แฟนๆ “ดึกดำบรรพ์บอยแบนด์” ห้ามพลาด! แผ่นเสียงอัลบั้มชุดแรกของวงเปิดให้จองแล้ว!!

หลังจากปล่อยคลิปซ้อม/เล่นดนตรี รับงานโชว์ย่อยๆ และมีการแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ อย่างต่อเนื่องมานานหลายปี ในที่สุด วงดนตรีซูเปอร์กรุ๊ปอย่าง “ดึกดำบรรพ์บอยแบนด์” อันเกิดจากการรวมตัวกันของนักร้อง-นักแต่งเพลง-โปรดิวเซอร์ฝีมือดีแห่งยุค 80-90 คือ “ชรัส เฟื่องอารมย์” (แต๋ม) “ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว” (ปั่น) และ “พนเทพ สุวรรณะบุณย์” (ตุ่น) ก็ได้ฤกษ์ออกอัลบั้มบันทึกเสียงของตนเองในรูปแบบแผ่นเสียงไวนิล อัลบั้มชุดดังกล่าวมีชื่อว่า “New Normal DDB” ซึ่งจะประกอบด้วยผลงานเพลงรวมทั้งสิ้น 15 เพลง เป็นเพลงเก่าที่ชรัส-ไพบูลย์เกียรติ-พนเทพ เคยมีส่วนร่วมสร้างสรรค์เอาไว้…

“วงนั่งเล่น” และ “ดึกดำบรรพ์ Boy Band” แตกต่างกันอย่างไร?

ช่วงประมาณหนึ่งเดือนที่ผ่านมา (หรือจริงๆ คือ ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา) “วงนั่งเล่น” และ “ดึกดำบรรพ์ Boy Band” ต่างทยอยปล่อยเพลงใหม่/คลิปการแสดงดนตรีใหม่ๆ ออกมาพร้อมๆ กัน https://www.youtube.com/watch?v=hMEM_MarfxQ https://www.youtube.com/watch?v=3O_DE4cvUQY https://www.youtube.com/watch?v=rTBEvDvU3VE แต่เชื่อว่าจนกระทั่งถึงบัดนี้ แฟนเพลงหลายคนก็ยังคงแยกความแตกต่างของ “วงนั่งเล่น” และ “ดึกดำบรรพ์ Boy Band” ไม่ออก ส่วนหนึ่ง คงเป็นเพราะภาพติดตาที่ “พี่ตุ่น พนเทพ สุวรรณะบุณย์” โปรดิวเซอร์-นักแต่งเพลงรุ่นเก๋า นั้นนั่งเล่นดนตรี…

ชีวิตดนตรีหลายทศวรรษของ “พี่ตุ่น พนเทพ” จากยุคก่อนค่ายเพลง ถึง “วงนั่งเล่น-ดึกดำบรรพ์ฯ”

11 กรกฎาคม 2563 คือวันที่ "พี่ตุ่น พนเทพ สุวรรณะบุณย์" โปรดิวเซอร์-นักแต่งเพลงฝีมือจากยุค 80 ถึงปัจจุบัน ซึ่งคนรุ่นหลังๆ อาจรู้จักมักคุ้นในฐานะของสมาชิกหลัก "วงนั่งเล่น" และ "ดึกดำบรรพ์บอยแบนด์" มีอายุครบ 69 ปีเต็ม ในวาระดังกล่าว บล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำเอาคลิปวิดีโอกึ่งสารคดี 3 ตอน และรายงานพิเศษขนาดยาวที่เคยตีพิมพ์ลงในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ (ทั้งหมดผลิตร่วมกับเพจเฟซบุ๊ก FEED) ซึ่งมีเนื้อหาเจาะลึกชีวิตและเส้นทางการทำงานดนตรีของพี่ตุ่น มาเผยแพร่ซ้ำอีกครั้ง ณ พื้นที่นี้ครับ https://www.youtube.com/watch?v=MVbQ9pJZJ_8…

ย้อนฟังเพลงไพเราะจากน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของ “พี่ป้อม เกริกศักดิ์ – วงนั่งเล่น”

คราวนี้ขออนุญาตพาไปฟังผลงานเพลงยุค 90 (และ 80) จากเสียงร้องของ “พี่ป้อม เกริกศักดิ์ ยุวะหงษ์” ซึ่ง ณ ปัจจุบัน หลายคนอาจรู้จักแกในฐานะมือเพอร์คัสชั่นและคอรัสประจำ “วงนั่งเล่น” กับ “ดึกดำบรรพ์บอยแบนด์” ทว่าหากย้อนอดีตไปเมื่อราวสองทศวรรษก่อน “พี่ป้อม เกริกศักดิ์” นั้นถือเป็นนักร้องที่มีเสียงไพเราะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คนหนึ่งของวงการเพลงไทย และเอาเข้าจริง ในบรรดาสมาชิก “วงนั่งเล่น” ทั้งหมด “พี่ป้อม” ก็เป็นเพียงหนึ่งเดียวที่เคยมีผลงานอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง ในความทรงจำส่วนตัว ผมจดจำ “พี่ป้อม เกริกศักดิ์” และน้ำเสียงของแกได้…

10+1 เพลงเพราะ-เพลงฮิต-เพลงร็อก ฝีมือ “เศกสิทธิ์ ฟูเกียรติสุทธิ์” (พี่แตน วงนั่งเล่น)

คลิกอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับสมาชิก "วงนั่งเล่น" คนอื่นๆ รวมผลงานเพลงคัดสรรของ “พี่เป๋า กมลศักดิ์” แห่ง “วงนั่งเล่น” 15 เพลงเด่นของ “ปิติ ลิ้มเจริญ” (พี่ตู๋ วงนั่งเล่น) https://www.youtube.com/watch?v=yk-v0Abgjgw ขออนุญาตเปิดหัวด้วยผลงานชื่อ “เพลงรักของวงนั่งเล่น” ซึ่งเป็นเพลงที่ผมชอบมากที่สุดเพลงหนึ่งของ “วงนั่งเล่น” ที่สำคัญกว่านั้น คลิปนี้ยังบ่งบอกตัวตนในแบบ “น้อยๆ แต่สำคัญ” หรือ “อยู่เบื้องหลังแต่มีของ” ของ “พี่แตน เศกสิทธิ์ ฟูเกียรติสุทธิ์” ได้เป็นอย่างดี…

เพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อกแบบ “พนเทพ สุวรรณะบุณย์”

ต้นสัปดาห์ที่แล้ว มีโอกาสไปสัมภาษณ์ “พี่ตุ่น พนเทพ สุวรรณะบุณย์” โปรดิวเซอร์-นักแต่งเพลงคนสำคัญ พร้อมกับเพื่อนๆ ที่ออฟฟิศ (ตัวซีรีส์บทสัมภาษณ์นี้จะเผยแพร่ลงในเพจเฟซบุ๊กเพจหนึ่ง ช่วงปลายเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) บทสนทนาหัวข้อหนึ่ง ซึ่งหลายคนที่เคยไปพูดคุยกับพี่ตุ่น ในฐานะสมาชิกวงนั่งเล่น-ดึกดำบรรพ์บอยแบนด์ ก่อนหน้านี้ ไม่ค่อยชวนแกย้อนรำลึก ก็คือ ที่มา-ที่ไปของค่ายเพลง Oh! My God แม้นักฟังเพลงส่วนใหญ่จะจดจำค่ายเพลงดังกล่าวที่มีชีวิตอยู่ระหว่างปลายทศวรรษ 2530 ถึงต้นทศวรรษ 2540 จากผลงานแนวอีซี่ ลิสซึนนิ่ง หรือเพลงป๊อปหวานๆ ผ่านการคัมแบ็กของพี่ปุ๊ อัญชลี เสียงร้องสไตล์บีจีของพี่ป้อม…

หนัง-เพลงที่ชอบ ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ทึ่ง ในปี 2019

หนังต่างประเทศที่ชอบ Parasite นี่คือหนังที่ครบรสดี มีทั้งรสชาติความเป็นละครหลังข่าว มีสารหลักคือประเด็นเรื่องความแตกต่าง-ขัดแย้งทางชนชั้น ซึ่งถูกนำเสนอผ่านมิติทางด้านสัญลักษณ์, พื้นที่ และสถาปัตยกรรม อย่างเข้มข้น แพรวพราว และสนุก คลิกอ่าน สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต” Midsommar นี่คือหนังที่มีฉากหน้าเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ แต่พอตัวละครนำของเรื่องเป็นนักเรียนมานุษยวิทยา ซึ่งเข้าไปท่องเที่ยว/ศึกษาเทศกาล/พิธีกรรมของชุมชนแห่งหนึ่งในสแกนดิเนเวีย สถานภาพอีกด้านของหนังเรื่องนี้จึงเป็น “ภาพยนตร์ทางมานุษยวิทยา” (ซึ่งชวนถกเถียงในประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดเทศกาล-พิธีกรรม-ตำนานปรัมปรา) อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ น่าแปลกใจว่าทำไมนักมานุษยวิทยา/นักเรียนมานุษยวิทยาที่เมืองไทยถึงไม่ค่อยพูดถึงหนังเรื่องนี้กัน? คลิกอ่าน Midsommar: “เทศกาล” ในอุดมคติ? ของนัก (เรียน)…

คอนเสิร์ต “ดึกดำบรรพ์ #201”: การตลาดอันน่าทึ่ง, โชว์ที่อิ่มเอม แต่ (แค่) เกือบจะเต็มอิ่ม

หนึ่ง มาเริ่มที่เซ็ตลิสต์กันก่อนเลยครับ อินโทร: รักนิรันดร์ (บรรเลง) รักล้นใจ ทั้งรู้ก็รัก ขีดเส้นใต้ เพราะเธอ เล็กๆ น้อยๆ ทะเล ชีวิตไร้สังกัด โอ้ใจเอ๋ย --- (ย้ายไปโซนพิเศษ สนับสนุนโดยกระเบื้องไดนาสตี้ ไทล์ท้อป) สัมภาษณ์พูดคุยกับดึกดำบรรพ์ บอยแบนด์ โดยแขกรับเชิญ น้าเน็ก เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา In the Darkness of…

บันทึกหลังการชม “Sad Beauty เพื่อนฉัน ฝันสลาย”

เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์! เมื่อวานไปดูหนังไทยเรื่อง "Sad Beauty เพื่อนฉัน ฝันสลาย" ของ "ตั๊ก บงกช เบญจรงคกุล" โดยรวมอาจไม่ได้ชอบหนังมาก แต่ก็รู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินระหว่างนั่งดู จากหลายๆ องค์ประกอบในภาพยนตร์ ที่บางส่วนก็ดี บางส่วนก็แปลก บางส่วนก็ฮา และบางส่วนโดนใจตัวเองเป็นการส่วนตัว ของแถมก่อนดูหนัง (ก) ก่อนจะเข้าไปดูหนัง เจอ "แอม ฉายนันทน์ มโนมัยสันติภาพ" มาซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้ๆ โรง พร้อมกับสามี น่าเสียดายที่หลายปีหลัง เธอไม่ได้แสดงภาพยนตร์อีกเลย ทั้งที่สมัยเล่นหนังให้พงษ์พัฒน์…

อุ่นเครื่องคอนเสิร์ตใหญ่ “ดึกดำบรรพ์ #201” ด้วย 20 คลิปซ้อม-แสดงสดสุดประทับใจ

https://www.youtube.com/watch?v=axCLMAGuwbo ได้ฤกษ์กลับมาเปิดคอนเสิร์ตใหญ่เป็นรอบที่สอง สำหรับวงดนตรีรุ่นเก๋า "ดึกดำบรรพ์ บอยแบนด์" ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของสองศิลปินและหนึ่งคนเบื้องหลัง อย่าง "ปั่น ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว" "แต๋ม ชรัส เฟื่องอารมย์" และ "ตุ่น พนเทพ สุวรรณะบุณย์" โดยคอนเสิร์ตหนนี้ซึ่งใช้ชื่อว่า "ไดนาสตี้ ไทล์ท้อป พรีเซ้นท์ ดึกดำบรรพ์ #201 ปั่น แต๋ม ตุ่น คอนเสิร์ต" จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์…