คนมองหนัง Midsommar: “เทศกาล” ในอุดมคติ? ของนัก (เรียน) มานุษยวิทยา 4 Sep 20194 Sep 2019 (เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์) หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=V5umHfC9sfA เข้าไปดูหนังเรื่องนี้โดยแทบไม่รู้อะไรมาก่อน ไม่รู้จักผู้กำกับ คือ “อารี แอสเตอร์” และไม่เคยดูหนังเรื่องอื่นๆ ของเขา ที่พอรู้เลาๆ คือ หนังเรื่องนี้เหมือนจะเป็น “ภาพยนตร์สยองขวัญ” ครั้นเมื่อเข้าไปดูจริงๆ ในโรงหนัง ผมกลับรู้สึกว่า นี่เป็นภาพยนตร์ที่นักมานุษยวิทยาหรือคนเรียนมานุษยวิทยาน่าจะชอบ อิน หรืออยากอภิปรายถกเถียงกับมันมากๆ โดยส่วนตัว ผมอยากจะลองนิยาม (มั่วๆ) ให้ “Midsommar” เป็น “anthropological film” ซึ่งมิได้หมายถึงภาพยนตร์สารคดีชาติพันธุ์ (ethnographic…
แขกรับเชิญ อรดี อินทร์คง: (ความหล่นหายไปของ) เสียงที่หลากหลายใน “ดินไร้แดน” 27 Aug 201927 Aug 2019 (บทความชิ้นนี้เขียนโดย “อรดี อินทร์คง” นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยคอร์แนล) Soil without Land ดินไร้แดน **spoil เต็มๆ เลยเน้อ** https://www.youtube.com/watch?v=32Fh67tRnso ดินไร้แดน เป็นหนังสารคดีเล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของ จายแสงลอด เด็กหนุ่มชาวไทใหญ่ที่เคยเข้ามาทำงานในเชียงใหม่ แต่ด้วยเงื่อนไขสำคัญเรื่องบัตรประจำตัว ทำให้เขาตัดสินใจเลือกกลับไปอยู่บ้าน บริเวณชายแดนไทย-รัฐฉาน และเข้าฝึกทหารที่ดอยก่อวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในฐานที่ตั้งกองกำลังกู้ชาติรัฐฉาน หากก้าวข้ามเรื่องราวชีวิตของจายแสงลอดไปแล้ว สิ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับเราก็คือ การเข้าไปนั่งฟังเสียงต่างๆ ในหนังเรื่องนี้ ทั้งเสียงสนทนา เสียงที่บันทึกสด เสียงเพลงประกอบ…
คนมองหนัง บันทึกถึง “กรงกรรม” (2): ก่อนอวสาน 29 Apr 201930 Apr 2019 หนึ่ง ในบันทึกชิ้นก่อนหน้านี้ เคยตั้งข้อสังเกตถึงลักษณะเด่นเชิง “พื้นที่” ซึ่งปรากฏในละครเรื่อง “กรงกรรม” นั่นคือ เครือข่ายของจักรวาลน้อยๆ ที่มีศูนย์กลางอยู่ ณ “บ้านแบ้” ในตลาดชุมแสง ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้คนในอีกหลายๆ ตำบลของอำเภอชุมแสง ตลอดจนอำเภออื่นๆ ร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ถ้าเปรียบคนเขียนนิยาย คนเขียนบทละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ หรือกระทั่งคนดู เป็นเหมือน “นักมานุษยวิทยา” ที่เดินทางไปทำงานภาคสนามเพื่อศึกษาชีวิตของ “คนบ้านแบ้” “สนาม” ที่พวกเขาศึกษา ก็มิใช่หมู่บ้านชนบทอันห่างไกล เดี่ยวๆ โดดๆ หากเป็นโครงข่ายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในหลายๆ พื้นที่…
คนมองหนัง Short Note: หนังใหม่น่าสนใจที่ได้ดูในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2562 6 Mar 20196 Mar 2019 (หมายเหตุ 1-2 ปีหลัง ผมจะเขียนบันทึกสั้นๆ ถึงหนังที่ได้ดูไว้ในเฟซบุ๊กส่วนบุคคล แต่ไม่ได้ตั้งค่าเปิดเผยต่อสาธารณะ ปีนี้ เลยอยากทดลองนำบางส่วนของโน้ตเหล่านั้นมาปรับปรุงและเผยแพร่ในวงกว้างผ่านบล็อก อย่างไรก็ตาม สำหรับหนังเรื่องไหนที่ผมชอบมากและสามารถเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ยาวๆ ได้ ก็จะนำไปแยกเขียนเป็นชิ้นงานต่างหากเหมือนที่เคยทำครับ) Spider-Man: Into the Spider-Verse หนังสนุกและน่าสนใจดี แม้จะยังรู้สึกว่าถ้าประเด็นหลักของหนังคือการชู “พหุนิยม” หนังก็ยังแค่แตะๆ ประเด็นดังกล่าว และคลี่คลายมันอย่างง่ายๆ แต่อีกด้านหนึ่ง ก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เข้าท่าดีเหมือนกัน ที่แสดงให้เห็นว่า "สไปเดอร์แมน" จากจักรวาลที่หลากหลาย อาจไม่ได้มารวมตัวปฏิบัติภารกิจยิ่งใหญ่ร่วมกันเพื่อคุณค่าอย่างอื่น นอกเสียจากการปกป้องผลประโยชน์เฉพาะ/จักรวาลของตนเอง ก่อนที่ทั้งหมดจะแยกย้ายกลับบ้านใครบ้านมัน…
ข่าวบันเทิง รู้จัก Cultural Anthropologist (นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม?) ในกองถ่าย Call Me by Your Name 3 Jan 20183 Jan 2018 สำหรับบางคนที่ได้ดูหนังเรื่อง Call Me by Your Name แล้ว คงพอสังเกตเห็นว่าในตอนจบนั้น มีการขึ้นเครดิตว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ มี Cultural Anthropologist ประจำกองถ่ายด้วย อย่างไรก็ดี "Cultural Anthropologist" ประจำกองถ่ายหนังเรื่อง Call Me By Your Name อาจมิได้หมายถึงนักวิชาการทางด้าน "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" แบบตรงตัวซะทีเดียว เพราะผู้ที่มาทำหน้าที่ดังกล่าว ก็คือ "คาร์โล อันโตเนลลี่" เท่าที่ลองเสิร์ชหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต…
คนมองหนัง “สันติ-วีณา” : ประสบการณ์ “พิเศษ” ของคนดูหนัง 1 Aug 201618 Mar 2020 (ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 29 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม 2559) https://www.youtube.com/watch?v=VsDCxfSDgds (ชมภาพยนตร์เรื่อง "สันติ-วีณา" ได้ที่นี่) สองเดือนที่แล้ว มีข่าวคราวสำคัญสำหรับวงการหนังไทย เมื่อ "สันติ-วีณา" ผลงานการกำกับของ "ครูมารุต" หรือ "ทวี ณ บางช้าง" ภาพยนตร์ไทยขนาดยาวเรื่องแรกที่ไปได้รางวัลจากงานประกวดระดับนานาชาติ และหนังไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำในระบบ 35 ม.ม. ได้รับคัดเลือกเข้าไปฉายในสาย "คานส์ คลาสสิคส์" ถือเป็นตัวแทนหนึ่งเดียวของไทย ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ปีล่าสุด…