ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับ “ศรีอโยธยา”

(หมายเหตุ เป็นการตั้งข้อสังเกตในฐานะคนที่ตามดู "หนัง/ละครอิงประวัติศาสตร์ไทย" มาพอสมควร และสนใจเรื่องการสร้าง "ภาพแทน" ของชนชั้นนำในประวัติศาสตร์ผ่านสื่อบันเทิงไทยอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์อยุธยาและมิได้เป็นคนที่ตามผลงานของ "หม่อมน้อย" มาอย่างเข้มข้นจริงจัง) หนึ่ง ไม่รู้เป็นข้อดีหรือข้อเสีย (ณ ตอนนี้ ยังประเมินได้ไม่ชัด) แต่เหมือน "หม่อมน้อย" จะ "ทบทวนวรรณกรรม" มาเยอะมาก จนเห็นได้ว่าผลงานเรื่องนี้มีจุดอ้างอิงถึงผู้มาก่อนหน้าเต็มไปหมด จนแทบกลายเป็น "ยำใหญ่ใส่สารพัด" ในแง่นิยาย/ละคร แน่นอน "ศรีอโยธยา" มีองค์ประกอบบางด้านที่เหมือน/คล้าย "เรือนมยุรา" มีตัวละครเดินเรื่องกลุ่มหนึ่งที่ไปพ้องกับ "ฟ้าใหม่"…

ความพร่าเลือนของรัฐ-ชาติ และความทับซ้อนของศาสนา ใน ‘สาบเสือที่ลำน้ำกษัตริย์’

หมายเหตุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ถือเป็นวาระครบรอบ 7 ปี แห่งการเสียชีวิตของ "บัณฑิต ฤทธิ์ถกล" หนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญของไทย   บล็อกคนมองหนังขอรำลึกถึงบัณฑิต ผ่านบทความว่าด้วย "สาบเสือที่ลำน้ำกษัตริย์" ภาพยนตร์ใน "ยุคปลาย" ของเขา ซึ่งถูกกล่าวถึงไว้ไม่มากนัก   บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารไบโอสโคป ภายหลังบัณฑิตเสียชีวิตได้ไม่นาน ไอ้กล่อมเป็นชายหนุ่มชาวโยเดีย/อยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปยังเมาะตะมะโดยกองทัพอังวะ เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ครั้นเมื่ออังวะกรีฑาทัพมารบกับกรุงเทพฯ ในสงครามเก้าทัพสมัยรัชกาลที่ 1 กล่อมก็ถูกกองทัพพม่าเกณฑ์ให้ไปร่วมรบด้วย หลังทัพอังวะพ่ายแพ้ที่สมรภูมิสามสบและท่าดินแดง…