“สันติ-วีณา” : ประสบการณ์ “พิเศษ” ของคนดูหนัง

(ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 29 กรกฎาคม - 4 สิงหาคม 2559) https://www.youtube.com/watch?v=VsDCxfSDgds (ชมภาพยนตร์เรื่อง "สันติ-วีณา" ได้ที่นี่) สองเดือนที่แล้ว มีข่าวคราวสำคัญสำหรับวงการหนังไทย เมื่อ "สันติ-วีณา" ผลงานการกำกับของ "ครูมารุต" หรือ "ทวี ณ บางช้าง" ภาพยนตร์ไทยขนาดยาวเรื่องแรกที่ไปได้รางวัลจากงานประกวดระดับนานาชาติ และหนังไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำในระบบ 35 ม.ม. ได้รับคัดเลือกเข้าไปฉายในสาย "คานส์ คลาสสิคส์" ถือเป็นตัวแทนหนึ่งเดียวของไทย ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ปีล่าสุด…

ระลึกถึง “ท่านครู” และ “ทิพย์” (ฉบับสมบูรณ์)

ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ 20-26 พฤษภาคม 2559 (ปรับปรุงจากบทความที่เผยแพร่ในบล็อกก่อนหน้านี้) "คุณอดุลย์ ดุลยรัตน์" และ "คุณประจวบ ฤกษ์ยามดี" สองนักแสดงอาวุโส เพิ่งล่วงลับลงในเวลาใกล้เคียงกัน ข้อเขียนชิ้นนี้พยายามจะรำลึกถึงทั้งสองท่าน ผ่านมุมมอง การตีความ และประสบการณ์อันจำกัดจำเขี่ยของคนดูหนังรายหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ติดตามผลงานของทั้งคู่มามากมายและละเอียดลออนัก ท่านครู ผมคงเป็นเช่นเดียวกับแฟนหนังรุ่นหลังอีกหลายคน ที่จดจำคุณอดุลย์ได้จากบทบาท "ท่านครู" ในภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง" (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, 2547) ตามความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า ตัวละคร "ท่านครู"…

รำลึกถึง “ท่านครู” และ “ทิพย์”

ขออนุญาตรำลึกถึง "คุณอดุลย์ ดุลยรัตน์" และ "คุณประจวบ ฤกษ์ยามดี" สองดาราอาวุโสที่เพิ่งล่วงลับ ผ่านมุมมองของคนดูหนังคนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ติดตามผลงานของทั้งสองท่านมามากนัก ผมคงเช่นเดียวกับแฟนหนังรุ่นหลังหลายๆ คน ที่จดจำคุณอดุลย์ได้จากบทบาท "ท่านครู" ใน "โหมโรง" ตามความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า ตัวละคร "ท่านครู" ในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว มี "นัยยะความหมายทางสังคม-วัฒนธรรม" อันสำคัญยิ่ง จนสำคัญยิ่งกว่าเรื่องราวในจอภาพยนตร์ ทว่า เป็นความสำคัญที่หลุดลอยออกมาสู่บริบทการต่อสู้ในทางสังคม-การเมือง นับแต่ก่อนเดือนกันยายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ท่านครูในโหมโรง…