“พระสุธนมโนราห์” นี่คือเรื่องพรหมลิขิตหรือมิใช่?

คำถามสำคัญที่ “นางสิบสอง-พระรถเมรี” (2562-63) ทิ้งค้างเอาไว้ ก็คือ ปริศนาที่ว่ามนุษย์จะสามารถต่อสู้/ดิ้นรน/ขัดขืนได้มากน้อยเพียงใด? ถ้าหากชะตากรรมของพวกเราได้ถูกกำหนดเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ถึงแม้เส้นเรื่อง “นางสิบสอง” จะอวสานลงอย่างมีความสุข เมื่อลูกสาวทั้ง 12 นาง ได้รับดวงตาคืน และได้กลับมาพบกับพ่อแม่ที่พลัดพรากกันมานานหลายสิบปี ผิดกับเส้นเรื่อง “พระรถเมรี” ที่ความรักอันไม่สมหวังระหว่าง “รถเสน” กับ “เมรี” ต้องพบจุดจบในลักษณะโศกนาฏกรรม อย่างไรก็ดี บทสรุปที่ตรงกันข้ามกันดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่หลายๆ ฝ่ายรู้กันดีอยู่แล้ว ว่ามันจะต้องเกิดขึ้น เพื่อนบ้านของเศรษฐีนนท์และแม่จัน ผู้มีความสามารถด้านการดูหมอ-นั่งทางใน ก็เคยบอกตั้งแต่ตอนต้นๆ เรื่อง…

“นางสิบสอง-พระรถเมรี” จบบริบูรณ์ที่ 63 ตอน

อำลา “นางสิบสอง-พระรถเมรี” (2562-63) https://www.instagram.com/p/B9GZl32AMmz/ ในที่สุด ละครจักรๆ วงศ์ๆ “นางสิบสอง-พระรถเมรี” ฉบับล่าสุด ก็เดินทางมาถึงตอนอวสาน (ตอนที่ 63) ในวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2563 แน่นอนว่าละครเรื่องนี้ต้องปิดฉากลงด้วยเหตุโศกนาฏกรรม สิ่งที่ต้องจับตาดูกันจึงได้แก่ บทโศกที่ว่านั้นจะเศร้าแค่ไหน? แตกต่างจากละครฉบับก่อนๆ อย่างไร? นอกจาก “เมรี” และ “นางยักษ์สันธมาลา” แล้ว จะมีตัวละครรายใดที่ต้องสูญสิ้นชีวิตอีกบ้าง? (สัปดาห์หน้า บล็อกคนมองหนังจะเผยแพร่งานเขียนที่สรุปประมวลจุดน่าสนใจของ “นางสิบสอง-พระรถเมรี”…

จาก “เทวดามีหาง” ใน “จันทร์ สุริยคาธ” ถึง “ไก่ชน-ม้าบินพาลเทพ” ใน “นางสิบสอง/พระรถเมรี”

การต้องกลายร่างเป็น “ไก่ชนเทวดา” และ “ม้าบินพาชี” ของ “พาลเทพ” ไม่ใช่ครั้งแรกของจักรวาลละครจักรๆ วงศ์ๆ สามเศียร ซึ่งตัวละครเทวดาถูกสาปให้มีเรือนร่างเป็นสัตว์เพื่อชดใช้ความผิด อย่างน้อยที่สุด เมื่อย้อนไปในปี 2556 ละครเรื่อง “จันทร์ สุริยคาธ” ซึ่งเล่นกับการกลับหัวกลับหางของระบบระเบียบ-ฐานานุศักดิ์อย่างเมามัน ก็เคยกำหนดให้สองเทวดา คือ “พระรำพัด” และ “พระรำเพย” ต้องมีหางงอกออกจากบริเวณก้นประหนึ่งสุนัขมาแล้ว เทวดาทั้งสององค์ได้รับบัญชาจาก “พระอินทร์” ให้คอยมาจับตาดูและผลักดันสองพี่น้อง “จันทคาธ” กับ “สุริยคาธ” ให้สามารถนำ…

“พระรถเมรี 2562” เมื่อ “ฤาษีแปลงสาร” ไม่ได้มีความสำคัญอีกต่อไป

แฟนละครจักรๆ วงศ์ๆ หลายคน อาจรู้สึกผิดแปลก-ไม่คุ้นเคยกับความสัมพันธ์ของ “รถเสน” กับ “เมรี” ใน “นางสิบสอง-พระรถเมรี” เวอร์ชั่น 2562 เพราะทางสามเศียรได้เปลี่ยนแปลงบทให้ตัวละครนำคู่นี้พบปะรู้จักกันตั้งแต่วัยเด็ก และเมื่อโตขึ้น ทั้งคู่ยังได้สานสัมพันธ์กัน ก่อนหน้าเหตุการณ์ “พระฤาษีแปลงสาร” และ “รถเสนเข้าเมืองทานตะวัน” เท่ากับว่า “เมรี” จะไม่ได้เข้าใจผิด-ถูกหลอก-ลุ่มหลงในตัว “รถเสน” เพราะกระบวนการ “ฤาษีแปลงสาร” เสียทีเดียว (และอาจไม่ได้ “ขี้เมา” อีกด้วย) นั่นทำให้แฟนละครจำนวนหนึ่งเชื่อว่าดราม่าและโศกนาฏกรรมช่วงท้ายละคร “นางสิบสอง” ฉบับนี้…

ก่อนจะเป็น “ไก่ชนเทวดา” ใน “นางสิบสอง 2562”

ตัวละคร “ไก่ชนเทวดา (พาลเทพ)” ที่ถูกสาปโดยพระอินทร์ ใน “นางสิบสอง 2562” นั้นถือเป็นนวัตกรรมโดดเด่นข้อหนึ่งใน ละครจักรๆ วงศ์ๆ “นางสิบสองฉบับล่าสุด” อย่างไรก็ดี “ไก่ชน” กับนิทาน “นางสิบสอง” และ/หรือ “พระรถเมรี” นั้นมีความข้องเกี่ยวกันมาเนิ่นนานแล้ว จึงอยากเชิญชวนทุกท่านไปพินิจพิจารณาความเป็นมาของ “ไก่ชน” ในดินแดนอุษาคเนย์ และบทบาททางวัฒนธรรมของสัตว์ชนิดนี้ ก่อนจะมีพัฒนาการกลายเป็น “ไก่เทวดา” ในปี 2562 เนื้อหาทั้งหมดสรุปความจากบทความ “อนุภาคการชนไก่ในนิทานเรื่องพระรถเมรี: ร่องรอยสู่ความเป็น ‘เมือง’…

ทำไม จู่ๆ “นางสิบสอง” จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “พระรถเมรี”?

ก่อนหน้าปีใหม่ 2563 ละครจักรๆ วงศ์ๆ “นางสิบสอง 2562” ก็ได้ฤกษ์ “รีแบรนด์” ตัวเองครั้งสำคัญ โดยในการแพร่ภาพตอนที่ 44 ประจำวันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2562 นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงไตเติ้ลก่อนเข้าละครแล้ว ยังมีการเปลี่ยนชื่อละครเป็น “พระรถเมรี” ด้วย นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ค่ายสามเศียรเลือกใช้กลยุทธ์เช่นนี้ เพราะก่อนหน้านี้ ละคร “ดิน น้ำ ลม ไฟ” (2559) ก็เคยเปลี่ยนชื่อเป็น “สี่ยอดกุมาร”…