อรดี อินทร์คง: (ความหล่นหายไปของ) เสียงที่หลากหลายใน “ดินไร้แดน”

(บทความชิ้นนี้เขียนโดย “อรดี อินทร์คง” นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยคอร์แนล) Soil without Land ดินไร้แดน **spoil เต็มๆ เลยเน้อ** https://www.youtube.com/watch?v=32Fh67tRnso ดินไร้แดน เป็นหนังสารคดีเล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของ จายแสงลอด เด็กหนุ่มชาวไทใหญ่ที่เคยเข้ามาทำงานในเชียงใหม่ แต่ด้วยเงื่อนไขสำคัญเรื่องบัตรประจำตัว ทำให้เขาตัดสินใจเลือกกลับไปอยู่บ้าน บริเวณชายแดนไทย-รัฐฉาน และเข้าฝึกทหารที่ดอยก่อวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในฐานที่ตั้งกองกำลังกู้ชาติรัฐฉาน หากก้าวข้ามเรื่องราวชีวิตของจายแสงลอดไปแล้ว สิ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับเราก็คือ การเข้าไปนั่งฟังเสียงต่างๆ ในหนังเรื่องนี้ ทั้งเสียงสนทนา เสียงที่บันทึกสด เสียงเพลงประกอบ…

4 ประเด็นน่าสนใจใน “ขวานฟ้าหน้าดำ” (ช่วงเด็ก)

เป็นอันว่า “ขวานฟ้าหน้าดำ 2562” ได้เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านวัยของเหล่าตัวละครหลักเรียบร้อยแล้ว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บล็อกคนมองหนังจึงอยากจะขออนุญาตสรุปประเด็นน่าสนใจ 4 ข้อ ซึ่งปรากฏในละคร ช่วงที่ตัวละครนำยังเป็นเด็กอยู่ มิตรภาพระหว่าง “ขวาน” กับ “จ้อย” ต้องยอมรับว่าประเด็น “มิตรภาพ” ระหว่าง “ขวาน” กับ “จ้อย” นั้นพบได้ไม่บ่อยนักในละครจักรๆ วงศ์ๆ ทั่วไป หากคำนึงว่า “มิตรภาพ” ระหว่างทั้งคู่ คือ ความเป็นเพื่อนของชาวบ้านสามัญชน ที่ดำรงผ่านสัมพันธภาพอันเท่าเทียม และต้องต่อสู้ต่อต้านอำนาจ…

“มะลิลา”: เพ่งพินิจชีวิตปัจเจก ท่ามกลางความงดงามและความอัปลักษณ์

ปรับปรุงจากบทความ เขียนถึง "ไม่มีสมุยสำหรับเธอ" และ "มะลิลา" ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 8-14 ธันวาคม 2560 https://www.youtube.com/watch?v=ucYuomgAX5U ผมค่อนข้างเซอร์ไพรส์ เมื่อพบว่าเส้นเรื่องเกี่ยวกับความรัก-สายสัมพันธ์-ความพลัดพรากระหว่าง "เชน" (เวียร์ ศุกลวัฒน์) กับ "พิช" (โอ อนุชิต) ที่มีสัญลักษณ์สื่อกลาง คือ "การทำบายศรี" มิได้เป็นเส้นเรื่องหลักเส้นเรื่องเดียวของหนัง "มะลิลา" (ผลงานหนังยาวลำดับที่สองของ "อนุชา บุญยวรรธนะ") ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองครึ่งอย่างชัดเจน โดยมี "เชน"…

บันทึกฟุ้งๆ ถึง Bangkok Nites (กลางคืนที่บางกอก)

ศัตรูที่รัก และ/หรือ สายสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทยที่ไม่จบสิ้น https://www.youtube.com/watch?v=Nol2qVLH0ao Bangkok Nites เล่าเรื่องราวสายสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย สายสัมพันธ์ในหนังถูกบอกเล่าผ่านความสัมพันธ์ของสามัญชนคนเล็กคนน้อย ตลอดจนวัฒนธรรมชายขอบต่างๆ (ทั้งด้านสว่างและด้านมืด) มันเป็นทั้งความรัก ความพลัดพราก ความสมานฉันท์ และรอยบาดแผล หรืออาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ในหนัง ถูกนำเสนอออกมาในเชิง "ศัตรูที่รัก" ด้านหนึ่ง นี่ก็เป็นหนังสารภาพบาปจากมุมมองของญี่ปุ่น หนังไม่ได้พูดถึง "บาปใหญ่" ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หากพูดถึงผลลัพธ์ต่อเนื่องหลังจากนั้น นั่นคือ "บาป" ที่ญี่ปุ่น (และไทย) ร่วมก่อในช่วงสงครามเย็น เรื่อยมาถึง…

เวิลด์ ฟิล์ม ไดอารี่ (1) : The Wind Journeys กับ The Clan

The Wind Journeys (Ciro Guerra) ด้านหนึ่ง หนังก็เจือกลิ่น "สัจนิยมมหัศจรรย์" แบบอเมริกาใต้อยู่นิดๆ หน่อยๆ ตลอดเรื่อง แต่อีกด้าน ระหว่างชมภาพยนตร์ไปราวค่อนเรื่อง ผมก็รู้สึกว่านี่เป็น "หนังคาวบอย" ที่ใช้ "หีบเพลงชัก" เป็นอาวุธ และขี่ "ลา" เป็นพาหนะ โดย "ที่มา" และ "ที่ไป" ของตัวละครนำถูกทำให้คลุมเครือ หรือเปิดกว้างต่อการครุ่นคิดตีความพอสมควร หรือถ้าพูดกันแบบเวอร์ๆ เราอาจเรียกขานให้ The…

“อภิชาติพงศ์” ให้สัมภาษณ์สื่อฮ่องกง ไทยกำลังกลายเป็นส่วนผสมของสิงคโปร์-เกาหลีเหนือ

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ให้สัมภาษณ์กับ วิเวียน โจว แห่งเว็บไซต์ qz.com ว่าสภาพการเมืองการปกครองของประเทศไทยในช่วงสองปีที่ผ่านมา ภายหลังการรัฐประหาร มิได้เพียงนำพาประเทศให้ย้อนหลังกลับไปสู่อดีตเท่านั้น แต่สิทธิเสรีภาพของประชาชนพลเมืองยังถูกคุกคามอีกด้วย "มันกำลังกลายเป็นส่วนผสมระหว่างสิงคโปร์กับเกาหลีเหนือ" ผู้กำกับชื่อดัง กล่าวถึงบ้านเกิดเมืองนอนของตน อภิชาติพงศ์ให้สัมภาษณ์กับโจว ระหว่างเดินทางมาร่วมงานเปิดนิทรรศการศิลปะ The Serenity of Madness ของเขา ซึ่งจะสัญจรมาจัดแสดงที่ฮ่องกงจนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ นิทรรศการของคนทำหนังระดับโลกจากไทย เกิดขึ้นหลังจากที่ฮ่องกงเพิ่งมีการเลือกตั้งทั่วไป โดยอภิชาติพงศ์ชี้ว่า แม้คนฮ่องกงจะยังไม่ได้สัมผัสกับระบอบประชาธิปไตยแบบเต็มใบ แต่พวกเขาก็ยังได้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้แทนฯ ของตน…

ความสัมพันธ์สองด้าน ของ “ผู้กองยอดรัก” กับ “สังคมการเมืองไทย”

มติชนสุดสัปดาห์ 7-13 สิงหาคม 2558 เมื่อปลายเดือนก่อน เว็บไซต์ประชาไท เผยแพร่สกู๊ปข่าวภาษาอังกฤษหัวข้อ "Romancing the tanks: how military rom-com"s constant remakes since the '70s legitimize coups" (ซึ่งต่อมามีการแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ "ผู้กองยอดรัก: ละครรักกุ๊กกิ๊กเกี่ยวกับทหารที่ถูกสร้างใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐประหาร ตั้งแต่ทศวรรษ 1970") โดย ผู้เขียนที่ใช้ชื่อว่า "เอสรี ไทยตระกูลพาณิช"…