ในน้ำเน่ามีเงาจันทร์ เดวิด โครเนนเบิร์ก: ซีรีส์เน็ตฟลิกซ์ = นวนิยาย, หนังฉายโรง = เรื่องสั้น 20 Jul 201820 Jul 2018 "ผมเริ่มที่จะคิดว่า บางที สื่อภาพยนตร์ที่เทียบเท่าได้กับงานเขียน 'นวนิยาย' คือ 'ซีรีส์เน็ตฟลิกซ์' ซึ่งอาจจะดำเนินเรื่องติดต่อกันยาวนาน 5 ปี หรือ 7 ปี "จริงๆ แล้ว ซีรีส์เหล่านี้คือศิลปะชนิดใหม่ ที่ไม่เหมือนกับซีรีส์โทรทัศน์ยุคเก่า ผมได้ดูซีรีส์เน็ตฟลิกซ์บางเรื่อง ซึ่งผมคิดว่ามันมีคุณภาพยอดเยี่ยมทีเดียว อย่างเช่น Babylon Berlin ของทอม ทีคแวร์ งานประเภทนี้มีทั้งความมหัศจรรย์และความคล้ายคลึงกับนวนิยาย "ผมคิดว่าบางที 'ภาพยนตร์ฉายโรง' อย่างที่พวกเรารู้จักกัน น่าจะเปรียบได้กับการเขียน 'เรื่องสั้น' แต่ถ้าคุณต้องการเขียนนวนิยาย…
เด็กฝึกงานในร้านถ่ายเอกสาร “Little People” : ลัทธิความเชื่อ ระบอบเผด็จการ และพลังอำนาจของคนเล็กคนน้อย 16 Feb 201716 Feb 2017 (ปรับปรุงจากข้อเขียนที่เผยแพร่ครั้งแรกในเพจเฟซบุ๊ก "คนมองหนัง" เมื่อเดือนธันวาคม 2556) ตอนอ่านนวนิยายเรื่อง "1Q84" ของ "ฮารูกิ มูราคามิ" จบ เมื่อประมาณปี 2555 ผมขบคิดไม่ค่อยแตกว่าไอ้ "Little People" นี่มันมีนัยยะหมายถึงอะไร? จริงๆ กระทั่งตอนนั่งพิมพ์ข้อเขียนชิ้นนี้ ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ และไม่ค่อยได้ติดตามว่ามีใครตีความ/ถกเถียงเกี่ยวกับตัวละครกลุ่มดังกล่าวไว้อย่างไรบ้าง? https://thebookvineyard.files.wordpress.com/2012/02/air-chrysalis.jpg แต่พอมานั่งครุ่นคิดถึง "Little People" ของมูราคามิในช่วงปลายปี 2556 ก็เริ่มมองเห็นอะไรบางอย่างที่น่าสนใจดี ข้อแรก (ซึ่งหลายคนคงเอะใจตั้งแต่ตอนอ่านหนังสือ) คือ…
เด็กฝึกงานในร้านถ่ายเอกสาร อ่าน “พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ” 16 Jan 201716 Jan 2017 (มติชนสุดสัปดาห์ 6-12 มกราคม 2560) ในฐานะคนที่อ่านนิยายรางวัลซีไรต์เรื่อง "ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต" ไม่จบเล่ม ผมกลับพบว่าตัวเองรู้สึกเพลิดเพลินและสนุกสนานกับ "พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ" นิยายเล่มที่สองของ "วีรพร นิติประภา" จนสามารถอ่านหนังสือเล่มนี้จบภายในเวลาอันรวดเร็ว (และต้องเข้านอนตอนเช้าถึงสองวันติด) การทดลองเล่นกับภาษาอย่างมีเอกลักษณ์ของวีรพร ยังคงเป็น "ลักษณะเด่น" ของนิยายเรื่องล่าสุด ทว่า ปัจจัยที่ช่วยดึงดูดผมให้อยู่กับ "พุทธศักราชอัสดงฯ" ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เห็นจะเป็นรายละเอียดของเรื่องราวซึ่งมีฉากหลังคือบริบททางการเมืองไทย จากยุค 2475 มาถึงสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเย็น ตลอดจนการประกอบสร้างชีวประวัติของครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน ที่มิได้ดำเนินตามแนวทางว่าด้วยชีวิตรุ่งเรือง-ร่วงโรยของ "เจ้าสัว"…
คนมองหนัง “รุ่นพี่” : ผลงานสื่อผสมของ “วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง” 15 Dec 201522 Dec 2015 (มติชนสุดสัปดาห์ 11-17 ธันวาคม 2558) "รุ่นพี่" เป็นผลงานชิ้นใหม่ของ "วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง" หนึ่งในบุคลากรจากวงการโฆษณา ที่เข้ามาพลิกฟื้นคืนชีพอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง หรือช่วงต้นทศวรรษ 2540 เพื่อนร่วมรุ่นของวิศิษฏ์อย่าง "เป็นเอก รัตนเรือง" ดูเหมือนจะยังผลิตผลงานภาพยนตร์ออกมาเป็นระยะๆ แม้จะไม่จี๊ดจ๊าดแหวกแนวเหมือนเดิม แต่ก็ถือว่า "มีของ" สำหรับคนทำหนังที่อายุขึ้นต้นด้วยเลข 5 ขณะที่เพื่อนรุ่นเดียวกันอีกคนอย่าง "นนทรีย์ นิมิบุตร" ดูคล้ายจะโรยราไปพอสมควร ทั้งในวงการภาพยนตร์ และในวงการโทรทัศน์ วิศิษฏ์น่าจะคล้ายคลึงกับเป็นเอก…
เด็กฝึกงานในร้านถ่ายเอกสาร อ่าน “เนรเทศ” 7 Feb 201521 Feb 2015 (ปรับปรุงแก้ไข จากบทความที่เผยแพร่ครั้งแรกในมติชนสุดสัปดาห์ 30 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ 2558) เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้อ่านนวนิยายความยาว 200 กว่าหน้า เรื่อง “เนรเทศ” ของ “ภู กระดาษ” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน นวนิยายเรื่องนี้ บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวละครชื่อ “สายชน ไซยปัญญา” และคนในครอบครัวของเขา ซึ่งเป็น “ลูกอีสาน” ยุคใหม่ ที่ออกเดินทางไกลไปทำงานยังต่างบ้านต่างเมือง “เนรเทศ” มีสถานการณ์หลักจริงๆ อยู่เพียงสถานการณ์เดียว…