ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับ “ศรีอโยธยา”

(หมายเหตุ เป็นการตั้งข้อสังเกตในฐานะคนที่ตามดู "หนัง/ละครอิงประวัติศาสตร์ไทย" มาพอสมควร และสนใจเรื่องการสร้าง "ภาพแทน" ของชนชั้นนำในประวัติศาสตร์ผ่านสื่อบันเทิงไทยอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์อยุธยาและมิได้เป็นคนที่ตามผลงานของ "หม่อมน้อย" มาอย่างเข้มข้นจริงจัง) หนึ่ง ไม่รู้เป็นข้อดีหรือข้อเสีย (ณ ตอนนี้ ยังประเมินได้ไม่ชัด) แต่เหมือน "หม่อมน้อย" จะ "ทบทวนวรรณกรรม" มาเยอะมาก จนเห็นได้ว่าผลงานเรื่องนี้มีจุดอ้างอิงถึงผู้มาก่อนหน้าเต็มไปหมด จนแทบกลายเป็น "ยำใหญ่ใส่สารพัด" ในแง่นิยาย/ละคร แน่นอน "ศรีอโยธยา" มีองค์ประกอบบางด้านที่เหมือน/คล้าย "เรือนมยุรา" มีตัวละครเดินเรื่องกลุ่มหนึ่งที่ไปพ้องกับ "ฟ้าใหม่"…

รู้ไหม ทำไม “นัดจินหน่อง” ในตำนานสมเด็จพระนเรศวร จึงสวม “ชุดดำ” เกือบตลอดเวลา?

ในช่วงท้ายของงานเสวนา "แผ่นดินพระเจ้าเสือ และตำนานพันท้ายนรสิงห์" จัดโดยนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ที่มีอาจารย์สุเนตร ชุตินธรานนท์ จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เป็นที่ปรึกษาของท่านมุ้ย-หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในการสร้างภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์หลายเรื่องที่ผ่านมา เป็นวิทยากรนั้น คำถามหนึ่งที่ผู้ร่วมฟังส่งขึ้นมาบนเวที ก็คือ คำถามว่าด้วยที่มาของกระบวนการออกแบบเครื่องแต่งกายในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ โดย อ.สุเนตร ได้ยก case study น่าสนใจอันหนึ่งขึ้นมา เป็นกรณีศึกษาผ่านตัวละคร "นัดจินหน่อง" อุปราชตองอู (รับบทโดย น.อ.จงเจต วัชรานันท์) ในภาพยนตร์ชุด "ตำนานสมเด็จพระนเรศวร"…

ปิดฉาก “ตำนานพระนเรศ”

(มติชนสุดสัปดาห์ 24-30 เมษายน 2558) เมื่อสองสัปดาห์ก่อน มีโอกาสได้ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6" ตอน "อวสานหงสา" ซึ่งถือเป็นภาคปิดท้ายของหนังชุดนี้ ที่ท่านมุ้ย หรือ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ทุ่มเทอุทิศเวลาในการสร้างรวมทั้งหมดทุกภาค ร่วมหนึ่งทศวรรษครึ่ง ไปชมในฐานะคนดูที่รู้สึกสนุกกับหนังสองภาคแรกอยู่ไม่น้อย ก่อนจะผิดหวังกับภาค 3 รวมทั้งไม่ได้ชมหนังภาค 4 กับ 5 (ถ้าจำไม่ผิด เหมือนเคยดูภาค 4 ผ่านๆ ที่ไหนสักแห่ง…