


รวมสกู๊ป-งานเขียนเกี่ยวกับ “ดาวคะนอง” จากมติชนสุดสัปดาห์ สองฉบับล่าสุด
รู้จัก “ผู้กำกับฯ ดาวคะนอง” อีกหนึ่งหนังประวัติศาสตร์ “6 ตุลาฯ” (มติชนสุดสัปดาห์ 7-13 ตุลาคม 2559) คอลัมน์นี้เคยกล่าวถึงข่าวคราวของ “ดาวคะนอง” ภาพยนตร์โดย “อโนชา สุวิชากรพงศ์” ไปบ้างแล้ว แต่หากจะให้ทบทวนอีกครั้ง ก็คงสามารถบอกคร่าวๆ ได้ว่า “ดาวคะนอง” คือ “หนังการเมือง” ที่มีฉากหลังเป็นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทว่า อโนชาได้เลือกที่จะพร่าเลือนองค์ประกอบทางการเมืองในหนัง ผ่านการสร้างกรอบโครงที่มุ่งครุ่นคิดถึงประเด็นว่าด้วยพลังอันอธิบายได้ยากของ “เวลา” […]

ข้อสังเกตสั้นๆ หลังได้ชมหนังเรื่อง “ดาวคะนอง”
ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์) ถูกชวนให้ไปดูหนังเรื่องนี้ในรอบพิเศษ เพื่อรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาฯ ต้องขอขอบคุณทีมงานผู้สร้างมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ เมื่อได้ดูหนังแล้ว ก็พบว่าเป็นงาน “ยาก” มากๆ ที่จะเรียบเรียง-ประมวลความคิดออกมา เพื่อเขียนถึงหนังเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ เลยคิดว่า คงยังไม่เขียนบทความถึง “ดาวคะนอง” อย่างเป็นทางการ จนกว่าจะได้ดูซ้ำอีกอย่างน้อยสักหนึ่งรอบในช่วงปลายปี ที่หนังจะเข้าฉายในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ที่จะเขียนต่อไปนี้ จึงเป็นเพียงข้อสังเกต-ความรู้สึกสั้นๆ ที่กระจัดกระจาย และไม่เป็นระบบระเบียบเท่าไหร่ครับ […]

รวมรายชื่อหนังที่พูดถึงเหตุการณ์ “6 ตุลา” (แบบคร่าวๆ) และลำดับเวลาออกฉาย
(อัพเดตเนื้อหา ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2561) 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยภาระหน้าที่การงานบางอย่าง ทำให้มีโอกาสได้นั่งทบทวนรายชื่อหนังไทย ที่พูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ผมจึงเพิ่งตระหนักว่าหนังกลุ่มนี้มีจำนวนไม่น้อยเลย อีกทั้งยังได้พบข้อมูลที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน นั่นคือ ปี 2552 ถือเป็นปีที่มีการสร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากที่สุด ลองมาอ่านรายละเอียดกันครับ รายชื่อหนังยาว-สั้นของไทยที่มีเนื้อหาหรือฉากหลังเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยเรียงลำดับตามปีที่ออกฉาย 2529 […]

ก่อนจะเป็น “ทะเลใจ”
(เผยแพร่ครั้งแรกในบล็อกคนมองหนัง “เก่า” เมื่อเดือนตุลาคม 2549) เมื่อ พ.ศ. 2533 ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ออกผลงานเดี่ยวของตนเองในชื่อชุด “โนพลอมแพลม” โดยเพลงเพลงหนึ่งที่มีเนื้อหาน่าสนใจในผลงานชุดดังกล่าว ก็คือ “ภควัทคีตา” ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากคัมภีร์ภควัทคีตา อันเป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะ เพลง ภควัทคีตา มีเนื้อหาว่าด้วยการที่ กฤษณะ เตือนให้ อรชุน ตัดสินใจยิงศรออกไปเพื่อพิฆาตข้าศึกซึ่งเป็นญาติวงศ์ของ อรชุน เอง ณ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร […]