จาก “เทวดามีหาง” ใน “จันทร์ สุริยคาธ” ถึง “ไก่ชน-ม้าบินพาลเทพ” ใน “นางสิบสอง/พระรถเมรี”

การต้องกลายร่างเป็น “ไก่ชนเทวดา” และ “ม้าบินพาชี” ของ “พาลเทพ” ไม่ใช่ครั้งแรกของจักรวาลละครจักรๆ วงศ์ๆ สามเศียร ซึ่งตัวละครเทวดาถูกสาปให้มีเรือนร่างเป็นสัตว์เพื่อชดใช้ความผิด อย่างน้อยที่สุด เมื่อย้อนไปในปี 2556 ละครเรื่อง “จันทร์ สุริยคาธ” ซึ่งเล่นกับการกลับหัวกลับหางของระบบระเบียบ-ฐานานุศักดิ์อย่างเมามัน ก็เคยกำหนดให้สองเทวดา คือ “พระรำพัด” และ “พระรำเพย” ต้องมีหางงอกออกจากบริเวณก้นประหนึ่งสุนัขมาแล้ว เทวดาทั้งสององค์ได้รับบัญชาจาก “พระอินทร์” ให้คอยมาจับตาดูและผลักดันสองพี่น้อง “จันทคาธ” กับ “สุริยคาธ” ให้สามารถนำ…

ก่อนจะเป็น “ไก่ชนเทวดา” ใน “นางสิบสอง 2562”

ตัวละคร “ไก่ชนเทวดา (พาลเทพ)” ที่ถูกสาปโดยพระอินทร์ ใน “นางสิบสอง 2562” นั้นถือเป็นนวัตกรรมโดดเด่นข้อหนึ่งใน ละครจักรๆ วงศ์ๆ “นางสิบสองฉบับล่าสุด” อย่างไรก็ดี “ไก่ชน” กับนิทาน “นางสิบสอง” และ/หรือ “พระรถเมรี” นั้นมีความข้องเกี่ยวกันมาเนิ่นนานแล้ว จึงอยากเชิญชวนทุกท่านไปพินิจพิจารณาความเป็นมาของ “ไก่ชน” ในดินแดนอุษาคเนย์ และบทบาททางวัฒนธรรมของสัตว์ชนิดนี้ ก่อนจะมีพัฒนาการกลายเป็น “ไก่เทวดา” ในปี 2562 เนื้อหาทั้งหมดสรุปความจากบทความ “อนุภาคการชนไก่ในนิทานเรื่องพระรถเมรี: ร่องรอยสู่ความเป็น ‘เมือง’…

เฉลย! “สุวิชา” ผู้เขียนบท “นางสิบสอง 2562” คือมือเก๋า “รัมภา ภิรมย์ภักดี”

เพิ่งเสิร์ชเจอบทสัมภาษณ์ ชีวิต-แนวคิดการเขียนบทละครจักรๆ วงศ์ๆ ของ “รัมภา ภิรมย์ภักดี” ต้นตอวลี “แม่ไม่ปลื้ม” โดย กันตพงศ์ ก้อนนาค ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2562 นี่คือบทสัมภาษณ์ “ครูตุ้ม รัมภา ภิรมย์ภักดี” ว่าด้วยงานเขียนบทโทรทัศน์ละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่เข้มข้นจริงจังชิ้นหนึ่ง และทำให้ได้รับทราบข้อมูลชัวร์ๆ แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าผู้เขียนบท “นางสิบสอง 2562” ผ่านนามปากกา “สุวิชา” ก็คือ…