“ฮักบี้ บ้านบาก”: สายสัมพันธ์ระหว่าง “บ้านบาก” กับ “พระนคร-สยาม” และ “เอ็มเคสุกี้”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=mgoDF97ixg4 คนส่วนใหญ่อาจนิยามให้ “ฮักบี้ บ้านบาก” เป็น “หนังบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” อย่างไรก็ตาม จากรสนิยมและฉันทาคติส่วนตัว ผมเลือกจะมองว่า “ปื๊ด ธนิตย์ จิตนุกูล” ซึ่งมีเครดิตเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ย่อมมีบทบาทสำคัญต่อตัวหนังอยู่ไม่น้อยเช่นกัน “สวัสดีบ้านนอก” (2542) ผลงานของ “ปื๊ด ธนิตย์” ถือเป็นหนังไทยในดวงใจของผม ณ ช่วงแรกเริ่มดูหนังตอนต้นทศวรรษ 2540 น่าสนใจว่า “สวัสดีบ้านนอก” และ “ฮักบี้ บ้านบาก”…

บันทึกถึง “กรงกรรม” (2): ก่อนอวสาน

หนึ่ง ในบันทึกชิ้นก่อนหน้านี้ เคยตั้งข้อสังเกตถึงลักษณะเด่นเชิง “พื้นที่” ซึ่งปรากฏในละครเรื่อง “กรงกรรม” นั่นคือ เครือข่ายของจักรวาลน้อยๆ ที่มีศูนย์กลางอยู่ ณ “บ้านแบ้” ในตลาดชุมแสง ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้คนในอีกหลายๆ ตำบลของอำเภอชุมแสง ตลอดจนอำเภออื่นๆ ร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ถ้าเปรียบคนเขียนนิยาย คนเขียนบทละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ หรือกระทั่งคนดู เป็นเหมือน “นักมานุษยวิทยา” ที่เดินทางไปทำงานภาคสนามเพื่อศึกษาชีวิตของ “คนบ้านแบ้” “สนาม” ที่พวกเขาศึกษา ก็มิใช่หมู่บ้านชนบทอันห่างไกล เดี่ยวๆ โดดๆ หากเป็นโครงข่ายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในหลายๆ พื้นที่…

แสงกระสือ: “หมู่บ้าน” และ “ตำนานปรัมปรา” ในหนังไทยยุคใหม่

หนึ่ง ในบางแง่ “แสงกระสือ” ไม่ได้ถูกนำเสนอผ่านภาพลักษณ์ “ใหม่หมดจด” แม้จะมีบางองค์ประกอบของงานโปรดักชั่นที่แลดู “ใหม่” ตรงกันข้าม ท้องเรื่องของหนังนั้นย้อนไปถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ก่อนที่รูปลักษณ์ของ “ผีกระสือ” ซึ่งพวกเราคุ้นเคยจะก่อกำเนิดเสียอีก) ขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ก็แสดงความเคารพต่อหนัง/ละคร “ผีกระสือ” รุ่นเก่าๆ อย่างไม่ปิดบัง ตั้งแต่การอ้างอิงถึงลักษณะเฉพาะบางอย่างของผีประเภทนี้ ไปจนถึงการปรากฏตัวของนักแสดงอาวุโส “น้ำเงิน บุญหนัก” ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเคียงคู่กับเรื่องราวของ “กระสือ” ในประวัติศาสตร์โทรทัศน์ไทย สอง ถ้าถามว่ามีอะไร “ใหม่” บ้างหรือไม่ในเนื้อหาของ “แสงกระสือ”?…

บันทึกถึง “ไทบ้าน เดอะซีรีส์ 2.2”

(เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์) หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=vtscThMjc8s ขอเริ่มต้นจากสิ่งที่ไม่ค่อยชอบก่อน ประการแรก รู้สึกว่าโครงสร้างเรื่องราวในภาคนี้มันคมชัดเป็นระบบน้อยลง เมื่อกรอบโครงความคิดที่เคยแข็งแกร่งของหนังคล้ายจะอ่อนแอลงหรือไม่ถูกเน้นย้ำ การถ่ายทอดภาพรวมหรือภาพแทนของหมู่บ้าน/ชุมชน/สังคมอีสานร่วมสมัยในมุมมองเชิงวิพากษ์ ซึ่งโดดเด่นมากๆ ในสองภาคแรก จึงเลือนรางลงไปด้วย ประการต่อมา เห็นด้วยว่านี่คือหนังภาค “2.2” ไม่ใช่ “3” เพราะหนังใช้เวลามากพอสมควรในการเล่าเรื่องราวที่ย้อนกลับหรือทับซ้อนคาบเกี่ยวกับหลายเหตุการณ์ในภาค “2.1” โดยส่วนตัวแอบรู้สึกว่าการออกสตาร์ทประเด็นใหม่ๆ ของ “ไทบ้าน เดอะซีรีส์ 2.2” นั้นเริ่มต้นช้าไปนิด สอง เมื่อ “ไทบ้านฯ 2.2” ไม่เน้นโครงสร้างหรือภาพกว้าง นี่จึงเป็นหนังที่เล่าเรื่องราวผ่านการลงรายละเอียดชีวิตของบรรดาตัวละครหลักๆ…

โน้ตสั้นๆ ถึง “ฉากและชีวิต” อีกเฉดสีของหนังชนบทไทยร่วมสมัย

หนึ่ง จะว่าไปแล้ว "ฉากและชีวิต" มีความคล้ายคลึงกับ "Die Tomorrow" ของ "นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์" อยู่ไม่น้อย ทั้งสองเรื่องนำเสนอ "ห้วงขณะสั้นๆ" ในส่วนเสี้ยวชีวิตของตัวละครหลายคนหลากกลุ่มเหมือนๆ กัน ผิดแต่เพียงว่าขณะที่ "Die Tomorrow" พูดถึงประเด็น "ความตาย" อันเกี่ยวพันกับตัวละครที่ส่วนใหญ่เป็น "คนเมือง" "ฉากและชีวิต" กลับเล่าถึงภาวะล่มสลายแตกกระจายของชุมชนแห่งหนึ่งในพื้นที่ชนบท สอง "ฉากและชีวิต" เป็นหนังไทยที่เล่าเรื่องของสังคมชนบท แต่บุญส่งมิได้นำเสนอภาพของชุมชนหมู่บ้านที่สมาชิกจำนวนมากมีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นลึกซึ้ง (ไม่ว่าจะในด้านบวกหรือลบ) นอกจากนั้น หนังยังมิได้นำเสนอภาพแทนของหมู่บ้านชนบท…

“ฉากและชีวิต” หนังเรื่องล่าสุดของ “บุญส่ง นาคภู่” เข้าฉายปลายมีนาคมนี้

https://www.facebook.com/plapenfilmstudio/videos/1736675736395686/?hc_ref=ARTSHXM3mHKANv2bF4vbb3irbzAo2BaUWRf5yHxKobMyH_uCcHW0eaeS_kjmh5IlT44&pnref=story   "ฉากและชีวิต" ภาพยนตร์อิสระเรื่องที่ 6 ของ "บุญส่ง นาคภู่" เตรียมเข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ลิโด้ ระหว่างวันที่ 22-28 มีนาคมนี้ โดยจะฉายเพียงวันละ 1 รอบ ในเวลา 18.30 น. ตลอดสัปดาห์ดังกล่าว บุญส่งแถลงถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า อยากเชิญชวนทุกคนไปชมนะครับ อย่างน้อยจะได้แลกเปลี่ยนกัน ผมทำหนังเรื่องนี้ด้วยใจจริงๆ เพื่อสื่อสารความจริงบางอย่างในชนบทไทย ให้ทุกคนได้ช่วยคิดช่วยแชร์ ทำด้วยเหตุปัจจัยที่มี โดยไม่รออะไร พยายามทำให้การทำหนังมันง่าย เหมือนนักเขียนเขียนหนังสือ กวีแต่งบทกวี…

Pop Aye: การเดินทางเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

(เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนในภาพยนตร์) หนึ่ง โดยสรุปแล้ว หนังเรื่องนี้เป็นการพยายามทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของคนวัยเกือบๆ หรือกว่า 60 โดยคนรุ่นประมาณ 30 ต้นๆ ซึ่งถ้าหนังออกมาเร็วกว่านี้สักห้าปีเป็นอย่างน้อย ผมในวัยเพิ่งขึ้นต้นด้วยเลข 3 หรืออาจยังไม่ถึงเลข 3 คงจะไม่ค่อยชอบมันเท่าไหร่นัก แต่พอหนังออกฉายในปีนี้ ปีที่ตัวเองอายุสามสิบกลางๆ แล้ว ผมกลับรู้สึก "อิน" กับ "Pop Aye" มากอยู่ เพราะระยะหลังๆ ในชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงาน ผมมักต้องหัดพยายามมองโลกด้วยสายตาแบบเดียว/คล้ายๆ กับคนทำหนังเรื่องนี้ (ซึ่งคงมีอายุไล่เลี่ยกัน) กล่าวคือ…