4 ประเด็นว่าด้วย “A World of Married Couple”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=gz3V-CglveQ เอาเข้าจริง นี่อาจเป็นบทสนทนาต่อเนื่องมาจากซีรี่ส์เกาหลีฮิตๆ หลายเรื่องก่อนหน้านี้ บรรดาซีรี่ส์ที่มักเล่าถึงชีวิตครอบครัว 2 ครอบครัวขึ้นไป อันประกอบด้วยตัวละครรุ่นพ่อแม่ และตัวละครรุ่นลูกที่กำลังก่อสานความรักซึ่งกันและกัน ก่อนที่เรื่องราวจะลงเอยในช่วงท้ายด้วยตอนจบปลายเปิดว่าด้วยคู่รักชายหญิงวัย 20-30 ปี ที่ยังไม่ได้ร่วมกันลงมือสร้างครอบครัวอันสมบูรณ์แบบของตนเองโดยฉับพลันทันที และแน่นอนว่าพวกเขาและเธอมักจะยังไม่มีลูก (คนเจนเนอเรชั่นหลาน) เป็นทายาทสืบสกุล (ในกรณีตัวละครนำของ “Reply 1988” แม้จะมีการสมรสเกิดขึ้นหลายคู่ แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าครอบครัวเหล่านี้ได้ให้กำเนิดทายาทหรือไม่) ราวกับว่า "ความเป็นครอบครัว" ก็ดี สถานภาพ "ความเป็นพ่อแม่" ก็ดี นั้นไม่ใช่ภาพกระจ่างชัดในความรับรู้ จินตนาการ…

5 ประเด็นว่าด้วย “Reply 1988”

หนึ่ง ด้านหนึ่ง รู้สึกว่า “Reply 1988” นั้นแชร์ประเด็นทางสังคมหนักๆ ร่วมกับหนังเกาหลีร่วมสมัยบางเรื่อง (อาจจะโดยไม่ได้ตั้งใจ) เช่น การอาศัยอยู่ใน “บ้านชั้นใต้ดิน” ของหนึ่งในครอบครัวตัวละครหลัก ก็คล้ายคลึงกับชะตากรรมของตัวละครกลุ่มหนึ่งใน “Parasite” หรือจะมีตัวละครสมทบรายหนึ่ง ซึ่งตลอดทั้งเรื่อง คนดูน่าจะประเมินว่าเธอทำหน้าที่ “แม่-เมีย” ได้ไม่สมบูรณ์นัก ก่อนที่เธอจะเริ่มมีตัวตนมากขึ้นในช่วงท้ายๆ และบทพูดหนึ่งที่น่าประทับใจ ก็คือ เธออยากเป็นตัวของเธอเอง (ให้คนอื่นๆ เรียกชื่อของเธอ) มากกว่าจะถูกเพื่อนบ้านเรียกขานว่าเป็น “แม่ของ...” ประเด็นนี้ชวนให้นึกถึง “Kim Ji-young,…

Itaewon Class : “ลูกพี่” “เถ้าแก่” และการหายไปของ “พ่อ”

(เปิดเผยเนื้อหา) https://www.youtube.com/watch?v=BoU8OOWOb5s หลังดูซีรี่ส์เกาหลีอันโด่งดังอย่าง “Itaewon Class” จบลง ก็มีเรื่องวนเวียนอยู่ในหัวผมประมาณ 4-5 ประเด็น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วัฒนธรรม “ลูกพี่” ตั้งแต่ต้นจนจบ ค่านิยมหลักประการหนึ่งที่ซีรี่ส์เรื่องนี้นำเสนอก็คือ “วัฒนธรรมลูกพี่” (ในแบบเอเชียตะวันออก?) จนสามารถกล่าวได้ว่าการแข่งขันกันทางธุรกิจในระบบทุนนิยมผ่านกลไกตลาดหุ้นก็ดี การแสดงอำนาจบารมีแบบ “นักเลง” หรือ “พี่” (อาเฮีย) ก็ดี การใช้อิทธิพลนอก-ในระบบกฎหมายก็ดี ล้วนถูกห่อคลุมไว้ด้วย “วัฒนธรรมลูกพี่” ทั้งหมด เพียงแต่อำนาจบารมีของ “ลูกพี่” คนหนึ่งนั้นเสื่อมถอยลง…

“The English Game” : ฟุตบอลคือการประสานประโยชน์ทางชนชั้น

นี่คือซีรี่ส์เน็ตฟลิกซ์ว่าด้วยต้นกำเนิดของ “กีฬาฟุตบอลสมัยใหม่” ในสหราชอาณาจักร ที่เปลี่ยนผ่านจากการเป็น “เกมของลูกหลานผู้ดีในโรงเรียนประจำ” มาสู่การเป็น “กีฬา/ความบันเทิงของมหาชน-ชนชั้นแรงงาน” ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกบอกเล่าผ่านปฏิสัมพันธ์ฉันมิตรกึ่งศัตรู ระหว่าง “เฟอร์กัส ซูเทอร์” พ่อค้าแข้งชาวสกอตแลนด์ที่ย้ายมาเล่นฟุตบอลที่อังกฤษ ในฐานะ “นักเตะอาชีพ” รุ่นแรกๆ เพื่อเลี้ยงดูแม่และน้องๆ ซึ่งใช้ชีวิตยากลำบากที่กลาสโกว์ กับ “อาร์เธอร์ คินแนด” ทายาทตระกูลขุนนางเจ้าของธุรกิจธนาคาร ผู้เป็น “ดาวเตะ” ซึ่งแทบจะผูกขาดถ้วยเอฟเอคัพ ในยุคสมัยที่การเล่นฟุตบอลยังเป็นเพียงกีฬาสมัครเล่นของบรรดาผู้ดี แม้ “ชนชั้น” จะเป็นประเด็นหลักของซีรี่ส์เรื่องนี้ แต่โลกทัศน์ที่ “The…

ว่าด้วย “ประวัติศาสตร์” ใน “ศรีอโยธยา ภาค 2”

ฉากหนึ่งในซีรีส์ “ศรีอโยธยา ภาคแรก” ที่ผมประทับใจมากๆ ก็คือ ฉากที่ “เจ้าฟ้าสุทัศ” ล่องเรือแบบกึ่งตื่นกึ่งฝันไปพร้อมกับดวงวิญญาณของพระเจ้าเสือ และได้พานพบพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ซึ่งทรงปรากฏพระองค์ตามรายทางของลำน้ำสายหนึ่ง ผมตีความความว่า ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย) คงอยากนำเสนอว่า “ประวัติศาสตร์” คือความเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวที่ไม่มีทางตัดได้ขาดประดุจสายน้ำ อย่างไรก็ดี ความเชื่อเช่นนั้นกลับต้องดำรงอยู่ในห้วงภวังค์กึ่งจริงกึ่งฝันหรืออุปลักษณ์นิทานเปรียบเทียบต่างๆ เพราะ “ประวัติศาสตร์” ใดๆ ก็ตามในโลกความจริง ย่อมไม่สามารถดำเนินไปอย่างเรียบเรื่อยต่อเนื่องสมบูรณ์แบบบนช่วงเวลาอันยาวไกล โดยปราศจากจุดเปลี่ยนแปลง ความผกผัน ร่องรอยปริแตก ช่องว่างรูโหว่ ที่ผุดขึ้นมาขัดขวางภาวะของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวดังกล่าว…

รีวิว Kim Ji-young: Born 1982, Dracula และ มือปืน/โลก/พระ/จัน 2

Kim Ji-young: Born 1982 หาก “บงจุนโฮ” บอกว่า “Parasite” คือส่วนต่อขยายของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลีอันยาวนาน เรื่องราวของ “Kim Ji-young: Born 1982” ก็คงเป็นส่วนต่อขยายของสื่อบันเทิงเกาหลีร่วมสมัย (โดยเฉพาะซีรีส์) ที่มีแนวโน้มจะครุ่นคิดถึงประเด็นความกดดันของลูกผู้หญิง, ขบวนการ Me Too และสายสัมพันธ์ตึงเครียดในสถาบันครอบครัว อย่างหนักแน่นจริงจัง หนังเรื่องนี้พาเราเข้าไปไตร่ตรองสะท้อนคิดถึงประสบการณ์/บาดแผลร่วมของสตรีจำนวนมาก ตลอดจนอาการป่วยไข้ของสังคมเกาหลีในภาพรวม ที่สำแดงผ่านอาการป่วยไข้ทางใจของปัจเจกบุคคล/ตัวละครนำชื่อ “คิมจียอง” เอาเข้าจริง “คิมจียอง” จึง “ถูกสิง”…

สิ้นสุดการรอคอย! เน็ตฟลิกซ์ซื้อสิทธิ์พัฒนา “หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว” เป็นซีรี่ส์

เน็ตฟลิกซ์เพิ่งประกาศข่าวสำคัญว่าทางบริษัทได้รับสิทธิ์ในการพัฒนานวนิยายเรื่อง “One Hundred Years of Solitude” หรือ “หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว” ของ “กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ” ให้เป็นผลงานภาพเคลื่อนไหว นี่นับเป็นครั้งแรกสุด ที่ผลงานการประพันธ์ชิ้นสำคัญ ซึ่งถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1967 หรือ 52 ปีก่อน จะได้รับการดัดแปลงเป็น “ภาพยนตร์” โรดริโก การ์เซีย บุตรของนักประพันธ์รางวัลโนเบลผู้ล่วงลับ ซึ่งจะรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้าง “หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว” ฉบับภาพยนตร์ซีรี่ส์ของเน็ตฟลิกซ์ ร่วมกับกอนซาโล การ์เซีย…

“หว่อง กา ไว” เตรียมโปรดิวซ์-กำกับ ซีรี่ส์ความยาว 18 ตอน สองซีซั่น

หลังมีผลงานหนังยาวเรื่องล่าสุดอย่าง The Grandmaster "หว่อง กา ไว" ก็เป็นอีกหนึ่งผู้กำกับภาพยนตร์ ที่จะหันมารับงานในวงการโทรทัศน์ โดยข่าวระบุว่า ฮวนสี มีเดีย กรุ๊ป ของจีน วางแผนจะทำซีรี่ส์ความยาวรวมทั้งสิ้น 18 เอพพิโสด ซึ่งหว่อง กา ไว จะมารับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ และร่วมกำกับในบางตอน ทั้งนี้ ซีรี่ส์เรื่องดังกล่าวจะออกเผยแพร่ในสองซีซั่น ซีซั่นแรก ประกอบด้วย 12 เอพพิโสด ส่วนซีซั่นที่สอง มีแค่ 6 เอพพิโสด…