ท่องนคร “ทานตะวัน” เมืองยักษ์ใน “นางสิบสอง 2562”

หลังจากชมละคร “นางสิบสอง 2562” ไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกว่าเมือง “ทานตะวัน” ของ “นางยักษ์สันธมาลา” นั้นถูกออกแบบหรือจัดวางโครงสร้างเอาไว้เป็นอย่างดี มีระบบระเบียบ จนน่านำมาเขียนถึง ดังนี้ “พระแม่เจ้า” กับ “แม่ย่า” จุดสูงสุดบนยอดพีระมิดหรือชนชั้นนำผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในเมืองยักษ์แห่งนี้ล้วนเป็นสตรีเพศ ทว่าพวกนางก็ดูจะแบ่งออกเป็นสองขั้ว ขั้วแรก คือ “พระแม่เจ้าสันธมาลา” อีกขั้วหนึ่ง คือ “แม่ย่า” “พระแม่เจ้าสันธมาลา” นั้นพำนักอยู่ในปราสาทราชวัง และทำหน้าที่ปกครองดูแลอาณาจักร ขณะที่ผู้เฒ่าเช่น “แม่ย่า” กักตัวบำเพ็ญตนอยู่ในถ้ำ ครั้งหนึ่ง…

(ไม่ดราม่าประเด็น MV “ทศกัณฐ์”) ท็อปไฟว์เพลงป๊อปไทย ที่ร้อง-เล่าเรื่องราวแบบ “ยักษ์ๆ”

เห็นเขากำลังดราม่าประเด็น "ทศกัณฐ์" ศิลปะ "โขน" และเอ็มวี "เที่ยวไทยมีเฮ" กัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กำลังจะเสนอต่อไปนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีข้างต้น แต่ทางบล็อกของเราต้องการนำเสนอถึงบทเพลงป๊อปในยุคใกล้-ไกล ที่หยิบยกเอา "ยักษ์" มาเป็นสัญลักษณ์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวหรือตั้งประเด็นคำถามได้อย่างน่าสนใจมากกว่า แค่ฟังเพลงเหล่านี้ คุณก็จะได้รับรู้แล้วว่าวิธีการตีความหรือครุ่นคิดถึง "ยักษ์" ในสังคมไทยนั้น ก้าวไปไกลกว่าดราม่าที่เกิดขึ้นช่วงวันสองวันนี้มากมายนัก เฮ่อ! เป็นไปไม่ได้ เพลงอมตะของ "ดิ อิมพอสซิเบิล" ซึ่งเขียนคำร้อง-แต่งทำนองโดยศิลปินแห่งชาติ "ครูพยงค์ มุกดา" ครูพยงค์อุปมาให้ "ทศกัณฐ์" เป็นมาตรฐานสูงสุดบางประการ ซึ่งชายอาภัพรักผู้หนึ่งไม่สามารถจะไขว่คว้าหรือพุ่งทะยานไปยังจุดดังกล่าวได้…

โลกของจันทคาธและสุริยคาธ (จบ)

ชุบชีวิตขึ้นมาเพื่อฆ่าซ้ำ เมื่อบทบาทของ "วิโยคพสุธา" ถูกเพิ่มเข้ามาในช่วงท้ายของ "จันทร์ สุริยคาธ" โครงเรื่องทั้งหมดของละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องนี้ ก็หันเหกลับไปสู่จารีตของเรื่องเล่าแบบ "นารายณ์สิบปาง" ที่คนไทยคุ้นชิน รวมทั้งจารีตของเรื่องเล่าแบบ "จักรๆ วงศ์ๆ" ตามมาตรฐานปกติ นั่นก็คือ เรื่องเล่าว่าด้วยวีรกรรมของเทวดาหรือราชาผู้พิฆาต "ความเป็นอื่น" ในรูปของ "ยักษ์" "ภาคที่สอง" ของ "จันทร์ สุริยคาธ" เริ่มต้นจากพฤติการณ์การบุกขึ้นไปขโมยแก้วทิพยเนตรของวิโยคพสุธา จากนั้น อดีตทวารบาลสวรรค์ก็นำเอาดวงแก้ววิเศษไปฝังไว้ในลูกนัยน์ตา กระทั่งตนเองกลายเป็นยักษ์ผู้มีอิทธิฤทธิ์แก่กล้ามากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะสามารถมองเห็นความเป็นไปใน…

“ยักษ์” ใน “แก้วหน้าม้า” และละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องอื่นๆ

มติชนสุดสัปดาห์ 14-20 สิงหาคม 2558 หลายสัปดาห์ก่อน มีข่าวคราวเกี่ยวกับชะตากรรมทางการเมืองของ คุณพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ด้วยความระลึกถึงชีวิตนักแสดงของ "เด็จพี่" ผมจึงคลิกเข้าเว็บไซต์ยูทูบ แล้วเสิร์ชหาผลงานการแสดงเก่าๆ ของแกมานั่งชม เสิร์ชไปเสิร์ชมา ก็เจอคลิปเปิดเรื่องของละครจักรๆ วงศ์ๆ ฟอร์มใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2542 เรื่อง "เทพศิลป์ อินทรจักร" ซึ่งหลายคนที่เคยดู ย่อมตระหนักได้ว่า นี่เป็น "รามเกียรติ์" ในระดับ "ย่อสเกล" หรือเป็นการพยายามแปร "วัฒนธรรมหลวง" อย่าง "โขน"…