ความทรงจำเกี่ยวกับ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง”

หลังทราบข่าวการเสียชีวิตของ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง” ผู้ถือเป็นดาราสำคัญรายหนึ่ง สำหรับคนรุ่นๆ ผม (ที่อายุเกือบ 40 ปี) ขึ้นไป ผมก็ได้ย้อนรำลึกความหลังเกี่ยวกับนักแสดงผู้นี้ ผ่านโพสต์จำนวนมากมายของมิตรสหายในโซเชียลมีเดีย https://www.youtube.com/watch?v=yu0cOWnLW7Y ผมได้รำลึกถึงละครทีวี เช่น บ้านทรายทอง-พจมาน สว่างวงศ์ (2530) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) วนิดา (2534) ซึ่งเป็นผลงานที่เคยผ่านตาในวัยประถม แต่กลับจดจำรายละเอียดต่างๆ แทบไม่ได้แล้ว (รวมถึงศักยภาพในฐานะนักแสดงของศรัณยู…

ว่าด้วย “ประวัติศาสตร์” ใน “ศรีอโยธยา ภาค 2”

ฉากหนึ่งในซีรีส์ “ศรีอโยธยา ภาคแรก” ที่ผมประทับใจมากๆ ก็คือ ฉากที่ “เจ้าฟ้าสุทัศ” ล่องเรือแบบกึ่งตื่นกึ่งฝันไปพร้อมกับดวงวิญญาณของพระเจ้าเสือ และได้พานพบพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ซึ่งทรงปรากฏพระองค์ตามรายทางของลำน้ำสายหนึ่ง ผมตีความความว่า ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย) คงอยากนำเสนอว่า “ประวัติศาสตร์” คือความเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวที่ไม่มีทางตัดได้ขาดประดุจสายน้ำ อย่างไรก็ดี ความเชื่อเช่นนั้นกลับต้องดำรงอยู่ในห้วงภวังค์กึ่งจริงกึ่งฝันหรืออุปลักษณ์นิทานเปรียบเทียบต่างๆ เพราะ “ประวัติศาสตร์” ใดๆ ก็ตามในโลกความจริง ย่อมไม่สามารถดำเนินไปอย่างเรียบเรื่อยต่อเนื่องสมบูรณ์แบบบนช่วงเวลาอันยาวไกล โดยปราศจากจุดเปลี่ยนแปลง ความผกผัน ร่องรอยปริแตก ช่องว่างรูโหว่ ที่ผุดขึ้นมาขัดขวางภาวะของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวดังกล่าว…

“บุพเพสันนิวาส-ศรีอโยธยา” ละคร 2 เรื่อง ที่มีปฏิสัมพันธ์กับ “อดีต” คนละแบบ

หมายเหตุ ทีแรกเมื่อ 1-2 สัปดาห์ก่อน กะจะเขียนถึงภาพรวมของ "ศรีอโยธยา" ซีซั่นแรก หลังละครเพิ่งปิดฉากลง แต่ก็ผลัดวันประกันพรุ่งเรื่อยมา กระทั่ง "บุพเพสันนิวาส" จากทางฝั่งช่อง 3 เริ่มสร้างกระแสโด่งดังสนั่นจอไปทั่วประเทศพอดี จึงตัดสินใจเขียนถึงละครสองเรื่องนี้พร้อมๆ กันเสียเลยในคราวเดียว อดีตที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน กับ ปัจจุบันที่ตัดตอนย้อนกลับไปยังอดีต ข้อแรกสุด คือ เมื่อมองเผินๆ "ศรีอโยธยา" ของ ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล หรือหม่อมน้อย และ "บุพเพสันนิวาส" ของภวัต…

ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับ “ศรีอโยธยา”

(หมายเหตุ เป็นการตั้งข้อสังเกตในฐานะคนที่ตามดู "หนัง/ละครอิงประวัติศาสตร์ไทย" มาพอสมควร และสนใจเรื่องการสร้าง "ภาพแทน" ของชนชั้นนำในประวัติศาสตร์ผ่านสื่อบันเทิงไทยอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์อยุธยาและมิได้เป็นคนที่ตามผลงานของ "หม่อมน้อย" มาอย่างเข้มข้นจริงจัง) หนึ่ง ไม่รู้เป็นข้อดีหรือข้อเสีย (ณ ตอนนี้ ยังประเมินได้ไม่ชัด) แต่เหมือน "หม่อมน้อย" จะ "ทบทวนวรรณกรรม" มาเยอะมาก จนเห็นได้ว่าผลงานเรื่องนี้มีจุดอ้างอิงถึงผู้มาก่อนหน้าเต็มไปหมด จนแทบกลายเป็น "ยำใหญ่ใส่สารพัด" ในแง่นิยาย/ละคร แน่นอน "ศรีอโยธยา" มีองค์ประกอบบางด้านที่เหมือน/คล้าย "เรือนมยุรา" มีตัวละครเดินเรื่องกลุ่มหนึ่งที่ไปพ้องกับ "ฟ้าใหม่"…