คิดนู่นคิดนี่ไปเรื่อย เกี่ยวกับหนังสารคดี “หมอนรถไฟ” (สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์)

"โครงสร้าง" ของหนังสารคดี การที่หนังสารคดีเรื่องหนึ่งใช้เวลาคิด-ทำถึง "แปดปี" มันย่อมมีโอกาสสูงมาก ที่หนังจะเลอะ หรือไม่เป็นระบบระเบียบ แต่ "หมอนรถไฟ" สามารถจัดระบบฟุตเทจกว่าร้อยชั่วโมงออกมาเป็นหนังสารคดียาวไม่ถึงสองชั่วโมง ที่มี "โครงสร้าง" ของเรื่องราวแข็งแรงเป็นอย่างยิ่ง หากดูจากการที่หนังค่อยๆ ไล่เรียงการสำรวจขบวนรถไฟไทยจากชั้น 3 ชั้น 2 ตู้เสบียง ชั้น 1 หรือวิธีการเปิด-ปิดหนังด้วย "องค์ความรู้" บางอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รถไฟไทย ซึ่งใช้ห่อหุ้มอารมณ์ความรู้สึก ความฝัน ความผุพังของรถไฟและผู้โดยสารรถไฟในสังคมไทยร่วมสมัย ที่คนดูต้องเผชิญหน้ากับมันด้วยฐานะ "ผู้ไม่รู้" "จ้องมอง"…

อ่านมุมมองผู้กำกับ “Pop Aye”: นี่ไม่ใช่หนัง “ช้างดิสนีย์” และการก้าวข้าม “ความเป็นชาติ”

https://www.youtube.com/watch?v=5ku1ZPsWqM0&feature=youtu.be ภาพยนตร์เรื่อง "Pop Aye" ผลงานการกำกับฯ ของ "เคอร์สเทน ตัน" เป็นหนังร่วมสร้างระหว่าง "Giraffe Pictures" ของสิงคโปร์ ที่รับผิดชอบด้านการหาเงินทุน และ "185 Films Company" ของไทย ที่รับผิดชอบงานด้านการผลิต หนังของผู้กำกับภาพยนตร์หญิงชาวสิงคโปร์ ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวละครไทย ช้างไทย และมีท้องเรื่องเกิดขึ้นในประเทศไทย (นำแสดงโดย ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ และ เพ็ญพักตร์ ศิริกุล) เพิ่งถูกคัดเลือกเข้าฉายในสายการประกวดของเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์…