“มาร-ดา”: “กระบวนการ/วิธีวิทยา” ที่ปริแตก

รอยปริแตกของ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” https://www.youtube.com/watch?v=WN6-gCQHKxo หากพิจารณาผลงานของ “ชาติชาย เกษนัส” ตั้งแต่ “ถึงคน.. ไม่คิดถึง” สารคดีโทรทัศน์ชุด “โยเดีย ที่คิด (ไม่) ถึง” ไล่มาถึง “มาร-ดา” “จุดร่วมหนึ่ง” ที่ตั้งมั่นดำรงอยู่ในภาพยนตร์ทุกเรื่องของเขา ก็คือ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” อันหมายถึง การออกเดินทางไปพบปะผู้คน ณ ต่างสถานที่ ต่างบริบท ต่างช่วงเวลา หรือต่างมิติ เพื่อปะติดปะต่อข้อมูลที่ฉีกขาดกระจัดกระจาย แล้วเรียบเรียงลำดับความทรงจำเสียใหม่ให้เป็นระบบระเบียบยิ่งขึ้น ก่อนจะค้นพบคำตอบบางอย่างในเบื้องท้าย…

“ถึงคน..ไม่คิดถึง” มองความสัมพันธ์ “ไทย-พม่า” ในมุมใหม่ๆ

(ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 25 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม 2559) "ถึงคน..ไม่คิดถึง" (From Bangkok to Mandalay) เป็นผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ "ชาติชาย เกษนัส" หนังเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครชาวเมียนมาและไทย โดยได้เสียงตอบรับที่ดีในประเทศเมียนมา แต่สำหรับในไทย กลับได้โรงฉายไม่มากแห่งและไม่มากรอบนัก ก่อนหน้านี้ "ถึงคน..ไม่คิดถึง" คล้ายจะต้องลาโรงไปอย่างเงียบๆ ทว่า กระแสปากต่อปากก็ส่งผลให้หนังสามารถยืนระยะต่อไปได้ จากการเป็น "ชายขอบ" ของโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ หนังเรื่องนี้จะได้รอบฉายที่โรงภาพยนตร์เฮาส์ ราม่า อาร์ซีเอ ตั้งแต่วันที่ 24…

ความรู้สึกต่อ From Bangkok to Mandalay

ความรู้สึกต่อ From Bangkok to Mandalay (ชาติชาย เกษนัส) เบื้องต้น : ชอบ ผมโอเคกับสิ่งที่หนังเสนอ และสิ่งที่หนัง (ต้องการและพยายามจะ) เป็น โดยไม่ได้รู้สึกตะขิดตะขวงใจอะไรมากนัก ระหว่างดู ก็ทั้งรู้สึกสนุกและซาบซึ้งไปตามเนื้อเรื่อง นอกจากนี้ ผมยังรู้สึกชอบทั้งพาร์ทอดีตและพาร์ทปัจจุบันพอๆ กัน ไม่ได้รู้สึกว่าพาร์ทอดีตดีหรือแข็งแรงกว่าพาร์ทปัจจุบัน (แต่โอเค ชอบน้องนางเอกพม่าของพาร์ทแรกมากกว่าน้องนางเอกไทยของพาร์ทหลัง 555) From Bangkok to Mandalay กับหนังไทยเรื่องอื่นๆ ถ้าให้เปรียบเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ…