บันทึกถึง “เณรกระโดดกำแพง”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=r3I2zW7Opjo โดยส่วนตัว ถ้าเทียบหนังเรื่องนี้กับงานชิ้นหลังๆ ของ “พี่สืบ บุญส่ง นาคภู่” ผมยังรู้สึกว่า “เณรกระโดดกำแพง” นั้นด้อยกว่า “ฉากและชีวิต” กับ “ธุดงควัตร” ทั้งในแง่การเล่าเรื่องและในแง่ศิลปะภาพยนตร์ หากถึงช่วงมอบรางวัลหนังไทยประจำปี 2561 ผมก็เห็นว่า “ฉากและชีวิต” สมควรได้เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมากกว่า “เณรกระโดดกำแพง” แต่ใช่ว่าหนังเรื่องหลังจะไม่มีจุดโดดเด่นเอาเลย อย่างน้อย นักแสดงนำบางคนนั้นมีศักยภาพพอจะเข้าชิงรางวัลสาขาการแสดงแน่ๆ หรือตัวบทภาพยนตร์ก็มีชั้นเชิงอยู่ไม่น้อย เช่นเดียวกัน ถ้าพูดถึงความเป็นหนัง “ธุดงควัตร” นั้นลงตัวและสวยงามกว่า “เณรกระโดดกำแพง”…

โน้ตสั้นๆ ถึง “ฉากและชีวิต” อีกเฉดสีของหนังชนบทไทยร่วมสมัย

หนึ่ง จะว่าไปแล้ว "ฉากและชีวิต" มีความคล้ายคลึงกับ "Die Tomorrow" ของ "นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์" อยู่ไม่น้อย ทั้งสองเรื่องนำเสนอ "ห้วงขณะสั้นๆ" ในส่วนเสี้ยวชีวิตของตัวละครหลายคนหลากกลุ่มเหมือนๆ กัน ผิดแต่เพียงว่าขณะที่ "Die Tomorrow" พูดถึงประเด็น "ความตาย" อันเกี่ยวพันกับตัวละครที่ส่วนใหญ่เป็น "คนเมือง" "ฉากและชีวิต" กลับเล่าถึงภาวะล่มสลายแตกกระจายของชุมชนแห่งหนึ่งในพื้นที่ชนบท สอง "ฉากและชีวิต" เป็นหนังไทยที่เล่าเรื่องของสังคมชนบท แต่บุญส่งมิได้นำเสนอภาพของชุมชนหมู่บ้านที่สมาชิกจำนวนมากมีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นลึกซึ้ง (ไม่ว่าจะในด้านบวกหรือลบ) นอกจากนั้น หนังยังมิได้นำเสนอภาพแทนของหมู่บ้านชนบท…

“ฉากและชีวิต” หนังเรื่องล่าสุดของ “บุญส่ง นาคภู่” เข้าฉายปลายมีนาคมนี้

https://www.facebook.com/plapenfilmstudio/videos/1736675736395686/?hc_ref=ARTSHXM3mHKANv2bF4vbb3irbzAo2BaUWRf5yHxKobMyH_uCcHW0eaeS_kjmh5IlT44&pnref=story   "ฉากและชีวิต" ภาพยนตร์อิสระเรื่องที่ 6 ของ "บุญส่ง นาคภู่" เตรียมเข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ลิโด้ ระหว่างวันที่ 22-28 มีนาคมนี้ โดยจะฉายเพียงวันละ 1 รอบ ในเวลา 18.30 น. ตลอดสัปดาห์ดังกล่าว บุญส่งแถลงถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า อยากเชิญชวนทุกคนไปชมนะครับ อย่างน้อยจะได้แลกเปลี่ยนกัน ผมทำหนังเรื่องนี้ด้วยใจจริงๆ เพื่อสื่อสารความจริงบางอย่างในชนบทไทย ให้ทุกคนได้ช่วยคิดช่วยแชร์ ทำด้วยเหตุปัจจัยที่มี โดยไม่รออะไร พยายามทำให้การทำหนังมันง่าย เหมือนนักเขียนเขียนหนังสือ กวีแต่งบทกวี…

“มหาลัยวัวชน” : ประวัติศาสตร์ บทเพลง และคนแพ้ที่เพิ่งสร้าง

https://www.youtube.com/watch?v=_U6GDa8VCqs หนึ่ง เมื่อหลายปีก่อน ขณะไปนั่งฟังการประชุมประจำปีของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรในหัวข้อ "ผู้คน ดนตรี ชีวิต" หนึ่งในนักวิชาการต่างชาติที่มาบรรยายในการประชุมครั้งนั้น เป็นนักมานุษยวิทยาดนตรีเชื้อสายไอริช วรรคทองหนึ่งซึ่งแกพูดขึ้นมา แล้วสร้างความฮือฮา-ซาบซึ้งให้แก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ "ผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์ ส่วนผู้แพ้ก็แต่งเพลงกันไป" เมื่อมาดูหนังเรื่อง "มหาลัยวัวชน" ผลงานล่าสุดของ "บุญส่ง นาคภู่" ผมก็ย้อนนึกไปถึงวรรคทองของนักมานุษยวิทยาไอริชคนนั้นอีกครั้ง เพราะผมรู้สึกในแวบแรกๆ ว่า "มหาลัยวัวชน" พยายามจะพูดถึงประเด็นหลักๆ อยู่สองเรื่อง เรื่องแรก คือ การต่อสู้ในโลกร่วมสมัยหรือการแสวงหาตำแหน่งแห่งที่ในฐานะปัจเจกบุคคล ของตัวละครนำผู้มีบุคลิกเป็น "คนแพ้"…

ชมหนังสั้น “คืนหนึ่งในปี ค.ศ.1940” โปรเจ็คท์ก่อนภาพยนตร์เรื่องยาว “สองคอน”

https://youtu.be/-xcN8RIjMtM "คืนหนึ่งในปี ค.ศ.1940" เป็นภาพยนตร์ขนาดสั้นซึ่งอิงเนื้อหาจากโครงการภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่อง "สองคอน" (MARTYRS) หนังสั้นเรื่องนี้ถูกถ่ายทำขึ้นเพื่อให้เห็น Mood and Tone โดยรวมของโครงการภาพยนตร์ขนาดยาวดังกล่าว หนังเล่าเรื่องราวเล็กๆ ก่อนเหตุการณ์การสละชีวิตของ "มรณสักขีแห่งสองคอน" ดังนี้ คืนหนึ่งในเดือนธันวาคม ค.ศ.1940 ณ หมู่บ้านสองคอน เด็กหญิงคนหนึ่งไข้ขึ้นสูง พ่อของเธอไปตามซิสเตอร์มาช่วยดูอาการ ในขณะที่บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ผู้เคยให้การรักษาชาวบ้านที่ป่วยด้วยโรคต่างๆ ถูกขับไล่ออกจากประเทศไทยแล้ว และครูคำสอนก็ถูกกักบริเวณ ชาวบ้านตกอยู่ในความหวาดกลัวภายใต้กฏอัยการศึกระหว่างกรณีพิพาทอินโดจีน การสวดภาวนาและดูแลศรัทธาชาวบ้านจึงต้องทำกันอย่างลับๆ ล่อๆ หนังเรื่องนี้กำกับ/เขียนบท โดย…

“ธุดงควัตร” : “หนังศาสนา” ชวนขบคิด ของ “บุญส่ง นาคภู่”

(ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 15-21 กรกฎาคม 2559) "ธุดงควัตร" เป็นผลงานภาพยนตร์ของ "บุญส่ง นาคภู่" ผู้เกิดในครอบครัวชาวนาที่จังหวัดสุโขทัย ต่อมาเขาบวชเป็นสามเณรเพื่อจะเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ก่อนจะเอ็นทรานซ์ติดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุญส่งที่ชื่นชอบศิลปะภาพยนตร์ตั้งแต่ครั้งยังเป็นเณร ได้เริ่มศึกษาศิลปะการแสดงจากการเข้าไปข้องแวะกับแวดวงละครเวที จากนั้นเขาหันมาทำหนังสั้น จนได้รับรางวัลสำคัญระดับประเทศ แล้วบุญส่งก็ก้าวเท้าเข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ทั้งในฐานะนักแสดงสมทบ และผู้กำกับภาพยนตร์ ระยะแรกเขากำกับ "หนังตลาดฟอร์มเล็ก" ที่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก คือ "191 ครึ่ง มือปราบทราบแล้วป่วน" และ "หลอน" ตอน "ผีปอบ"…