4 ประเด็นว่าด้วย “A World of Married Couple”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=gz3V-CglveQ เอาเข้าจริง นี่อาจเป็นบทสนทนาต่อเนื่องมาจากซีรี่ส์เกาหลีฮิตๆ หลายเรื่องก่อนหน้านี้ บรรดาซีรี่ส์ที่มักเล่าถึงชีวิตครอบครัว 2 ครอบครัวขึ้นไป อันประกอบด้วยตัวละครรุ่นพ่อแม่ และตัวละครรุ่นลูกที่กำลังก่อสานความรักซึ่งกันและกัน ก่อนที่เรื่องราวจะลงเอยในช่วงท้ายด้วยตอนจบปลายเปิดว่าด้วยคู่รักชายหญิงวัย 20-30 ปี ที่ยังไม่ได้ร่วมกันลงมือสร้างครอบครัวอันสมบูรณ์แบบของตนเองโดยฉับพลันทันที และแน่นอนว่าพวกเขาและเธอมักจะยังไม่มีลูก (คนเจนเนอเรชั่นหลาน) เป็นทายาทสืบสกุล (ในกรณีตัวละครนำของ “Reply 1988” แม้จะมีการสมรสเกิดขึ้นหลายคู่ แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าครอบครัวเหล่านี้ได้ให้กำเนิดทายาทหรือไม่) ราวกับว่า "ความเป็นครอบครัว" ก็ดี สถานภาพ "ความเป็นพ่อแม่" ก็ดี นั้นไม่ใช่ภาพกระจ่างชัดในความรับรู้ จินตนาการ…

5 ประเด็นว่าด้วย “Reply 1988”

หนึ่ง ด้านหนึ่ง รู้สึกว่า “Reply 1988” นั้นแชร์ประเด็นทางสังคมหนักๆ ร่วมกับหนังเกาหลีร่วมสมัยบางเรื่อง (อาจจะโดยไม่ได้ตั้งใจ) เช่น การอาศัยอยู่ใน “บ้านชั้นใต้ดิน” ของหนึ่งในครอบครัวตัวละครหลัก ก็คล้ายคลึงกับชะตากรรมของตัวละครกลุ่มหนึ่งใน “Parasite” หรือจะมีตัวละครสมทบรายหนึ่ง ซึ่งตลอดทั้งเรื่อง คนดูน่าจะประเมินว่าเธอทำหน้าที่ “แม่-เมีย” ได้ไม่สมบูรณ์นัก ก่อนที่เธอจะเริ่มมีตัวตนมากขึ้นในช่วงท้ายๆ และบทพูดหนึ่งที่น่าประทับใจ ก็คือ เธออยากเป็นตัวของเธอเอง (ให้คนอื่นๆ เรียกชื่อของเธอ) มากกว่าจะถูกเพื่อนบ้านเรียกขานว่าเป็น “แม่ของ...” ประเด็นนี้ชวนให้นึกถึง “Kim Ji-young,…

Itaewon Class : “ลูกพี่” “เถ้าแก่” และการหายไปของ “พ่อ”

(เปิดเผยเนื้อหา) https://www.youtube.com/watch?v=BoU8OOWOb5s หลังดูซีรี่ส์เกาหลีอันโด่งดังอย่าง “Itaewon Class” จบลง ก็มีเรื่องวนเวียนอยู่ในหัวผมประมาณ 4-5 ประเด็น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วัฒนธรรม “ลูกพี่” ตั้งแต่ต้นจนจบ ค่านิยมหลักประการหนึ่งที่ซีรี่ส์เรื่องนี้นำเสนอก็คือ “วัฒนธรรมลูกพี่” (ในแบบเอเชียตะวันออก?) จนสามารถกล่าวได้ว่าการแข่งขันกันทางธุรกิจในระบบทุนนิยมผ่านกลไกตลาดหุ้นก็ดี การแสดงอำนาจบารมีแบบ “นักเลง” หรือ “พี่” (อาเฮีย) ก็ดี การใช้อิทธิพลนอก-ในระบบกฎหมายก็ดี ล้วนถูกห่อคลุมไว้ด้วย “วัฒนธรรมลูกพี่” ทั้งหมด เพียงแต่อำนาจบารมีของ “ลูกพี่” คนหนึ่งนั้นเสื่อมถอยลง…