ไม่ควรพลาด! เทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 22 ที่หอภาพยนตร์ ศาลายา

แวะเวียนมาบรรจบอีกคราวกับเทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 22 ซึ่งครั้งนี้เป็นหนแรกสุด ที่งานทั้งหมดจะย้ายมาจัด ณ หอภาพยนตร์ ศาลายา ระหว่างวันที่ 8-16 กันยายน 2561 เทศกาลภาพยนตร์สั้นหนนี้ยังอัดแน่นไปด้วยโปรแกรมจัดฉายหนังสั้นทั้งของไทยและต่างประเทศจำนวนมากมายเช่นเคย ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ ขณะเดียวกัน ความแปลกใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา ก็คือ งานเสวนาที่หลากหลาย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการโพสต์โปรดักชั่นในยุคดิจิทัล, การใช้โอเพ่นซอร์สซอฟแวร์ในการสร้างแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ของตนเอง ไปจนถึง กระบวนการพัฒนาโปรเจ็คท์ภาพยนตร์ขนาดยาว นอกจากนั้น ในวันอังคารที่ 11 กันยายน ยังจะมี งานประชุมวิชาการด้านภาพยนตร์ศึกษา ครั้งที่ 8…

เขียนถึง “หนังสั้น 21” เท่าที่ได้ดู (2)

ย้ายรัง (ติณห์นวัช จันทร์คล้อย) ในแง่ "ความเป็นหนัง" แบบ "เพียวๆ" หนังสารคดีเรื่องนี้อาจไม่โดดเด่นทรงพลังมากนัก แต่ผมชอบสิ่งที่ "ย้ายรัง" พยายามนำเสนอ นั่นคือ การฉายภาพให้เห็นถึง "กระบวนการแทบทุกส่วน" ของการทำหนังสารคดี เพื่อตอบโจทย์ทางสังคมและโจทย์ขององค์กรที่มอบเงินทุนสนับสนุน หากพิจารณาลงลึกไปในแต่ละเสี้ยวส่วน "ย้ายรัง" อาจไม่ได้มีอะไรใหม่หรือเตะตาแบบสุดๆ เช่น การเผยให้เห็นตัวตน-วิธีคิดของคนทำหนัง/กิจกรรมเพื่อสังคม หรือ การให้บรรดาซับเจ็คท์ในหนังได้มีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เรื่องราว ก็มีหนังสารคดีเรื่องอื่นทำกันมาจนเกร่อแล้ว หรือเอาเข้าจริง ในตอนจบที่ฉายให้เห็นผลลัพธ์ของโครงการพัฒนาที่หนังสารคดีเรื่องนี้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ออกจะดู "แปลกๆ" และ "ผิดที่ผิดทาง"…

เขียนถึง “หนังสั้น 21” เท่าที่ได้ดู (1)

"Bangkok Dystopia" (ปฏิพล ทีฆายุวัฒน์) หนังเล่าเรื่องราวในค่ำคืน/เช้ามืดที่มีการประกาศกฎอัยการศึก ก่อนเกิดรัฐประหารปี 2557 จุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อมีผู้โดยสารสองรายถูกเชิญ (ไล่) ลงจากรถเมล์ เนื่องจากการประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้รถเมล์สายนี้ไม่สามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางที่เขาและเธอต้องการได้ทัน ผู้โดยสารคนแรกเป็นหญิงสาวผิวเข้มตาคม อายุน่าจะราวๆ 20 ต้นๆ หรือใกล้ 20 เธอมีบุคลิก การแต่งกาย และสีหน้าแววตาที่ช่ำชองและกร้านโลกพอสมควร พอลงจากรถเมล์ หญิงสาวพยายามโทรศัพท์เรียกให้แฟนขี่มอเตอร์ไซค์มารับ แต่เสียงจากปลายสายคล้ายจะปฏิเสธ ผู้โดยสารคนที่สองเป็นเด็กหนุ่มที่น่าจะเพิ่งเริ่มเรียน ม.ปลาย เขามีแววตาใสซื่อบริสุทธิ์ จนคล้ายจะมีคำถามและความสงสัยใคร่รู้ต่างๆ ผุดพรายออกมาจากดวงตาคู่นั้น เด็กหนุ่มบอกว่าเพิ่งเขาไปติววาดรูปช่วงเย็น และพอเลิกเรียนก็ยังไม่อยากกลับบ้าน…

‘จิตร โพธิ์แก้ว’ และงานหนังสั้นมาราธอน

ปีนี้ เป็นปีแรก ที่เทศกาลหนังสั้น ซึ่งจัดโดยมูลนิธิหนังไทย ตัดสินใจงดกิจกรรมฉายหนังสั้นมาราธอนในช่วงก่อนเริ่มต้นเทศกาล (คงเพราะด้วยเหตุผล-ความจำเป็น-ข้อจำกัดบางประการของทางทีมงาน) ทำให้นึกถึงบทความแปลชิ้นหนึ่งของตัวเองที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2553 ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยความพิเศษและจุดแข็งของงานหนังสั้นมาราธอนในมุมมองของ "คุณจิตร โพธิ์แก้ว" นักดูหนัง ผู้เป็นแฟนประจำของกิจกรรมฉายหนังดังกล่าว ก่อนหน้านี้ พยายามค้นหาไฟล์ของบทความชิ้นนี้อยู่นานมาก แต่ก็หาไม่พบ กระทั่งมาเจอเวอร์ชั่นกระดาษของมัน เลยลองสแกนผ่านแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์ (ได้ผลลัพธ์ที่พออ่านออก แต่อาจจะไม่เนี้ยบนัก) แล้วนำมาเผยแพร่อีกครั้งผ่านบล็อกนี้ ในรูปแบบไฟล์พีดีเอฟครับ มาร่วมรำลึกถึง "งานหนังสั้นมาราธอน" กันครับ 'จิตร โพธิ์แก้ว' และงานหนังสั้นมาราธอน (PDF)  …

รวมโปรแกรมพิเศษน่าสนใจ จากเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 20

จะเริ่มต้นขึ้นพรุ่งนี้แล้ว สำหรับเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 20 นอกจากโปรแกรมหลัก ที่รับประกันคุณภาพอยู่แล้ว อย่างสายการประกวด "รัตน์ เปสตันยี" สำหรับบุคคลทั่วไป สาย "ช้างเผือก" สำหรับนักศึกษา สาย "ช้างเผือกพิเศษ" สำหรับน้องๆ เยาวชน สายรางวัล "ดุ๊ก" สำหรับหนังสารคดี สายรางวัล "ปยุต เงากระจ่าง" สำหรับหนังแอนิเมชั่น และสายการประกวดของหนังสั้นต่างประเทศ รวมถึงโปรแกรมหนังสั้นเควียร์, หนังสั้นน่าสนใจจากเทศกาล Clermont-Ferrand ประเทศฝรั่งเศส, โปรแกรม S-Express…

เผยแล้วโปรแกรมเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 20 มีผลงานของวี วิโอเลต และสายป่าน อภิญญา ด้วย

มูลนิธิหนังไทยได้ประกาศรายชื่อหนังสั้นไทยที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 20 รวมถึงโปรแกรมภาพยนตร์สายอื่นๆ ออกมาเรียบร้อยแล้ว น่าสนใจว่า ในสายหนังสั้นนักศึกษา ที่จะชิงรางวัล "ช้างเผือก" มีผลงานเรื่อง "Glitter and Smoke" ของนักร้อง-นักแสดง "วิโอเลต วอเทียร์" ได้เข้ารอบสุดท้ายด้วย โดยวี วิโอเลต ศึกษาอยู่ที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันในสายหนังสั้นทั่วไป ที่ผู้ชนะเลิศจะได้รับรางวัล "รัตน์ เปสตันยี" ก็มีผลงานเรื่อง "โปรดระวังเขตอันตรายข้างหน้า โปรดระวังเขตอันตรายข้างหน้า โปรดระวังเขตอันตรายข้างหน้า (Shortcut)" โดย…