“Destination Nowhere – วงษ์กลม” นิทรรศการวิดีโอและงานศิลปะของ “ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์”

“ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์” ศิลปินชาวไทยกำลังจัดแสดงนิทรรศการ “Destination Nowhere – วงษ์กลม” ที่ Gallery VER Project Room ระหว่างวันที่ 12 มกราคม – 16 กุมภาพันธ์นี้ นิทรรศการดังกล่าวจะประกอบด้วยวีดีโอศิลปะเรื่อง “Destination Nowhere” และชิ้นงานศิลปะอื่นๆ “Destination Nowhere” ถ่ายทอดเรื่องราวของบุคคลคนหนึ่งที่เกิดในญี่ปุ่น แม่ของเขาเป็นแรงงานชาวไทยซึ่งอาศัยอยู่ที่ประเทศดังกล่าวมานานหลายปีอย่างผิดกฎหมาย ไม่นานมานี้ เธอได้มอบตัวและถูกส่งกลับไทย ศาลตัดสินเบื้องต้นว่าให้ส่งลูกของเธอกลับประเทศไทยด้วย แต่เขากำลังต่อสู้เพื่อสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นต่อไป…

“มุราคามิ” รับ ไม่อาจประกาศคัดค้านโทษประหารผู้นำ-สมาชิก “โอมชินริเกียว” ต่อสาธารณชน

"ฮารุกิ มุราคามิ" นักเขียนชื่อดังชาวญี่ปุ่น ระบุว่า เขาไม่สามารถแสดงจุดยืนคัดค้านการลงโทษประหารชีวิตผู้นำและสมาชิกลัทธิโอมชินริเกียว ซึ่งก่อเหตุการณ์สังหารหมู่ผู้บริสุทธิ์เมื่อปี 1995 ต่อสาธารณชนได้ แม้โดยส่วนตัว ตนเองจะไม่เห็นด้วยกับโทษประหารชีวิตในภาพรวมก็ตาม ในบทความของมุราคามิที่ตีพิมพ์ใน "มาอินิชิ ชิมบุน" นักเขียนชื่อดังเปิดเผยจุดยืนส่วนบุคคลว่า โดยหลักการทั่วไปแล้ว ตนคือคนหนึ่งที่ต่อต้านโทษประหารชีวิต และได้อ้างอิงตัวอย่างคำพิพากษาลงโทษประหารชีวิตที่เคยผิดพลาดในหลายกรณี เพื่อชี้ว่าการลงโทษด้วยมาตรการดังกล่าวอาจถือเป็นการใช้อำนาจเชิงสถาบัน มาชี้เป็นชี้ตายชีวิตผู้คน อย่างอันตรายสุ่มเสี่ยง อย่างไรก็ดี มุราคามิ ซึ่งเคยสัมภาษณ์ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ปล่อยแก๊สพิษซารินเมื่อปี 1995 และสมาชิกลัทธิโอมชินริเกียว เพื่อนำไปเขียนหนังสือ "Underground" อธิบายต่อว่า ครั้นได้พูดคุยกับผู้บาดเจ็บและผู้สูญเสียคนรักในเหตุการณ์สะเทือนขวัญเมื่อ 23…

เรียวอิชิ ซากาโมโตะ: สังคมอเมริกันและโลกภายนอก

"คนญี่ปุ่นเฝ้าจ้องมองและสังเกตการณ์คนอเมริกัน, วัฒนธรรมอเมริกัน และวัฒนธรรมตะวันตกตลอดมา ในทางตรงกันข้าม คนอเมริกันกลับไม่ได้เพ่งพินิจวัฒนธรรมของญี่ปุ่นหรือเอเชียมากในระดับเดียวกัน มันเป็นสิ่งที่ไม่สมดุลอย่างยิ่ง อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างคนเวียดนามกับคนญี่ปุ่นในสายตาคนอเมริกัน? "นานมาแล้ว ผมเคยได้ยินเรื่องเล่าที่ตลกมากๆ "เพื่อนของผม เล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่เขายังหนุ่มแน่นแล้วเดินทางท่องเที่ยวไปในแถบเซาธ์เท็กซัส เขาเจอชาวนาอเมริกันคนหนึ่ง และเริ่มแนะนำตัวกับชาวนารายนั้น โดยบอกว่าตนเองมาจากปารีส "เพื่อนผมเขาเป็นคนฝรั่งเศส แต่ชาวนาคนดังกล่าวกลับเชื่อโดยอัตโนมัติว่าเพื่อนของผมมาจากเมืองปารีสในรัฐเท็กซัส พอเพื่อนผมปฏิเสธว่า 'ไม่ใช่, ไม่ใช่, ไม่ใช่ ผมมาจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส' ชาวนาอเมริกันคนเดิมก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยอมเชื่อ "หรืออีกมุมหนึ่ง แกไม่สามารถบอกได้ว่าไอ้กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นี่มันอยู่ตรงส่วนไหนบนแผนที่โลก" เรียวอิชิ ซากาโมโตะ นักประพันธ์ดนตรีชาวญี่ปุ่น…

“โคเรเอดะ” กับโปรเจ็กท์หนัง “สงครามโลกครั้งที่ 2”

ลิซ แช็กเกิลตัน: ผลงานก่อนหน้านี้อย่าง “The Third Murder” นับเป็นแนวทางการทำงานใหม่ๆ ของคุณอย่างแท้จริง สำหรับผลงานชิ้นต่อไป คุณยังมีแผนที่จะสำรวจตรวจสอบประเด็นอื่นๆ อีกบ้างไหม หรือจะย้อนกลับมาเล่าเรื่องราวสายสัมพันธ์ในครอบครัวอีกครั้ง? ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ: ยังมีหลายประเด็นที่ผมอยากนำมาทำเป็นหนัง รวมทั้งโปรเจ็กท์เกี่ยวกับบทบาทของประเทศญี่ปุ่น ในฐานะผู้ก่อความผิดพลาดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่มันก็เป็นเรื่องยากที่จะมัดรวมโครงการต่างๆ เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน เพราะคนญี่ปุ่นต่างต้องการลบล้างความผิดบาปครั้งนั้นออกจากความทรงจำของพวกตน แต่ในฐานะคนทำหนัง ผมรู้สึกว่าตัวเองควรจะต้องกล้าชนกับประเด็นดังกล่าว เหมือนที่ยอดผู้กำกับฯ เช่น นางิสะ โอชิมะ และโชเฮ อิมามุระ เคยแผ้วถางหนทางเอาไว้ในอดีต…

บันทึกฟุ้งๆ ถึง Bangkok Nites (กลางคืนที่บางกอก)

ศัตรูที่รัก และ/หรือ สายสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทยที่ไม่จบสิ้น https://www.youtube.com/watch?v=Nol2qVLH0ao Bangkok Nites เล่าเรื่องราวสายสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย สายสัมพันธ์ในหนังถูกบอกเล่าผ่านความสัมพันธ์ของสามัญชนคนเล็กคนน้อย ตลอดจนวัฒนธรรมชายขอบต่างๆ (ทั้งด้านสว่างและด้านมืด) มันเป็นทั้งความรัก ความพลัดพราก ความสมานฉันท์ และรอยบาดแผล หรืออาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ในหนัง ถูกนำเสนอออกมาในเชิง "ศัตรูที่รัก" ด้านหนึ่ง นี่ก็เป็นหนังสารภาพบาปจากมุมมองของญี่ปุ่น หนังไม่ได้พูดถึง "บาปใหญ่" ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หากพูดถึงผลลัพธ์ต่อเนื่องหลังจากนั้น นั่นคือ "บาป" ที่ญี่ปุ่น (และไทย) ร่วมก่อในช่วงสงครามเย็น เรื่อยมาถึง…

“Little People” : ลัทธิความเชื่อ ระบอบเผด็จการ และพลังอำนาจของคนเล็กคนน้อย

(ปรับปรุงจากข้อเขียนที่เผยแพร่ครั้งแรกในเพจเฟซบุ๊ก "คนมองหนัง" เมื่อเดือนธันวาคม 2556) ตอนอ่านนวนิยายเรื่อง "1Q84" ของ "ฮารูกิ มูราคามิ" จบ เมื่อประมาณปี 2555 ผมขบคิดไม่ค่อยแตกว่าไอ้ "Little People" นี่มันมีนัยยะหมายถึงอะไร? จริงๆ กระทั่งตอนนั่งพิมพ์ข้อเขียนชิ้นนี้ ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ และไม่ค่อยได้ติดตามว่ามีใครตีความ/ถกเถียงเกี่ยวกับตัวละครกลุ่มดังกล่าวไว้อย่างไรบ้าง? https://thebookvineyard.files.wordpress.com/2012/02/air-chrysalis.jpg แต่พอมานั่งครุ่นคิดถึง "Little People" ของมูราคามิในช่วงปลายปี 2556 ก็เริ่มมองเห็นอะไรบางอย่างที่น่าสนใจดี ข้อแรก (ซึ่งหลายคนคงเอะใจตั้งแต่ตอนอ่านหนังสือ) คือ…

“Mr.Zero” ได้รับคัดเลือกเข้าฉายในโครงการ Visual Documentary Project 2016 ที่ญี่ปุ่น

"Visual Documentary Project" เป็นโครงการที่จัดร่วมกันโดย เดอะ เจแปน ฟาวเดชั่น เอเชีย เซ็นเซอร์ และศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างพื้นที่ให้คนทำหนังเอเชีย ได้เปิดเผยความจริงที่พวกตนประสบผ่านการทำหนังสารคดี รวมทั้งแนะนำนักทำหนังเหล่านั้นให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ในโครงการประจำปีนี้ ผู้จัดงานได้เปิดรับสมัครภาพยนตร์สารคดีหัวข้อ "การเมืองในวิถีชีวิตประจำวันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ปรากฏว่ามีผลงานหนังสารคดีจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ถูกจัดส่งเข้ามาร่วมโครงการ 75 เรื่อง ล่าสุด Visual Documentary Project 2016 ได้ประกาศรายชื่อหนังเพียง 5 เรื่อง ที่ถูกคัดเลือกเข้าฉายในโครงการประจำปีนี้ออกมาแล้ว หนึ่งในนั้น…

“หนังอาเซียน” ในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว 2016

"หนังอาเซียน" ในเทศกาลภาพยนตร์โตเกียว 2016 (มติชนสุดสัปดาห์ 23-29 กันยายน 2559) กลับมาอีกครั้ง สำหรับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียวครั้งที่ 29 ประจำปี 2016 โดยเมื่อปีที่แล้ว มีหนังไทยเดินทางไปร่วมประกวดในเทศกาลนี้ถึงสองเรื่อง ได้แก่ "สแน็ป แค่...ได้คิดถึง" ของ คงเดช จาตุรันต์รัศมี ที่เข้าฉายในสายการประกวดหลัก และ "มหาสมุทรและสุสาน" ของ พิมพกา โตวิระ ที่เข้าฉายในสายเอเชี่ยน ฟิวเจอร์ และได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำสายการประกวดดังกล่าวมาครอง คงต้องจับตาดูกันว่า…

ตามไปชมฝีมือบรรเลงกีต้าร์แบบ “เหนือๆ” ของ Hikaru Tanimoto

หลังจากสัปดาห์ก่อน บล็อกของเราได้เผยแพร่เรื่องราวของมือกีต้าร์ฝีมือดีจากญี่ปุ่น นาม Hikaru Tanimoto ซึ่งเดินเข้าไปลองแอมป์อคูสติก ในร้านขายเครื่องดนตรีแห่งหนึ่งย่านสุขุมวิท แถมยังฝากลวดลายการเล่นกีต้าร์อันน่าจดจำเอาไว้ จนมีผู้ถ่ายคลิปแล้วนำไปเผยแพร่ในโลกออนไลน์ ล่าสุด เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้ตามไปชมการแสดงสดของ Tanimoto ที่ VIT 33 ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 3 ของร้านอาหารญี่ปุ่น Inakape ในซอยสุขุมวิท 33 ซึ่งฝีมือการบรรเลงกีต้าร์อันน่าตื่นตะลึงของนักดนตรีหนุ่มวัย 32 ปี รายนี้ ก็ดำเนินไปอย่างน่าประทับใจ พร้อมด้วยการแสดงของศิลปินชาวญี่ปุ่นรายอื่นๆ แม้ทางเราจะฟังภาษาญี่ปุ่นไม่ออกเลยแม้แต่นิดเดียว แต่ก็สัมผัสได้ถึงความไพเราะของเสียงดนตรี…

จะเกิดอะไรขึ้น? เมื่อ “กีต้าร์เทพจากญี่ปุ่น” มาลองของที่ร้านขายเครื่องดนตรีย่านสุขุมวิท

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ผู้ใช้ชื่อในเฟซบุ๊กว่า Macguiter CT ได้โพสต์คลิปวิดีโอ ซึ่งระบุว่าเป็นบรรยากาศที่ร้าน CT Music Shop สุขุมวิท 38 ในคลิปเป็นการบันทึกภาพการเล่นกีต้าร์อคูสติกของชายชาวต่างชาติจากทวีปเอเชียรายหนึ่ง ซึ่งน่าจะเป็นลูกค้าของทางร้าน โดยลวดลายการพรายพรมปลายนิ้วลงไปบนแทบทุกส่วนของกีต้าร์ของเขานั้น นับว่าแพรวพราวน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง https://www.facebook.com/tascha.pilunthanasat/videos/1003003769756887/?hc_location=ufi   กระทั่งผู้โพสต์คลิปเผยแพร่ในเฟซบุ๊กก็ยังระบุข้อความบรรยายประกอบวิดีโอเอาไว้ว่า "Acoustic from hell....เดือดมากกก" ต่อมา ช่องยูทูบ Chordtabs ก็ได้โพสต์คลิปการเล่นดนตรีของชายคนดังกล่าวเช่นกัน โดยใช้ชื่อว่า "แอบถ่ายลูกค้าลองกีตาร์ที่ CT…