ความทรงจำเกี่ยวกับ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง”

หลังทราบข่าวการเสียชีวิตของ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง” ผู้ถือเป็นดาราสำคัญรายหนึ่ง สำหรับคนรุ่นๆ ผม (ที่อายุเกือบ 40 ปี) ขึ้นไป ผมก็ได้ย้อนรำลึกความหลังเกี่ยวกับนักแสดงผู้นี้ ผ่านโพสต์จำนวนมากมายของมิตรสหายในโซเชียลมีเดีย https://www.youtube.com/watch?v=yu0cOWnLW7Y ผมได้รำลึกถึงละครทีวี เช่น บ้านทรายทอง-พจมาน สว่างวงศ์ (2530) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) วนิดา (2534) ซึ่งเป็นผลงานที่เคยผ่านตาในวัยประถม แต่กลับจดจำรายละเอียดต่างๆ แทบไม่ได้แล้ว (รวมถึงศักยภาพในฐานะนักแสดงของศรัณยู…

ย้อนรำลึกอภิมหาโปรเจ็กต์ภาพยนตร์ “เพชรพระอุมา” ของ “ท่านมุ้ย”

ท่ามกลางบรรยากาศไว้อาลัยต่อการจากไปของ “พนมเทียน” นักประพันธ์ผู้สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมชุด “เพชรพระอุมา” บล็อกคนมองหนังขออนุญาตรำลึกถึง “เพชรพระอุมา” ในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งมีความข้องเกี่ยวกับวงการภาพยนตร์ไทย ก่อนหน้านี้ นิยายเรื่อง “เพชรพระอุมา” เคยได้รับการดัดแปลงเป็นหนังไทยอยู่หนึ่งครั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 โดยมี “ส.อาสนจินดา” เป็นผู้กำกับ อย่างไรก็ตาม เมื่อสิบกว่าปีก่อน “ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล” หรือ “ท่านมุ้ย” ได้ริเริ่มโปรเจ็กต์ภาพยนตร์เรื่อง “เพชรพระอุมา” ขึ้นมา (ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการถ่ายทำ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”) ระหว่างนั้น “ท่านมุ้ย”…

“พันท้ายนรสิงห์” อีกหนึ่งหนัง/ละครที่มาก่อนกาล ท่ามกลางกระแสฮิต “บุพเพสันนิวาส”

ภาวะฮิตระเบิดของ "บุพเพสันนิวาส" ทำให้หลายคนพยายามเปรียบเทียบละครทีวีเรื่องนี้กับ "ศรีอโยธยา" ซีรีส์เล่าเรื่องราวยุคเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดย "หม่อมน้อย" ของช่องทรูฯ หรือหนังใหญ่เมื่อ 14 ปีก่อนอย่าง "ทวิภพ" ฉบับ "สุรพงษ์ พินิจค้า" อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งผลงานบันเทิงที่มีความสอดคล้องใกล้เคียงกับ "บุพเพสันนิวาส" มากๆ คือ "พันท้ายนรสิงห์" ของ "ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล" หรือ "ท่านมุ้ย" แรกเริ่มเดิมที โปรเจ็กท์นี้ถูกผลิตเป็น "ภาพยนตร์โทรทัศน์" เพื่อป้อนช่อง…

รู้ไหม ทำไม “นัดจินหน่อง” ในตำนานสมเด็จพระนเรศวร จึงสวม “ชุดดำ” เกือบตลอดเวลา?

ในช่วงท้ายของงานเสวนา "แผ่นดินพระเจ้าเสือ และตำนานพันท้ายนรสิงห์" จัดโดยนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ที่มีอาจารย์สุเนตร ชุตินธรานนท์ จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เป็นที่ปรึกษาของท่านมุ้ย-หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในการสร้างภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์หลายเรื่องที่ผ่านมา เป็นวิทยากรนั้น คำถามหนึ่งที่ผู้ร่วมฟังส่งขึ้นมาบนเวที ก็คือ คำถามว่าด้วยที่มาของกระบวนการออกแบบเครื่องแต่งกายในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ โดย อ.สุเนตร ได้ยก case study น่าสนใจอันหนึ่งขึ้นมา เป็นกรณีศึกษาผ่านตัวละคร "นัดจินหน่อง" อุปราชตองอู (รับบทโดย น.อ.จงเจต วัชรานันท์) ในภาพยนตร์ชุด "ตำนานสมเด็จพระนเรศวร"…

“บทอวสาน” ที่ “ไม่จบ” ของ “แก้วหน้าม้า”

(ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 25-31 มีนาคม 2559) ละครจักรๆ วงศ์ๆ "แก้วหน้าม้า" ฉบับล่าสุด อวสานลงแล้วเมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา ณ ตอนที่ 102 อย่างไรก็ดี ละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่โกยเรตติ้งสูงมาโดยต่อเนื่องเรื่องนี้ กลับถูกแฟนละครในโลกออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์และบ่นใส่มิใช่น้อย ด้วยข้อหาฉกาจฉกรรจ์ "อวสาน" แบบ "จบไม่ลง" ทั้งนี้ คงต้องแยกพิจารณาข้อหาดังกล่าวออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ความผิดพลาดของผู้ผลิต…

“พันท้ายนรสิงห์” ฉบับท่านมุ้ย

(มติชนสุดสัปดาห์ 8-14 มกราคม 2559) "พันท้ายนรสิงห์" ผลงาน (ฟอร์มไม่ยักษ์) เรื่องล่าสุดของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย ถูกสร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์แรกเริ่ม ที่หวังจะผลิตให้เป็นละครโทรทัศน์ หรือ "ภาพยนตร์โทรทัศน์" (ในภาษาของท่านมุ้ย) แต่ด้วยเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่ลงตัว ละครหรือภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องนี้จึงเจอ "โรคเลื่อน" มีข่าวเผยแพร่ออกมาว่า ในขณะที่คนทำต้องการให้ผลงานของตนเองออกเผยแพร่ในช่วงไพรม์ไทม์หลังข่าวค่ำ ทว่า ทางช่องกลับต้องการโยกพันท้ายนรสิงห์ไปฉายในฐานะละครเย็น (ซึ่งจริงๆ อาจโกยเรตติ้งดีกว่าละครหลังข่าวก็ได้) ในที่สุด "พร้อมมิตร ภาพยนตร์"…

ปิดฉาก “ตำนานพระนเรศ”

(มติชนสุดสัปดาห์ 24-30 เมษายน 2558) เมื่อสองสัปดาห์ก่อน มีโอกาสได้ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6" ตอน "อวสานหงสา" ซึ่งถือเป็นภาคปิดท้ายของหนังชุดนี้ ที่ท่านมุ้ย หรือ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ทุ่มเทอุทิศเวลาในการสร้างรวมทั้งหมดทุกภาค ร่วมหนึ่งทศวรรษครึ่ง ไปชมในฐานะคนดูที่รู้สึกสนุกกับหนังสองภาคแรกอยู่ไม่น้อย ก่อนจะผิดหวังกับภาค 3 รวมทั้งไม่ได้ชมหนังภาค 4 กับ 5 (ถ้าจำไม่ผิด เหมือนเคยดูภาค 4 ผ่านๆ ที่ไหนสักแห่ง…