมายถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ขยับปรับตัวเป็นวิวัฒนาการในสังคมนั้นเอง อาจารย์สายชลยังเห็นว่าลักษณะแรกเกิดกับสังคมฝรั่ง ลักษณะหลังเกิดกับสังคมไทย อย่างแรกคือพวกที่เน้นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นผลจากปัจจัยภายนอก ส่วนอย่างหลังเป็นผลของการคลี่คลายภายใน อาจารย์สายชลจึงวิพากษ์ผมว่า เอาทฤษฎีวิธีการฝรั่งมาใช้กับสังคมไทย..." ประวัติศาสตร์-ความต่อเนื่อง-การแทนที่-ฟิล์มภาพยนตร์ "...ขอยกตัวอย่างที่ไม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยเลย แต่เพื่อเป็นอุปมาว่าความต่อเนื่องกับการแทนที่นั้นบางกรณีอาจเป็นกระบวนการเดียวกันสนิท แยกไม่มีทางได้ ความต่างกลับอยู่ที่แง่มุมและวิธีการของตัวผู้ศึกษาเอง "ผู้อ่านทุกท่านเคยดูภาพยนตร์จอใหญ่มาแล้วทั้งนั้น คงไม่มีใครเถียงว่าความเคลื่อนไหวบนจอภาพยนตร์มีลักษณะต่อเนื่องราบเรียบ แต่ผู้พอมีความรู้พื้น ๆ ย่อมรู้ดีว่าความต่อเนื่องบนจอนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นผลของการที่ภาพนิ่งในกรอบต่าง ๆ กันบนแผ่นฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาแทนที่กรอบก่อนหน้าในอัตราเร็วเกินกว่าสายตามนุษย์จะจับการเข้าแทนที่นั้นได้ "คิดในทางกลับกัน การเคลื่อนไหวของเวลาซึ่งดูเหมือนต่อเนื่องราบเรียบไปเรื่อย…