คนมองหนัง “ฮักบี้ บ้านบาก”: สายสัมพันธ์ระหว่าง “บ้านบาก” กับ “พระนคร-สยาม” และ “เอ็มเคสุกี้” 11 Sep 201911 Sep 2019 หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=mgoDF97ixg4 คนส่วนใหญ่อาจนิยามให้ “ฮักบี้ บ้านบาก” เป็น “หนังบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” อย่างไรก็ตาม จากรสนิยมและฉันทาคติส่วนตัว ผมเลือกจะมองว่า “ปื๊ด ธนิตย์ จิตนุกูล” ซึ่งมีเครดิตเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ย่อมมีบทบาทสำคัญต่อตัวหนังอยู่ไม่น้อยเช่นกัน “สวัสดีบ้านนอก” (2542) ผลงานของ “ปื๊ด ธนิตย์” ถือเป็นหนังไทยในดวงใจของผม ณ ช่วงแรกเริ่มดูหนังตอนต้นทศวรรษ 2540 น่าสนใจว่า “สวัสดีบ้านนอก” และ “ฮักบี้ บ้านบาก”…
คนมองหนัง “ยุคทอง” ใน Last Night I Saw You Smiling 7 Sep 201911 Sep 2019 ไม่ขอลงรายละเอียดหรือบรรยายอะไรเกี่ยวกับตัวหนังมากนัก เพราะคิดว่าคงมีท่านอื่นๆ เขียนถึงไปเยอะแล้ว หรือกำลังจะเขียนในอนาคตอันใกล้ โดยส่วนตัว รู้สึกว่าหนังสารคดีจากกัมพูชาเรื่องนี้มีความน่าสนใจอยู่ 2-3 จุด https://www.youtube.com/watch?v=HJzcUx_jUqM หนึ่ง คนดูจะไม่ได้มองเห็นรูปพรรณสัณฐานของ “the White Building” ช่วงก่อนถูกทุบ ในมุมกว้างๆ เลย แต่จะเห็นเพียงเสี้ยวเล็กส่วนน้อยภายในตึกหรือด้านนอกอาคาร รวมทั้งภาพนิ่งที่สื่อถึงความโอ่อ่าทันสมัยของมันเมื่อแรกสร้างเสร็จ ณ ทศวรรษ 1960 สอง ผมชอบที่หนังเลือกจับภาพส่วนเสี้ยวเล็กๆ กระจัดกระจายของบางชีวิตใน “the White Building” โดยไม่พยายามจะเชื่อมโยงแต่ละส่วนเข้าหากันเป็นองค์รวม หรือพยายามทำให้หลายๆ…
จักรๆ วงศ์ๆ วิทยาลัย วิเคราะห์ “ขวานฟ้าหน้าดำ” ตอนจบ: เมื่อผู้มีอำนาจ “เสียศูนย์” 4 Aug 20194 Aug 2019 https://www.youtube.com/watch?v=Y3nWJtoXOtk ละครจักรๆ วงศ์ๆ “ขวานฟ้าหน้าดำ 2562” ปิดฉากอวสานไปแล้วเมื่อวันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม ถ้าให้สรุปภาพรวมในฐานะคนที่ตามดูละครเรื่องนี้มาครบทั้ง 37 ตอน ก็ต้องบอกว่า “ขวานฟ้าหน้าดำ” เวอร์ชั่นล่าสุด นั้นดำเนินเรื่องสนุก-ฉับไว ฉากบู๊-เทคนิคพิเศษด้านภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ขาดไปแค่เพียงอารมณ์ขันในลักษณะ “หัวร่อต่ออำนาจ” ซึ่งเป็นคุณลักษณ์โดดเด่น ที่ละครจักรๆ วงศ์ๆ ยอดฮิต “ต้อง” มี ยิ่งกว่านั้น เพราะเป็นละครที่สร้างมาจาก “นิทานจักรๆ วงศ์ๆ ยุคใหม่” (บทประพันธ์ของ…
คนมองหนัง บันทึกถึง “กรงกรรม” (2): ก่อนอวสาน 29 Apr 201930 Apr 2019 หนึ่ง ในบันทึกชิ้นก่อนหน้านี้ เคยตั้งข้อสังเกตถึงลักษณะเด่นเชิง “พื้นที่” ซึ่งปรากฏในละครเรื่อง “กรงกรรม” นั่นคือ เครือข่ายของจักรวาลน้อยๆ ที่มีศูนย์กลางอยู่ ณ “บ้านแบ้” ในตลาดชุมแสง ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้คนในอีกหลายๆ ตำบลของอำเภอชุมแสง ตลอดจนอำเภออื่นๆ ร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ถ้าเปรียบคนเขียนนิยาย คนเขียนบทละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ หรือกระทั่งคนดู เป็นเหมือน “นักมานุษยวิทยา” ที่เดินทางไปทำงานภาคสนามเพื่อศึกษาชีวิตของ “คนบ้านแบ้” “สนาม” ที่พวกเขาศึกษา ก็มิใช่หมู่บ้านชนบทอันห่างไกล เดี่ยวๆ โดดๆ หากเป็นโครงข่ายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในหลายๆ พื้นที่…
ข่าวบันเทิง… เรตติ้งล่าสุด “เทพสามฤดู”-ตีความใหม่ “พระอภัยมณี”-รวม “มือระนาด” ช่วย “ป๋อม บอยไทย” 24 Nov 201724 Nov 2017 เรตติ้ง "เทพสามฤดู" ทรงๆ แต่ไม่ย่ำแย่ เรตติ้งละคร "เทพสามฤดู" ประจำวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2560 ยังทรงตัวอยู่ในระดับ "เกือบจะ" 6 โดยทั้งวันเสาร์ที่ 18 และอาทิตย์ที่ 19 ละครเรื่องนี้ต่างได้เรตติ้งไป 5.8 เท่ากัน https://www.instagram.com/p/BbtTbNznbjw/?taken-by=samsearn แม้จะไม่ถึงจุดพีกเกิน 7 ดังที่เคยทำได้ แต่ก็ไม่ขี้เหร่มากมาย เพราะคู่แข่งซึ่งออกอากาศในวันเดียวกันที่ชนะ "เทพสามฤดู" ขาดลอยจริงๆ ก็มีแค่ "สุดรักสุดดวงใจ"…
คนอ่านเพลง (ไม่ดราม่าประเด็น MV “ทศกัณฐ์”) ท็อปไฟว์เพลงป๊อปไทย ที่ร้อง-เล่าเรื่องราวแบบ “ยักษ์ๆ” 21 Sep 201621 Sep 2016 เห็นเขากำลังดราม่าประเด็น "ทศกัณฐ์" ศิลปะ "โขน" และเอ็มวี "เที่ยวไทยมีเฮ" กัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กำลังจะเสนอต่อไปนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีข้างต้น แต่ทางบล็อกของเราต้องการนำเสนอถึงบทเพลงป๊อปในยุคใกล้-ไกล ที่หยิบยกเอา "ยักษ์" มาเป็นสัญลักษณ์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวหรือตั้งประเด็นคำถามได้อย่างน่าสนใจมากกว่า แค่ฟังเพลงเหล่านี้ คุณก็จะได้รับรู้แล้วว่าวิธีการตีความหรือครุ่นคิดถึง "ยักษ์" ในสังคมไทยนั้น ก้าวไปไกลกว่าดราม่าที่เกิดขึ้นช่วงวันสองวันนี้มากมายนัก เฮ่อ! เป็นไปไม่ได้ เพลงอมตะของ "ดิ อิมพอสซิเบิล" ซึ่งเขียนคำร้อง-แต่งทำนองโดยศิลปินแห่งชาติ "ครูพยงค์ มุกดา" ครูพยงค์อุปมาให้ "ทศกัณฐ์" เป็นมาตรฐานสูงสุดบางประการ ซึ่งชายอาภัพรักผู้หนึ่งไม่สามารถจะไขว่คว้าหรือพุ่งทะยานไปยังจุดดังกล่าวได้…