“เพลงไทยเพราะๆ” ที่มี “ทำนอง-เนื้อหา” เหมือน “เพลงต่างประเทศ” (แต่เราก็ยังชอบฟังอยู่ดี)

ตอนนี้ หลายคนกำลังถกเถียงกันเรื่องผลงานเพลงของศิลปินหนุ่มดาวรุ่งผู้โด่งดังรายหนึ่งของวงการดนตรีสากลไทยร่วมสมัย ที่ว่ากันว่ามีความคล้ายคลึงกับเพลงของศิลปินต่างประเทศกลุ่มหนึ่ง (บางคนพยายามชี้แจงว่าศิลปินไทยได้รับแรงบันดาลใจเท่านั้น) บล็อกเราจะไม่ขอลงรายละเอียดเกี่ยวกับดราม่าดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้ติดตามผลงานของศิลปินไทย-เทศคู่นี้อย่างละเอียดมากนัก ประเด็นที่อยากนำเสนอ ก็คือ การรวบรวมเพลงไทยจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรายังชอบเปิดฟังอยู่บ่อยๆ แม้จะพอรับรู้ว่าผลงานเหล่านั้นนำท่วงทำนอง (หรือหลายกรณี ก็รวมถึงเนื้อหา) มาจากต่างประเทศ หลายเพลงถูกผลิตขึ้นในยุคที่การแปลเนื้อหาและการใช้ทำนองเพลงต่างประเทศ ยังมิใช่ความผิดบาปของวงการดนตรี ส่วนบางเพลงก็อยู่ในช่วงคาบเกี่ยวหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างยุคสมัยข้างต้น กับยุคลงหลักปักฐานของอุตสาหกรรมดนตรี ที่ประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์เริ่มถูกให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น ขออนุญาตเริ่มต้นด้วยเพลงรุ่นคุณปู่คุณย่าอย่าง "เจ็ดวันที่ฉันเหงา" หนึ่งในเวอร์ชั่นแรกๆ ของเพลงนี้ คือ ฉบับที่ขับร้องโดย "เพ็ญแข กัลย์จาฤกษ์" https://www.youtube.com/watch?v=ZPrL1TypIS0 น่าสนใจว่าเพลงเพลงนี้ถูกนำมาใช้ประกอบภาพยนตร์ไทยร่วมสมัยหลายเรื่อง ตั้งแต่…

(ไม่ดราม่าประเด็น MV “ทศกัณฐ์”) ท็อปไฟว์เพลงป๊อปไทย ที่ร้อง-เล่าเรื่องราวแบบ “ยักษ์ๆ”

เห็นเขากำลังดราม่าประเด็น "ทศกัณฐ์" ศิลปะ "โขน" และเอ็มวี "เที่ยวไทยมีเฮ" กัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กำลังจะเสนอต่อไปนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีข้างต้น แต่ทางบล็อกของเราต้องการนำเสนอถึงบทเพลงป๊อปในยุคใกล้-ไกล ที่หยิบยกเอา "ยักษ์" มาเป็นสัญลักษณ์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวหรือตั้งประเด็นคำถามได้อย่างน่าสนใจมากกว่า แค่ฟังเพลงเหล่านี้ คุณก็จะได้รับรู้แล้วว่าวิธีการตีความหรือครุ่นคิดถึง "ยักษ์" ในสังคมไทยนั้น ก้าวไปไกลกว่าดราม่าที่เกิดขึ้นช่วงวันสองวันนี้มากมายนัก เฮ่อ! เป็นไปไม่ได้ เพลงอมตะของ "ดิ อิมพอสซิเบิล" ซึ่งเขียนคำร้อง-แต่งทำนองโดยศิลปินแห่งชาติ "ครูพยงค์ มุกดา" ครูพยงค์อุปมาให้ "ทศกัณฐ์" เป็นมาตรฐานสูงสุดบางประการ ซึ่งชายอาภัพรักผู้หนึ่งไม่สามารถจะไขว่คว้าหรือพุ่งทะยานไปยังจุดดังกล่าวได้…